กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17935
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลของสารสกัดจากใบกระท่อมต่อการถอนมอร์ฟีนในระยะยาวในหนูทดลอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Extract from Kratom Leaves (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil) in Long-lasting Morphine Withdrawal in Mice
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุราพร วงศ์วัชรานนท์
ภานุมาศ พืชผล
Faculty of Science (Anatomy)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
คำสำคัญ: หนู กายวิภาค;การติดมอร์ฟีน การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Chronic discontinuation of opioids usage leads to emotional changes. Especially of negative emotional states, which is a psychiatric symptom detected during drug withdrawal. In molecular studies showed that drug abuse cause disturbance of function of molecules involved in memory pathway in the brain. The purpose of this study was to evaluation of extract from kratom leaves (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil) in long lasting morphine withdrawal in mice. Mice were divided into control group (n=8), morphine-withdrawal groups (n=8) and kratom group (n=8). Mice received an escalating dose of morphine (10, 20, 40, 60, 80, 100 mg/kg, twice daily at 09.00 and 16.00) or saline for 8 consecutive days. In the during withdrawal period, a saline is injected instead of a morphine injection. The extract from kratom was administered during withdrawal period 30 minutes before the behavioral test at 80 mg/kg for 5 days. The results showed that repeated treatment of morphine dramatically decreased the body weight of morphine-treated mice, assessed on day 8, compared with saline-treated (control) group. In the during withdrawal period, mice were more exhibited anxiety related behaviors and depressive-like behaviors were increased. When treated with extract from kratom leaves at 80 mg/kg, it reduced both anxiety-related behavior, depression-like behavior.
Abstract(Thai): การถอนหรือหยุดใช้ยา opioids เรื้อรังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ โดยเฉพาะ สภาวะทางอารมณ์เชิงลบซึ่งเป็นอาการทางจิตเวชที่ตรวจพบระหว่างการถอนยา และอาจทำให้เกิด การรบกวนการทำงานของวิถีความจำและการเรียนรู้ในสมอง การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ประเมินผลของสารสกัดจากใบกระท่อมต่อการถอนมอร์ฟีนในระยะยาวในหนูทดลอง การทดลองครั้ง นี้มีหนูกลุ่มควบคุม (n=8), กลุ่มติดยา (n=8) และกลุ่มกระท่อม (n=8) โดยกลุ่มติดยาถูกเหนี่ยวนำ ด้วยมอร์ฟีนในขนาดที่ค่อยเพิ่มขึ้น (10, 20, 40, 60, 80, 100 มก./กก.) กลุ่มควบคุมจะให้น้ำเกลือ ทั้งหมด 8 วัน วันละ 2 ครั้ง เวลา 09.00 น. และ 16. 00 น. ในช่วงถอนยาจะให้น้ำเกลือแทนการให้ มอร์ฟีนและกลุ่มกระท่อมจะให้สารสกัดในช่วงถอนยาก่อนการทดสอบพฤติกรรม 30 นาที ในขนาด 80 มก./กก. เป็นเวลา 5 วัน ผลการทดลองพบว่าการรักษาด้วยมอร์ฟีนซ้ำๆ ทำให้น้ำหนักตัวลดลง อย่างมากซึ่งมีค่าแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำเกลือ เมื่อ เหนี่ยวนำให้เกิดการถอนยาแบบค่อยเป็นค่อยไปพบว่าหนูทดลองมีแนวโน้มของพฤติกรรมความวิตก กังวล (elevated plus maze) และพฤติกรรมอาการซึมเศร้า (tail suspension test และ forced swimming test) เพิ่มขึ้น เมื่อได้รับการรักษาด้วยสารสกัดจากใบกระท่อมในขนาด 80 มก./กก.แสดง ให้เห็นถึงแนวโน้มของสารสกัดที่สามารถใช้เพื่อลดอาการถอนที่เกิดขึ้นในระยะยาวจากมอร์ฟีนได้ทั้ง พฤติกรรมความวิตกกังวลและพฤติกรรมภาวะซึมเศร้า รวมถึงอาจจะสามารถเพิ่มความจำระยะสั้น เมื่อเกิดความผิดปกติดังกล่าวได
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17935
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:320 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6110220026.pdf1.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons