Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17951
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมนา ลาภาโรจน์กิจ-
dc.contributor.authorกานต์ชนา แซ่ลิ่ม-
dc.date.accessioned2023-04-12T02:23:46Z-
dc.date.available2023-04-12T02:23:46Z-
dc.date.issued2023-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17951-
dc.descriptionบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2566en_US
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study (1) environmental consciousness and (2) attitude toward garment purchases, i.e. materialism, social comparison, fashion innovativeness and fashion involvement of Generation Y consumers by using a questionnaire as a data collection tool from 385 Generation Y consumers who bought garment within the past 6 months. The data were analysis by using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics was multiple regression analysis. The results showed that most of the respondents were female, aged between 28-32 with bachelor's degree education. They worked in private companies with and an average monthly income about 20,001-30,000 baht. The study found that Generation Y consumers have the highest level of environmental consciousness. The factor of attitude towards purchase in terms of materialism and fashion innovativeness is at a high level, social comparison and fashion involvement is moderate. The results of multiple regression analysis revealed that the factors influencing garment purchase intention were attitude toward purchase, the first is fashion involvement (ß = 0.364), the second is materialism (ß = 0.233) and the third is social comparison (ß = 0.145) with statistically significant level of 0.01. However, environmental consciousness and fashion innovativeness did not affect the purchase intention. All independent variables can predict the garment purchasing intention of Generation Y consumers for 53.9 % (R2 = 0.539) According to research, Generation Y consumers are interested and accepting about fashion which becomes an important. The materialism is high level. They are emotionally happy when they own garment that they want. Including paying attention to the fashion of celebrity. When they decide to buy garment, emotion is motivation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectทัศนคติต่อการซื้อen_US
dc.subjectความตั้งใจซื้อen_US
dc.subjectเสื้อผ้าสำเร็จรูปen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Garment Purchase Intention of Generation Y Consumersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Management Sciences (Business Administration)-
dc.contributor.departmentคณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ-
dc.description.abstract-thการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม และ (2) ทัศนคติต่อการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในด้านวัตถุนิยม การเปรียบเทียบทางสังคม นวัตกรรมของแฟชั่น และความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายที่เคยซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 385 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 28-32 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท จากการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายมีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยทัศนคติต่อการซื้อในด้านวัตถุนิยม และความมีนวัตกรรมของแฟชั่นอยู่ในระดับมาก สำหรับการเปรียบเทียบทางสังคม และความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติต่อการซื้อด้านความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่น (ß = 0.364) รองลงมา คือ ด้านวัตถุนิยม (ß = 0.233) และด้านการเปรียบเทียบทางสังคม (ß = 0.145) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมของแฟชั่น พบว่า ไม่มีอิทธิพล โดยตัวแปรอิสระทุกตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย ได้ร้อยละ 53.9 (R2 = 0.539) จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายให้ความสนใจ ยอมรับ และตอบสนองในเรื่องแฟชั่น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต และมีความเป็นวัตถุนิยมสูง โดยจะซื้อจากความพึงพอใจและความปรารถนา และมีความสุขเมื่อได้เป็นเจ้าของเสื้อผ้าที่ต้องการ รวมทั้งให้ความสนใจติดตามแฟชั่นของบุคคลที่มีชื่อเสียง และตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยใช้อารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อนen_US
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons