Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17962
Title: | Gender, Age and Religious Diversity Management Practices Relating Hotel Employee Engagement in Phuket |
Other Titles: | แนวปฏิบัติในการจัดการความหลากหลายทางเพศ อายุ และศาสนาที่เกี่ยวข้อง กับการมีส่วนร่วมของพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต |
Authors: | Nareeya Weerakit Zhao, Tianyu Faculty of Hospitality and Tourism (Hospitality and Tourism Management) คณะการบริการและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว |
Keywords: | gender;age;religion;diversity management;diverse workforce;employee;engagement;hotel |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | Diversity management has become an important strategy in the hospitality organization to take care of their diverse workforce and make sure that their employees can maximize their skills and potential, regardless of which group they belong. At the same time, the implementation of diversity management can also help the organization to reduce employee turnover, absenteeism and avoid unnecessary internal conflicts among employees. |
Abstract(Thai): | อุตสาหกรรมการบริการ บทคัดย่อ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม ต้องอาศัยพนักงานที่มีความ หลากหลายจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน เพื่อให้บริการลูกค้าที่มีความหลากหลาย ดังนั้นการจัดการความ หลากหลายจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการดูแลพนักงานที่มีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถทำงานโดย ใช้ทักษะและศักยภาพของตนได้อย่างเต็ มที่ ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มไหน ในขณะเดียวกัน แนวปฏิบัติการ จัดการความหลากหลายที่มีประสิทธิภาพยังช่วยลดการลาออกและการขาดงานของพนักงาน รวมทั้ง ช่วยลดความขัดแย้งภายในที่ไม่จำเป็นระหว่างพนักงานด้วย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ การจัดการความหลากหลาย ( DMPs) (1) วิเคราะห์ความสำคัญและการนำ แนวปฏิบัติใน ด้านเพศ อายุ และศาสนา ไปใช้ในธุรกิจโรงแรม (2) วัดผล กระทบของเพศ อายุ ศาสนา ต่อการรับรู้ของพนักงานโรงแรมที่มีต่อระดับความสำคัญและการใช้แนว ปฏิบัติการจัดการความหลากหลาย และ ( 3) วิเคราะห์ค่าสหสัมพ้นธ์ระหว่างแนวปฏิบัติด้า นการ จัดการความหลากหลายและความผูกพันของพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 384 คนในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน พ.ศ. 2564 มีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ผ ลต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบ สำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ttest และ ANOVA และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า พนักงานโรงแรมเห็นว่าแนวปฏิบัติด้านการจัดการความ หลากหลายด้านเพศ อายุ และศาสนา มีความสำคัญมาก และโรงแรมในจังหวั ดภูเก็ตมีการใช้แนว ปฏิบัติดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผล เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติด้านความ หลากหลายระหว่างพนักงานที่มีความแตกต่างด้านเพศ อายุ และศาสนา พบว่า พนักงานเพศชายให้ ความสำคัญกับแนวทางการจัดการความหลากหลายทางด้านเพศและอายุมากกว่าพนักงานเ พศหญิง พนักงานที่มีอายุน้อยและพนักงานที่นับถือศาสนาพุทธให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติด้านการจัดการ ความหลากหลายทางด้านเพศมากกว่าพนักงานที่มีอายุมากกว่าและพนักงานที่นับถือศาสนาอื่น สำหรับการใช้แนวปฏิบัติด้านการจัดการความหลากหลายของโรงแรม พบว่า พนักงานโรงแรมที่มี ค วามแตกต่างในด้านเพศ อายุ ศาสนา เห็นว่าโรงแรมของตนพยายามให้โอกาสในการสรรหา คัดเลือก ฝึกอบรมและพัฒนา การเลื่อนตำแหน่ง และการจ่ายค่าตอบแทน สำหรับพนักงานในแต่ละกลุ่มอย่าง เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังพบว่า พนักงานเพศชายค่อนข้างเห็นว่าแนวทางที่โรงแรม ใช้ ในการช่วยให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตครอบครัวระหว่างพนักงานเพศหญิงและเพศ ชาย อาจไม่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความหลากหลายด้านเพศ อายุ ศาสนา และความผูกพันของพนักงาน พบว่า มีเพียงการ จัดการความ หลากหลายด้านเพศเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันของพนักงาน |
Description: | Master of Business Administration (Hospitality and Tourism Management (International Program)), 2021 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17962 |
Appears in Collections: | 816 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6130121002.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License