Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17930
Title: คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพ ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน และสภาพแวดล้อม การปฏิบัติงานที่ดี ของพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Professional Quality of Life, Servant leadership of Head Nurses, and Positive Practice Environment of Emergency Nurses, Five Southern Border Community Hospitals, Thailand
Authors: ปราโมทย์ ทองสุข
เกตุกาญจน์ วิเชียรรัตน์
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพ;พยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This correlational descriptive study aimed to 1) examine the level of professional quality of life, namely compassion satisfaction and compassion fatigue among emergency nurses, servant leadership of head nurses, and positive practice environments, and 2) determine the relationship between professional quality of life, and two variables; servant leadership of head nurses, and positive practice environments. The sample was 250 emergency nurses working in 22 community hospitals, five southern border provinces, Thailand. Stratified sampling was used according to the hospital size. Data were collected by questionnaire comprising 4 sections: 1) the Demographic Data Form 2) the Professional Quality of Life Questionnaire; part I-compassion satisfaction and part II- compassion fatigue; 3) the Servant Leadership Questionnaire; and 4) the Positive Practice Environment Questionnaire. The second to fourth sections of the questionnaire were approved for content validity by 3 experts, yielding CVIs of 1, .94 and 1, respectively. The internal consistency of the questionnaires was tested using Cronbach's Alpha coefficient, yielding the values of .86, .88, .98 and .96, respectively. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results revealed that the overall professional quality of life, namely compassion satisfaction of emergency nurses, was at a high level (M=4.03, SD=.51), and the overall professional quality of life, namely compassion fatigue, was at a low level (M=2.41, SD=.56). The overall servant leadership of head nurse and positive practice environments, as perceived by emergency nurses, were at a high level (M=3.78, SD=.73; and M=3.50, SD=.67, respectively). Professional quality of life, namely compassion satisfaction had a significant positive correlation at a low level with servant leadership of head nurses (r=.26, p<.01), and a significant positive correlation at a medium level with positive practice environments (r=.38, p<.01). Professional quality of life, namely compassion fatigue, was not correlated with servant leadership of head nurses (r=-.04, p>.05), but had a significant negative correlation at low level with positive practice environments (r=-.15, p<.01). These findings are useful for increasing compassion satisfaction among emergency nurses by further optimizing their working environment.
Abstract(Thai): การวิจัยบรรยายแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิต ผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกพึงพอใจในงาน และด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานของพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน และสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกพึงพอใจในงาน และด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน กับภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน และสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 250 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified sampling) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 4 ตอน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพที่ มี 2 ส่วน คือ ความรู้สึกพึงพอใจในงาน และความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงาน 3) แบบสอบถามภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน และ 4) แบบสอบถามสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี เครื่องมือผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่า CVI ตอนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ 1, .94, และ 1 ตามลำดับ และตรวจสอบความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของแบบสอบถามตอนที่ 2 ส่วนที่ 1 และ 2 ตอนที่ 3 และ ตอนที่ 4 เท่ากับ .86, .88, .98, และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกพึงพอใจในงานโดยรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (M=4.03, SD=.51) คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานโดยรวม มีค่าเฉลี่ยระดับน้อย (M=2.41, SD=.56) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (M=3.78, SD=.73) สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (M=3.50, SD=.67) คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกพึงพอใจในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน (r=.26, p<.01) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี (r=.38, p<.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) คุณภาพชีวิตผู้ประกอบวิชาชีพด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้างาน (r=-.04, p>.05) มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับสภาพแวดล้อม การปฏิบัติงานที่ดี (r=-.15, p<.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มความรู้สึกพึงพอใจในงานของพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน ด้วยการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารทางการพยาบาล),2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17930
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210420004.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons