กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17955
ชื่อเรื่อง: | ภาวะสมัยใหม่ในวรรณกรรมของมาลัย ชูพินิจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Modernity in Malai Chupinij's Literary Works |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมลมาศ ปฤชากุล ณัชรดา สมสิทธิ์ Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภาวะสมัยใหม่;วรรณกรรมไทยสมัยใหม่ |
วันที่เผยแพร่: | 2021 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This thesis aims to study modernity in Malai Chupinij's Literary works, which was written between 1927–1963. The results of the research on modernity in Thai society, according to the author's point of view, found that there are 4 issues as follows: 1. Concept of scientific inquiry as the key to knowledge, answer questions by showing empirical evidence and using rational reason while still retaining some of the Thai knowledge and values. 2. Concept of liberty which focus on humanity as an individual while still values some morality that controls society. 3. Concept of nation and government which shows the acceptance of the designation of nations, govern by the selection of representatives and expect the members of the nation to act for the nation as joint owners while still emphasize goodness of the rulers and ignore their social status 4. The concept of urban development and the problems from transition to capitalism in urban society. Furthermore, there is the concepts which represent the rural development by using modernization concepts of the state and the outsider but still remain the traditional values of rural people who believe that the development can go along with the capitalism as well. Therefore, the modernity that appears in Malai Chupinij's literary works is not the modern conditions that originated from entire westernization. Responding to the new concepts in Thai society is independent learning. It does not be completely set or developed by the Westerners as happened in the colonial territories. In this way, some traditional concepts in Thai society still have the influence on the people, not suddenly demolished. Malai Chupinij presents a response to modernity from the West but not accept all of Western modernity. The modernity of Malai Chupinij is therefore different from the modernity of western society. It has specific characteristics according to the context of Thai society. The author uses this modern state to be an implement to express his views, expectations, and ideals in order to lead to the good society or the ideal society as his concept |
Abstract(Thai): | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะสมัยใหม่ในสังคมไทยที่นำเสนอในวรรณกรรมของมาลัย ชูพินิจ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 – พ.ศ.2506 ผลการวิจัยภาวะสมัยใหม่ในสังคมไทยตามทัศนะของผู้ประพันธ์พบว่า มี 4 ประเด็นดังนี้ 1. มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการหาความรู้ และตอบข้อสงสัยด้วยการแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ และการใช้หลักเหตุและผล โดยยังคงรักษาคุณค่าของจารีตเดิมบางประการไว้ 2. มโนทัศน์เกี่ยวกับเสรีภาพซึ่งมุ่งให้ ความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะปัจเจกชนมากกว่าค่านิยมหรือจารีตประเพณีที่สังคมกำหนดขึ้น แต่ก็ ยังคงคุณค่าทางศีลธรรมบางประการที่ควบคุมสังคมให้ดำเนินไปในทิศทางที่คาดหวังอยู่ด้วย 3. มโนทัศน์เกี่ยวกับชาติและการปกครองซึ่งแสดงให้เห็นการตอบรับการกำหนดชาติและการปกครองโดยการคัดเลือกตัวแทน เน้นย้ำความเป็นคนดีของผู้ปกครองโดยไม่สนใจสถานภาพทางสังคม และหน้าที่ของสมาชิกที่มีต่อชาติในฐานะเจ้าของประเทศร่วมกัน 4. มโนทัศน์เกี่ยวกับเมืองที่แสดงถึงความเจริญและปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบทุนนิยมในสังคมเมือง และมโนทัศน์เกี่ยวกับชนบทที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาชนบทโดยตามมโนทัศน์สมัยใหม่จากภาครัฐและบุคคลภายนอกชุมชน แต่ก็ยังคงยึดโยงค่านิยมจารีตดั้งเดิมของชาวชนบทที่เห็นว่าสามารถพัฒนาไปพร้อมกับระบบทุนนิยมไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ภาวะสมัยใหม่ที่ปรากฏในวรรณกรรมของมาลัย ชูพินิจจึงไม่ใช่ภาวะสมัยใหม่ที่มีต้นแบบมาจากตะวันตกทั้งหมด เนื่องจากการตอบรับต่อมโนทัศน์ใหม่ในสังคมไทยนั้นเป็นการเรียนรู้อย่างเสรี ไม่ได้เกิดจากการกำหนด หรือพัฒนาโดยชาวตะวันตกดังเช่นที่เกิดขึ้นในดินแดนอาณานิคม มโนทัศน์แบบจารีตในสังคมไทยบางประการจึงยังคงมีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมอยู่ไม่ได้ถูกรื้อถอนทำลายโดยฉับพลัน การตอบรับต่อภาวะสมัยใหม่จากตะวันตกไม่ได้เป็นการยอมรับทั้งหมดของภาวะสมัยใหม่แบบตะวันตก ภาวะสมัยใหม่ของมาลัย ชูพินิจจึงเป็นภาวะสมัยใหม่ที่แตกต่างจากภาวะสมัยใหม่ในสังคมตะวันตก มีลักษณะเฉพาะตามบริบทของสังคมไทย และเป็นภาวะสมัยใหม่ที่ผู้ประพันธ์ปรับใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสดงทัศนะ ความคาดหวัง และอุดมคติ เพื่อน าไปสู่สังคมที่ดีหรือสังคมในอุดมคติตามแนวคิดของตนนั่นเอง |
รายละเอียด: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย), 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17955 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 427 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5820230002.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License