กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17954
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Related to Behaviors for Promoting Fetal Development Among Adolescent Primigravida
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ชัชเวช
พริมา สุวรรณเรืองศรี
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
คำสำคัญ: behaviors for promoting fetal development;adolescent primigravida;realizing the benefits;support from family members;support from health team personnel;knowledge;ทารกในครรภ์ พัฒนาการ;ทารกในครรภ์ การเจริญเติบโต
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This correlational descriptive research aim to study the level of overall and individual aspects of behaviors for promoting fetal development among adolescent primigravida, and to study the factors related to behaviors for promoting fetal development among adolescent primigravida. The sample group was adolescent primigravida aged between 10-19 years who receive antenatal care services in hospital under the Minister of Public Health in Songkhla province, a total of 167 people were 5 hospitals. The research tool consists of a -part questionnaire: (1) personal data (2) behaviors for promoting fetal development (3) realizing the benefits (4) support from family members (5) support from health team personnel (6) knowledge (7) stress and (8) risk of depression. The questionnaire parts 2 - 6 were examined for the correctness of the content by 3 experts. The CVI values were 1, 0.8, 1, 1, 1 respectively, and the reliability of the questionnaire parts 2 - 6 were .82, .89, .83, .93, 1, .87 and 1 respectively. Data were analyzed by distribution of frequency, percentage, mean, and standard deviation. Analyze the relationship factors using Pearson's product moment correlation coefficient statistics. The results showed that the overall of behaviors for promoting fetal development among adolescent primigravida were at a moderate level (M=27.36, SD=5.46). The score of behaviors for promoting fetal development of audible part was at a moderate level (M=13.83, SD=3.29) and the score of sensory part was at a moderate level (M=13.53, SD=2.82).Realizing the benefits (r=.446, p < .01), support from family members (r=.423, p < .01), support from health team personnel (r=.229, p < . 01) , knowledge ( r= . 206, p < . 05) , stress and risk of depression were not related to behaviors for promoting fetal development among adolescent primigravida. The results of this study can be used as a data base for the development of a nursing model to promote fetal development among adolescent primigravida.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ทั้งโดยรวมและรายด้านของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ของมารดาวัยรุ่น ครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกที่มีช่วงอายุระหว่าง 10–19 ปี ที่มารับบริการฝาก ครรภ์ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รวม 5 โรงพยาบาล จานวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 8 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) พฤติกรรม การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ (3) การรับรู้ประโยชน์ฯ (4) การสนับสนุนจากบุคคลใน ครอบครัวฯ (5) การสนับสนุนจากบุคลากรทีมสุขภาพฯ (6) ความรู้ฯ (7) ภาวะเครียด และ (8) ความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า ซึ่งแบบสอบถามส่วนที่ 2 - 6 ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 3 ท่าน ค่า CVI เท่ากับ 1, 0.8, 1, 1, 1 ตามลาดับ และค่าความเที่ยง ของแบบสอบถามส่วนที่ 2-8 เท่ากับ .82, .89, .83, .93, 1, .87 และ 1 ตามลาดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่ศึกษาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า คะแนนพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ของ มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=27.36, SD=5.46) คะแนนพฤติกรรม ส่งเสริมการพัฒนาของสมองทารกในครรภ์ด้านการได้ยิน อยู่ในระดับปานกลาง (M=13.83, SD=3.29) และคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมการพัฒนาของสมองทารกในครรภ์ด้านการรับรู้ความรู้สึก อยู่ในระดับปานกลาง (M=13.53, SD=2.82) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริม พัฒนาการทารกในครรภ์ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ฯ (r=.446, p < .01) การสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวฯ (r=.423, p < .01) การสนับสนุนจากบุคลากรทีมสุขภาพฯ (r=.229, p < .01) และความรู้ฯ (r=.206, p < .05) ส่วนภาวะเครียด และความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก ผล การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17954
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:648 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210420068.pdf3.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons