Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17989
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศศิกานต์ กาละ | - |
dc.contributor.author | กัญญาภัค ปลื้มใจ | - |
dc.date.accessioned | 2023-04-19T07:22:17Z | - |
dc.date.available | 2023-04-19T07:22:17Z | - |
dc.date.issued | 2022 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17989 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | This study was a randomized-controlled trial aiming to determine the effects of a lactation-promotion program combined with listening to music on milk ejection and lactation time among mothers with cesarean section. The sample group comprised 50 mothers after cesarean section, purposively selected according to inclusion criteria. Through blocked randomization by computer, the control group (n=26) received standard care, while the experimental group (n=24) received the lactation-promotion program combined with listening to music. The instruments used in this study consisted of (1) the intervention instruments including a breastfeeding-promotion manual for mothers after cesarean section and music files on a mobile phone with wireless headphones, (2) the experimental-control instruments including a self-recording form of listening to music, and (3) the data collection instruments comprising 3 forms: (3.1) the personal data and obstetric record form, (3.2) the milk ejection assessment form, and (3.3) the lactation time record form. The milk ejection assessment form and the lactation time record form were content validated by three experts yielding content validity indices of .80 and 1, respectively. The inter-rater reliability of the milk ejection assessment form was tested in 10 mothers after cesarean section yielding a value of .80. The data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested using one-way repeated measures ANOVA, pairwise comparisons with Bonferroni correction, and independent t-test statistics. The results showed that the mothers after cesarean section who received the lactation-promotion program combined with listening to music had mean scores of milk ejection after intervention at 24, 48, and 72 hours significantly higher than the control group (F = 504.08, p < .001) and the mean score of lactation time was significantly shorter than the control group for 14 hours (p < .001). The results demonstrated that the lactation-promotion program combined with listening to music could promote milk ejection and help shorten lactation time. Thus nurses should apply this program to promote and support successful breastfeeding in mothers after cesarean section | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | โปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรี | en_US |
dc.subject | การไหลของน้ำนม | en_US |
dc.subject | ระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า | en_US |
dc.subject | มารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง | en_US |
dc.subject | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรีต่อการไหลของน้ำนมและระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าของมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง | en_US |
dc.title.alternative | The Effects of Lactation-Promotion Program Combined with Listening to Music on Milk Ejection and Lactation Time Among Mothers with Cesarean Section | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy) | - |
dc.contributor.department | คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ | - |
dc.description.abstract-th | การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรีต่อการไหลของน้ำนมและระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าของมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จำนวน 50 ราย คัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มโดยใช้โปรแกรมสุ่มในคอมพิวเตอร์ (Minimized randomization) เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 26 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรี 24 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) เครื่องมือที่ใช้ทดลองได้แก่ คู่มือส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โทรศัพท์มือถือที่บรรจุไฟล์ดนตรีบรรเลงพร้อมหูฟังไร้สาย (2) เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกการฟังดนตรีผ่อนคลายด้วยตนเอง และ (3) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึก 3 ชุด ได้แก่ (3.1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ (3.2) แบบประเมินการไหลของน้ำนม และ (3.3) แบบบันทึกระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า โดยแบบประเมินการไหลของน้ำนมและแบบบันทึกระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.8 และ 1 ตามลำดับ แบบบันทึกระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของการสังเกต (Inter-rater reliability) ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 10 ราย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานโดยใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) วิธีบอนเฟอโรนี่เปรียบเทียบรายคู่ (bonferroni) และสถิติทีอิสระ (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรีมีคะแนนเฉลี่ยการไหลของน้ำนมในชั่วโมงที่ 24, 48, และ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 504.08, p < .001) และมารดากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรียังมีระยะเวลาน้ำนม เต็มเต้าที่เร็วกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติถึง 14 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับ ฟังดนตรีช่วยส่งเสริมการไหลของน้ำนมและช่วยให้ระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าเร็วขึ้น พยาบาลจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอด | en_US |
Appears in Collections: | 648 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6110420006.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License