Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17970
Title: การประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่าเพื่อลดร้อยละผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตไส้กรอกไก่รมควันแฟรงค์เฟอร์เตอร์
Other Titles: The Application of Six Sigma Technique for Reducing Percentage of Non-Conforming Products in Smoked Chicken Frankfurter Processing
Authors: กันยา อัครอารีย์
ภาณุเดช สุวรรณอัมพร
Faculty of Agro-Industry (Agro Industrial Management Technology)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการเกษตร
Keywords: การผลิตไส้กรอก;การจัดการอุตสาหกรรม
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The processing of smoked chicken frankfurter of the case study factory set the percentage of acceptable non-conforming products not more than 3.00. In present, this criterion was 3.44 which was higher than the target resulting in high production cost. This research aimed to reduce the non-conforming products more than 50 percentage. The study conducted by applying six sigma technique including 5 phases that were define, measure, analyse, improvement and control. From the survey of current situation, it was found that over length sausages was the highest type of non-conforming products. The analysis on processing steps of smoked chicken frankfurter shown that only 5 steps from 17 main steps that affected to root cause of non-conforming products. Then main input factors of each step were identified by using the process mapping. The results shown that there were 41 of key process input variable (KPIV) on 5 steps. After that Failure Mode and Effects Analysis with calculating risk priority number (RPN) was used for selecting the important factors. By ranking scores with pareto diagram, only 18 KPIVs were compliance with causes of non-conforming products. After discussed with management team of case study factory in term of operation, technical feasibility, production planning, the impact to the production. Three KPIVs were selected which were 1) quality of casing 2) showering sausages before peeling and 3) setting of propellers of arranging sausages machine. Then hypothesis testing was processed with statistical program. It was found that 3 KPIVs significantly affected to non-conforming products at significant level 0.05. The improvement methods were changing the new casing from type A to type B in stuffing step, setting 40 second with 6 sausages sticks to shower sausages before peeling, and setting propeller at level 3 for arranging sausages machine in packing sausages step. In control phase, the control program was made and established to control all factors which were improved. After implementation, the percentage of non-conforming products reduced from 3.44% to 1.70% which was about 50.6%. The cost of the factory case study decreased 3,365,421.7 Baht per year.
Abstract(Thai): กระบวนการผลิตไส้กรอกไก่รมควันแฟรงค์เฟอร์เตอร์ของสถานประกอบการกรณีศึกษา ได้กำหนดเกณฑ์ไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องที่สามารถยอมรับได้ไม่เกินร้อยละ 3.00 ปัจจุบันประสบปัญหาไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องสูงเกินเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 3.44 ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในกระบวนการผลิต เพื่อลดจำนวนไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตไส้กรอกไก่รมควันแฟรงค์เฟอร์เตอร์ลงมากกว่าร้อยละ 50 จึงดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางซิกซ์ ซิกม่าที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ การกำหนดหัวข้อปัญหา การวัดสภาพปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การปรับปรุงกระบวนการและการควบคุมกระบวนการ ผลการสำรวจสภาพปัญหาในปัจจุบันพบว่าไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องชนิดความยาวเกินมาตรฐานมีปริมาณสูงสุดในกระบวนการผลิต เมื่อวิเคราะห์จาก 17 ขั้นตอนในกระบวนการผลิตไส้กรอกพบว่ามีเพียง 5 ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับ ไส้กรอกที่มีข้อบกพร่อง โดยจัดทำแผนภาพการไหลของกระบวนการ เพื่อระบุปัจจัยนำเข้าที่สำคัญของแต่ละขั้นตอน จากนั้นวิเคราะห์ตัวแปรหลักที่สำคัญของแต่ละปัจจัยนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย 41 ปัจจัย เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าของแต่ละขั้นตอนกับสาเหตุการเกิดไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องด้วยเทคนิควิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยด้วยแผนภาพพาเรโต พบว่ามีเพียง 18 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดไส้กรอกที่มีข้อบกพร่อง โดยหลังจากร่วมกันระดมสมองถึงความพร้อมในการดำเนินงาน ความเป็นไปได้ทางเทคนิค แผนการผลิตและผลกระทบต่อกระบวนการด้านต่างๆ ได้คัดเลือกปัจจัยนำเข้าที่สำคัญ โดยใช้การจัดลำดับคะแนนความเสี่ยงเพื่อลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ต้องปรับปรุงเป็นอันดับแรก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) คุณภาพของไส้บรรจุไส้กรอก 2) การพ่นไอน้ำไส้กรอกก่อนการปอกไส้ และ 3) การติดตั้งระดับใบพัดเครื่องจัดเรียงไส้กรอก จากนั้นทดสอบความมีนัยสำคัญและวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมทางสถิติ พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อจำนวนไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความน่าเชื่อถือ 0.05 และดำเนินการปรับปรุงทั้ง 3 ปัจจัยในกระบวนการผลิต โดยปรับเปลี่ยนชนิดของไส้บรรจุจากไส้บรรจุ (Type A) เป็นไส้บรรจุชนิด (Type B) ของขั้นตอนการบรรจุเนื้อบดผสม ปรับปรุงขั้นตอนการพ่นไอน้ำไส้กรอกก่อนการปอกไส้โดยคัดเลือกปัจจัยการพ่นไอน้ำไส้กรอกเวลา 40 วินาทีครั้งละ 6 ไม้ไส้กรอก ซึ่งเป็นระดับของปัจจัยที่เหมาะสมในขั้นตอนการปอกไส้และติดตั้งระดับใบพัดเครื่องจัดเรียงไส้กรอกที่ระดับ 3 ในขั้นตอนการบรรจุไส้กรอก จากนั้นกำหนดแนวทางในการควบคุมปัจจัยที่ได้ปรับปรุงในกระบวนการผลิตไส้กรอกไก่รมควันแฟรงค์เฟอร์เตอร์ ผลการดำเนินงานปรับปรุงและควบคุมกระบวนการผลิตไส้กรอกไก่รมควันแฟรงค์เฟอร์เตอร์พบว่า ร้อยละไส้กรอกที่มีข้อบกพร่องลดลงจากเดิมร้อยละ 3.44 เป็น 1.70 โดยลดลงคิดเป็นร้อยละ 50.6 คิดเป็นมูลค่า 3,365,421.7 บาทต่อปี
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมเกษตร), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17970
Appears in Collections:857 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5911020026.pdfApplication of Six Sigma Technique in Smoked Chicken Frankfurter Processing2.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons