กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17982
ชื่อเรื่อง: ผลของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าและปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Foot Reflexology on Onset of Lactation and Milk Volume in Postpartum Mothers with Newborns Hospitalized in a Neonatal Intensive Care Unit
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิกานต์ กาละ
สุรีย์พร กฤษเจริญ
ผกาวัลย์ หนูมาก
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
คำสำคัญ: การนวดกดจุดสะท้อนเท้า;ระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า;ปริมาณน้ำนม;มารดาหลังคลอด;หออภิบาลทารกแรกเกิด;การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: A randomized controlled trial (RCT) using the single-blind technique was conducted to compare the onset of lactation and milk volume in postpartum mothers with newborns hospitalized in a neonatal intensive care unit. The fifty postpartum mothers who were admitted in the obstetric ward, Hat Yai Hospital, Songkhla Province, and met the inclusion criteria during March to May 2021 were recruited. The participants were randomly assigned using the minimized randomization program into two groups. Each group consisted of 25 postpartum mothers with newborns hospitalized in a neonatal intensive care unit. The experimental group (n = 25) received foot reflexology combined with routine nursing care. The control group (n = 25) received only routine nursing care. The research instruments comprised three parts, including (1) the intervention instrument, which was the researcher giving foot reflexology to the mothers, (2) the monitoring manual expression skills, and (3) the data-collecting forms: (3.1) the personal information questionnaire, (3.2) the record form of delivery information, (3.3) the record form of onset of lactation (hours), and (3.4) the record form of milk volume (millimeters). All instruments: the monitoring manual expression skills, the record forms of onset of lactation, and milk volume, were validated by three experts, yielding a content validity index (CVI) equal to 1.00. A pilot studied of 10 samples was conducted to test the reliability of the instruments. The results showed that the experimental group (M = 46.80, SD = 15.40) had the onset of lactation significantly faster than the control group (M = 85.27, SD = 20.12) (t = -7.59, p < .001). In addition, the experimental group (M = 8.10,SD = 6.30) had milk volume in day 1 (24 hours postpartum) significantly more than the control group (M = 3.09, SD = 4.80) (t = 3.17, p < .01) and the experimental group (M = 15.92, SD = 8.82) had milk volume in day 2 (24-48 hours postpartum) significantly more than the control group (M = 4.03, SD = 5.27) (t = 5.79, p < .001). The findings confirmed that foot reflexology could effectively be applied to postpartum mothers to promote the onset of lactation and milk volume. Therefore, the healthcare personnel are recommended to apply foot reflexology as an alternative method to promote breastfeeding, especially in the group of postpartum mothers with newborns hospitalized in neonatal intensive care units.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทาง เดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าและปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอด ที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด คัดเลือกจากมารดาหลังคลอดที่มีคุณสมบัติตาม เกณฑ์กำหนดที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 จำนวน 50 ราย ดำเนินการสุ่มเข้ากลุ่มโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง (n = 25) ได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการ พยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุม (n = 25) ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ส่วน ได้แก่ (1) เครื่องมือที่ใช้ ดำเนินการทดลอง คือ นักวิจัย ผู้ทำหน้าที่นวดกดจุดสะท้อนเท้าให้มารดา (2) เครื่องมือที่ใช้กำกับการ ทดลอง คือ แบบประเมินทักษะการบีบน้ำนมด้วยมือ และ (3) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (3.1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (3.2) แบบบันทึกข้อมูลการคลอด (3.3) แบบบันทึก ระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า (ชั่วโมง) และ (3.4) แบบบันทึกปริมาณน้ำนม (มิลลิลิตร) โดยเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะการบีบน้ำนมด้วยมือ แบบบันทึกระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า และแบบบันทึก ปริมาณน้ำนม ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าวเท่ากับ 1.00 และได้ศึกษานำร่องทดลองใช้ เครื่องมือเพื่อตรวจหาความเที่ยงในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า มารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารก แรกเกิดกลุ่มทดลอง (M = 46.80, SD = 15.40) มีระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่มควบคุม (M = 85.27, SD = 20.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.59, p < .001) และ มารดาหลังคลอดที่ บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดกลุ่มทดลอง (M = 8.10 , SD = 6.30) มีปริมาณ น้ำนมในวันที่ 1 (24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 3.09, SD = 4.80) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.17, p < .01) และกลุ่มทดลอง (M = 15.92, SD = 8.82) มีปริมาณน้ำนม ในวันที่ 2 (24-48 ชั่วโมงหลังคลอด) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 4.03, SD = 5.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.79, p < .001) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การนวดกดจุดสะท้อนเท้าเป็น วิธีการส่งเสริมระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าและปริมาณน้ำนมที่มีประสิทธิภาพสำหรับมารดาหลังคลอด ดังนั้น บุคลากรสุขภาพควรประยุกต์ใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มมารดาหลังคลอดที่บุตรเข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด
รายละเอียด: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17982
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:648 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210420028.pdf2.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons