Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17983
Title: Factors Affecting Mathematics Achievement for Grade 9 Students: Mediation Analysis
Other Titles: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: การวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่าน
Authors: Jirawat Tansakul
Mahdee Waedramae
Bunrome Suwanphahu
Farida Waekaji
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
Keywords: Mediation Analysis;Mediating Effect;Attitude Towards Learning;Motivation to Learn;Mathematics Achievement;Factors Affecting Mathematics Achievement for Grade 9 Students: Mediation Analysis;ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research was 1) Study the factors affecting Mathematics Achievement for Grade 9 Students in the three southern border provinces. 2) Study the relationship of factors affecting Mathematics Achievement for Grade 9 Students in the three southern border provinces. 3) Study the influence on Mathematics Achievement for Grade 9 Students in the three southern border provinces. The sample size of 420 people. By Multistage Random Sampling. The instrument consisted of 1. Self Efficacy measure 2. Teaching Behaviors questionnaire 3. Attitude Towards Learning measure 4. Motivation to Learn measure and 5. Mathematics Achievement Test Grade 9. By using Structural Equation Model. The results of the research were as follows: 1. The factor level affecting the Mathematics Achievement for Grade 9 Students in the three southern border provinces was Motivation to Learn Teaching Behaviors Self Efficacy and Attitude Towards Learning Overall, it's at a high level, with an mean at 3.70, 3.63, 3.42 and 3.28 respectively. 2. Self Efficacy and Mathematics Achievement has the highest correlation coefficient was 0.776. Motivation to Learn and Mathematics Achievement has the lowest correlation coefficient was 0.381. 3. Research hypothesis model of Factors Affecting Mathematics Achievement for Grade 9 Students in the three southern border provinces. Is consistent with the empirical data. It was determined from the statistics used to measure the harmony of the pattern, which was χ2 = 0.49, df = 1, P-value = 0.486, RMSEA = 0.000, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, SRMR = 0.004 and χ2 / df = 0.49. Assumed that the hypothesis model Is consistent with the empirical data. Consistent with empirical data. By Self Efficacy Teaching Behaviors Attitude Towards Learning and Motivation to Learn can jointly explain the variance Mathematics Achievement percentage 66. Attitude Towards Learning be partial mediation of Self Efficacy and Teaching Behaviors. While, Motivation to Learn no mediation of Self Efficacy and Teaching Behaviors.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 จำนวนทั้งสิ้น 420 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 เครื่องมือ คือ 1. แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง 2. แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครู 3. แบบวัดเจตคติต่อการเรียน 4. แบบวัดแรงจูงใจในการเรียน และ 5. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า แรงจูงใจในการเรียน พฤติกรรมการสอนของครู การรับรู้ความสามารถของตนเอง และเจตคติต่อการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70, 3.63, 3.42 และ 3.28 ตามลำดับ 2. ตัวแปรทั้งหมด มีความสัมพันธ์กันทางบวกโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.381 ถึง 0.776 โดยคู่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.776 ส่วนคู่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ แรงจูงใจในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.381 3. รูปแบบสมมติฐานการวิจัยของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่าสถิติที่ใช้วัดความกลมกลืนของรูปแบบ คือ ค่า χ2 = 0.49, df = 1, P-value = 0.486, RMSEA = 0.000, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, SRMR = 0.004 และ χ2/df = 0.49 ถือว่ารูปแบบสมมติฐาน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสอนของครู เจตคติต่อการเรียนและแรงจูงใจในการเรียน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 66 โดยเจตคติต่อการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนของการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการสอนของครู ในขณะที่แรงจูงใจในการเรียนไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการสอนของครู
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17983
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6220120254.pdfศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา), 25646.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons