Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17924
Title: The Local Residents’ Attitudes towards the Market Expansion of Chinese Inbound Tourism in Phuket
Other Titles: ทัศนคติของคนท้องถิ่นที่มีต่อการขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนในภูเก็ต
Authors: Panuwat Phakdee-auksorn
Sikan Sudboo
Faculty of Hospitality and Tourism (Hospitality and Tourism Management)
คณะการบริการและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว
Keywords: Socio-demographic characteristic factors;residents’ perceptions and attitudes;tourism impacts;the Chinese inbound tourism market;social exchange theory
Issue Date: 2021
Publisher: Prince of songkla university
Abstract: Nowadays, Phuket is significantly conditional on the tourism industry as the island is known as one of the famous worldwide tourist destinations. Chinese from mainland China flowed flocked to this island all year-round. Recently, they ranked on the top line of the international foreigner arrival and tourism receipts in Phuket. It influences the expansion of the Chinese inbound tourism market rapidly became the dominant position on the island. The circumstances significantly impact the island and locals. Overall, it affects positive, while broadly negative impacts were also attached. Residents’ cooperation is essential to achieving sustainable tourism development, which potentially promotes favorable while mitigating unfavorable impacts. Consequently, this research mainly aims to examine residents’ perceptions of tourism impacts and investigate their attitudes towards supporting the market development regarding Chinese inbound tourism in Phuket in the fields of economic, socio-cultural, and environmental perspectives as the primary purpose. The study principally employed a quantitative research methodology. The 400 useable questionnaires were analyzed to extract the study results. The quantitative data were analyzed using a statistical package for the social sciences (SPSS) program version 25. Moreover, the study also used content analysis to quantify and analyze residents’ answers from the twelve open-ended questions in the questionnaire. A summary of the research findings on overall residents’ perceptions and attitudes suggested that the majority of residents agreed that the market expansion has a positive effect on Phuket and that they are willing to support the Chinese inbound tourism market development in Phuket. However, the findings revealed that Phuket residents perceived a total of 62 both positive and negative impacts regarding this market expansion. The classification is divided into 21 economic impacts, 28 socio-cultural impacts, and the remaining 13 are found under environmental fields. In addition, an in-depth survey of residents’ attitudes found that they exhibited 13 of the most liked feelings about the expansion of this market and the 21 most disliked. Subsequently, the study revealed 7 opinions of residents about the most significant advantages of supporting the market expansion and the 19 most significant disadvantages. Finally, the findings examined 20 impact solution guidelines regarding market expansion and 11 other approaches concern with supporting market development, which were analyzed from the suggestions of Phuket residents. Onward, the study found 16 socio-demographic characteristics that influenced residents’ perceptions and attitudes towards this market expansion significantly differences while the 4 other variables do not. The findings suggested that residents’ overall perception of impact, either positively or negatively, was greatly influenced by the perceived economic, socio-cultural, and environmental effects of market expansion. After, the study found that residents’ overall perceptions of impact from the market expansion significantly further predicted their attitudes towards supporting market development. It ensured that when residents perceived the overall effect positively, they were inclined to support the market development. In contrast, when the perceived overall impact of residents is negative, they were declined to support the market development or even refused it. Lastly, the study findings could be used effectively as suggestions and guidelines for the sustainable development of the Chinese inbound tourism market and the Phuket tourism industry. In brief, the study suggested that should encourage economic benefactions in the community and residents will less anxious about socio-cultural and environmental impacts. It will further influence residents to views overall local tourism development more optimistically. Then, there will be more residents incline to cooperate and support tourism development in the community. Finally, this island will achieve the long-term goal of sustainable tourism development, maximize benefits, and mitigate negative impacts on Phuket Island. As well as encourage residents in different sectors who are community stakeholders and local guests to live together happier on Phuket Island.
Abstract(Thai): ปัจจุบันภูเก็ตตั้งอยู่บนเงื่อนไขของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญตามที่รู้จักกันว่าเกาะแห่งนี้คืออีกหนึ่งจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลก ชาวจีนจากจีนแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลเข้ามาที่เกาะแห่งนี้ตลอดทั้งปี เมื่อเร็ว ๆ นี้พวกเขาจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้การท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีอิทธิพลทำให้การขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนกลายเป็นเงื่อนไขที่โดดเด่นบนเกาะอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเกาะและคนท้องถิ่นอย่างมาก โดยรวมแล้วส่งผลเชิงบวกในขณะที่ผลกระทบเชิงลบในวงกว้างก็ยังมีแนบติดมาด้วยเช่นกัน ความร่วมมือของผู้อยู่อาศัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งสามารถส่งเสริมให้เกิดผลกระทบในทางที่ดีในขณะที่ช่วยบรรเทาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจการรับรู้ผลกระทบการท่องเที่ยวของผู้อยู่อาศัยและสำรวจทัศนคติของพวกเขาที่มีต่อการสนับสนุนการพัฒนาตลาดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวขาเข้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนในภูเก็ต ด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก ซึ่งแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมด 400 ฉบับบได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อสกัดออกมาเป็นผลการศึกษา ข้อมูลเชิงปริมาณได้ถูกวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสัมคมศาสตร์ (SPSS) เวอร์ชัน 25 นอกจากนี้การศึกษายังใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อหาปริมาณและวิเคราะห์คำตอบของผู้อยู่อาศัยจากคำถามปลายเปิดสิบสองคำถามในแบบสอบถามอีกด้วย การสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติโดยรวมของผู้อยู่อาศัยชี้ให้เห็นว่าผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เห็นว่าการขยายตัวของตลาดส่งผลดีต่อภูเก็ตและพวกเขายินดีที่จะสนับสนุนการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนในภูเก็ต อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่าชาวภูเก็ตรับรู้ผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบทั้งหมดจำนวน 62 ประการจากการขยายตัวของตลาดนี้ การจำแนกประเภทแบ่งออกเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 21 ประการ ด้านสังคม-วัฒนธรรม 28 ประการ และผลกระทบที่เหลืออีก 13 ประการถูกพบภายใต้มุมมองด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การสำรวจทัศนคติของผู้อยู่อาศัยในเชิงลึกพบว่าพวกเขาแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่ชอบมากที่สุดจำนวน 13 ประการเกี่ยวกับการขยายตัวของตลาดนี้และไม่ชอบมากที่สุด 21 ประการ ต่อมาการวิจัยพบว่าผู้อยู่อาศัยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่สำคัญที่สุดจากการสนับสนุนการพัฒนาตลาด 7 ประการ และข้อเสียเปรียบที่สำคัญที่สุด 19 ประการ ท้ายที่สุดผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบอันเนื่องมาจากการขยายตัวของตลาดจำนวน 20 ประการและแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาตลาดอีก 11 ประการซึ่งได้วิเคราะห์มาจากการเสนอแนะของชาวภูเก็ต จากนั้นการศึกษาพบว่ามีลักษณะทางสังคม-ประชากร 16 ประการที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการขยายตัวของตลาดนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ตัวแปรอื่น ๆ อีก 4 ตัวไม่มีอิทธิพล ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการรับรู้ผลกระทบโดยรวมของผู้อยู่อาศัยไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบล้วนได้รับอิทธิพลอย่างมากผ่านการรับรู้ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวของตลาด หลังจากนั้นการศึกษาพบว่าการรับรู้โดยรวมเกี่ยวกับผลกระทบจากการขยายตัวของตลาดได้ทำนายทัศนคติของพวกเขาต่อการสนับสนุนการพัฒนาตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อผู้อยู่อาศัยรับรู้ผลกระทบโดยรวมในเชิงบวกพวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการพัฒนาของตลาด ในทางตรงกันข้ามเมื่อการรับรู้ผลกระทบโดยรวมของผู้อยู่อาศัยเป็นไปในทางลบพวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนาตลาดน้อยลงหรือแม้กระทั่งปฏิเสธ สุดท้ายนี้ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าของนักท่องเที่ยวชาวจีนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูเก็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปการศึกษาชี้ให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในชุมชนและผู้อยู่อาศัยจะมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคม-วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง จะส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยให้มองการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่นโดยรวมในแง่ดีมากขึ้น จากนั้นจะมีผู้อยู่อาศัยที่มีแนวโน้วที่จะร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนมากขึ้น ในที่สุดเกาะแห่งนี้จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดและบรรเทาผลกระทบด้านลบบนเกาะภูเก็ต รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยในภาคส่วนต่างๆซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนและผู้มาเยือนท้องถิ่นอยู่ร่วมกันบนเกาะภูเก็ตอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น
Description: Thesis (M.B.A.(Hospitality and Tourism Management))--Prince of Songkla University, 2021
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17924
Appears in Collections:816 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5930121011.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons