กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17922
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับด้านการท่องเที่ยวจากบทวิจารณ์ออนไลน์ กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tourism Feedback Analysis from Online Reviews: A Case Study of Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตย์ศิริ ช่อเจี้ยง
ปิยเนตร อรุณปรีดิ์
College of Digital Science
โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ดิจิทัล
คำสำคัญ: กฎความสัมพันธ์;สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต;พฤติกรรมการท่องเที่ยว;เหมืองข้อมูล;วิเคราะห์ความรู้สึก
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: “Phuket”, a small province in Thailand, is the main source of income for tourism in Thailand because Phuket attractions include natural attractions, recreational activities and a variety of food that can attract both domestic and internation tourists enormously. The world today The Internet plays a huge part in finding information and planning a trip. For example, travel related websites and travel media use a presentation style that contains a section of online reviews as the main for exchanging idea, opinion or sharing the experiences that tourists have actually experienced. Accessing such information becomes a great tool for travelers while making their decisions. However an issue with online reviews includes the amount of information, the language used by the reviewers and the details that the reviewer want to express. Therefore, this research aims to study the behavior of tourists when traveling around attractions in Phuket. All data collected from the Tripadvisor website between 2010-2020 were used. There were 190 Phuket attractions with the total of 76,183 reviews. Techniques include the Association Rule using the FP-Growth algorithm, Text mining using text frequency analysis and Part of Speech – POS for finding the thing that tourists need or frequently mentioned, Term Frequency – Inverse Document Frequency (TF-IDF) techniques for considering the importance of reviews, and Sentiment Analysis for finding the real feeling of tourists, The final outcome will be summarized into a Dashboard. Tourists, related officials or entrepreneurs in Phuket can use the dashboard in order to be prepared for each group of tourists at different locations and at different time periods as efficiently as possible.
Abstract(Thai): “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดขนาดเล็ก ๆ ในประเทศไทยแต่เป็นแหล่งรายได้หลักด้านการท่องเที่ยวอันดับต้นๆของประเทศไทย เพราะจังหวัดภูเก็ตมีแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางธรรมชาติ อาหาร และกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมหาศาล ในโลกยุคปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาข้อมูลหรือวางแผนการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างได้จาก เว็บที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยว สื่อการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่พัฒนารูปแบบการนำเสนอ ให้มีส่วนของบทวิจารณ์ออนไลน์เพื่อเป็นสื่อหลักในการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นหรือแบ่งปันประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสกับสถานที่เหล่านั้นจริง ๆ การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวได้อย่างดียิ่ง แต่ปัญหาของบทวิจารณ์ออนไลน์นั้นคือ ข้อมูลจำนวนมาก ภาษาที่นักวิจารณ์ใช้ หรือสิ่งที่ผู้วิจารณ์ต้องการสื่อที่แท้จริง ดังนั้นนักวิจัยจึงทำการสกัดความรู้จากบทวิจารณ์ออนไลน์ของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตจากเว็บไซต์ TripAdvisor ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2563 มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมด 190 สถานที่ จำนวนบทวิจารณ์ทั้งหมด 76,183 บทวิจารณ์ โดยดำเนินการวิเคราะห์ในหลายรูปแบบ เช่น หากฎความสัมพันธ์ (Association Rule) โดยใช้อัลกอริทึม FP-Growth ใน Rapid Miner เพื่อหาความเกี่ยวข้องของข้อมูล และการทำเหมืองข้อมูล (Text mining) โดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ของคำ (Text Frequency Analysis) ทั้งยังค้นหาประเภทของคำในประโยค (Part of Speech - POS) เพื่อสกัดหาสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการหรือกล่าวถึงมากที่สุดร่วมกับการใช้เทคนิค Term Frequency – Inverse Document Frequency (TF-IDF) ในการพิจารณาความสำคัญของคำประโยค ทั้งยังดำเนินการวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentiment Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความรู้สึกที่แท้จริงของนักท่องเที่ยว โดยท้ายสุดจะสรุปให้อยู่ในรูปแบบของ Dashboard เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17922
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:950 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6310025011.pdf3.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons