Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17943
Title: | แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร ย่านเมืองเก่าสงขลา |
Other Titles: | Guidelines for the Development of Food Tourism in Songkhla’s Old Town |
Authors: | ชาคร ประพรหม พิมพ์ชนก ไชยชนะ Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
Keywords: | การพัฒนา;การท่องเที่ยวเชิงอาหาร;นักท่องเที่ยว;ผู้ประกอบการ |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Guidelines for the Development of Food Tourism in Songkhla’s Old Town research aims to observe the current situation from its tourists’ demands, business owners, government and private agencies related to tourism. It also studies and compares tourists’ behavior by gender, age, and income. All of which leads to possible solutions on developing food tourism within said area. This research will be a combination of quantitative research using surveys from tourists, and qualitative research using interviews from business owners, government and private agencies. All acquired information is presented in tables, which can also be analyzed then summarized as such: (1) Tourists usually come to relax and enjoy wide variety of exquisite food along with breathtaking atmosphere and pleasing views. On the other note, business owners and agencies find that restaurants, buildings, and street arts are key parts to attracting tourists, plus ease of transportation. (2) The behavior comparison by age, job, and income suggests a difference with a significance level of 0.05, while the comparison by gender shows no difference. (3) Possible resolutions for this development include: adding more food-related street arts, improving visibility within restaurants to create additional better photo spots, adding more toilets, parking spots, road signs, tour buses and guide, first aid stations, facilities for elders and disabled tourists, organizing local food festivals plus cooking and eating contests, making strategic marketing plans with cooperation between related agencies and local citizens, maintaining food hygiene and safety standards. Lastly, encouraging the local community and business owners to take part in developing food tourism. |
Abstract(Thai): | การศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร ย่านเมืองเก่าสงขลา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ย่านเมืองเก่าสงขลาผ่านความต้องการของ นักท่องเที่ยว และมุมมองของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ศึกษาพฤติกรรมและเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ และเสนอแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารในย่านเมืองเก่าสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วยศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา ท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่าสงขลา และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลา โดยนำเสนอข้อมูลเป็นตาราง และพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1) สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ย่านเมืองเก่าสงขลาผ่านความต้องการของนักท่องเที่ยว และมุมมองของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่อผ่อนคลายความเครียด โดยการรับประทานอาหารและชมบรรยากาศในย่านเมืองเก่าสงขลา เพราะมีอาหารที่หลากหลายและมีพื้นที่ที่สวยงาม ส่วนมุมมองของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พบว่า ย่านเมืองเก่ามีร้านอาหาร อาคารบ้านเรือน รวมถึงสตรีทอาร์ตที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และสะดวกในการเดินทาง (2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวจำแนกตามอายุ อาชีพ และรายได้ พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารย่านเมืองเก่าสงขลา พบว่า ควรมีการเพิ่มสตรีทอาร์ตที่เกี่ยวกับอาหาร และปรับทัศนวิสัยในร้านอาหารให้มีมุมหรือวิวถ่ายภาพมากขึ้น เพิ่มห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายบอกทาง รถรางนำเที่ยว มัคคุเทศก์ให้กับนักท่องเที่ยวขาจร จุดปฐมพยาบาล และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุหรือผู้พิการ และเสนอแนะให้มีกิจกรรมมหกรรมอาหารท้องถิ่น แข่งขันรับประทานอาหาร ประกวดการทำอาหาร รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในท้องถิ่นร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการตลาด ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการและมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร |
Description: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม),2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17943 |
Appears in Collections: | 427 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6120220621.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License