Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17931
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานอาหารฮาลาล กรณีศึกษา : โรงงานมะพร้าวแปรรูปในจังหวัดปัตตานี
Other Titles: A Feasibility Study of Establishing A Halal Food Factory: A Case Study of Coconut Processing Factory in Pattani Province
Authors: เสกสรร สุธรรมานนท์
ฆอสวาน ศรีท่าด่าน
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: การศึกษาความเป็นไปได้;โรงงานอาหาร;อาหารฮาลาล;การวางผังโรงงาน;โรงงานมะพร้าวแปรรูป
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: A Feasibility Study of Establishing a Halal Food Factory, case study with a coconut processing factory in Pattani Province. All 5 aspects were studied: marketing, technical, management, environmental and financial. The results indicated that the target market is the Arabian Gulf Group (GCC), which is a group of school and working age. The appropriated location of the factory is at Pattani Industrial Estate. The plant layout is the considers the flow of the production process and the relationship of each department. The factory has an area of 3,025 square meters, the volume of coconuts in production is 2,000 coconuts per day, yielding 10,000 packets of crispy coconut products per day. The factory uses semi-automatic machines controlled by human labor. The production process must be under halal standards. Organizational structure management has two portions: production and office. There are two parts to the environment: a wastewater disposal system in the production process with only 10 cubic meters per day and the safety of people and property in the event of unrest in the area, which continued to decline. With respect to financial analysis, the project uses investment capital of 30,000,000 baht, found that the net present value is 28,043,842 baht at a rate of return on investment of 49.31%, payback period of 2 years and 4 months, compared to a minimum rate of return of 29.50%. Therefore, this project is suitable for investment.
Abstract(Thai): การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานอาหารฮาลาล กรณีศึกษาโรงงานมะพร้าวแปรรูปในจังหวัดปัตตานี ศึกษาทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการเงิน ผลการศึกษาพบว่า ตลาดเป้าหมายคือ กลุ่มอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งเป็นกลุ่มในวัยเรียนและวัยทำงาน ทำเลที่ตั้งโรงงาน คือ นิคมอุตสาหกรรมปัตตานี การวางผังโรงงานเป็นการพิจารณาการไหลของกระบวนการผลิตและความสัมพันธ์ของแต่ละหน่วยงาน โดยโรงงานมีพื้นที่ 3,025 ตารางเมตร ปริมาณมะพร้าวในการผลิต 2,000 ลูกต่อวัน ได้มะพร้าวอบกรอบ 10,000 ซองต่อวัน โดยใช้เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติควบคุมด้วยแรงงานคน กระบวนการผลิตต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานฮาลาล การจัดการโครงสร้างภายในองค์กรมีสองส่วน คือส่วนการผลิต และส่วนสำนักงาน ด้านสิ่งแวดล้อมมีสองส่วน คือ ระบบการกำจัดน้ำเสียในกระบวนการผลิตที่มีเพียง 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินในสภาวะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งมีแนวโน้มที่ลดลงจากเดิมอย่างต่อเนื่อง การศึกษาด้านเงินพบว่า โครงการใช้เงินลงทุน 30,000,000 บาท พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 28,043,842 บาท ที่อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 49.31 ระยะคืนทุนที่ 2 ปี 4 เดือน ดังนั้นโครงการนี้มีความเหมาะสมสำหรับการลงทุน
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการและระบบ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17931
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210120040.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons