กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17895
ชื่อเรื่อง: | ชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis สำหรับควบคุม Rigidoporus microporus เชื้อสาเหตุโรครากขาว และส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพารา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Bacillus subtilis Bio-agent for Controlling White Root Rot Disease (Rigidoporus microporus) and Growth Promotion of Para Rubber |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัจฉรา เพ็งหนู พันธ์ทิพย์ จุลวรรณโณ Faculty of Natural Resources (Earth Science) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Bacillus subtilis;Rigidoporus microporus;ชีวภัณฑ์;ยางพารา;โรคและศัตรูพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2021 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | Unsuitable soil and nutrient management resulted in rubber trees susceptible to disease, especially white root rot disease. The use of chemicals is ineffective in controlling the disease and affects soil organisms and the environment. The study aims were to develop Bacillus subtilis bio-agent as soluble formula and insoluble formula, the use of biological products in combination with nutrient management on the growth of para rubber, and to control Rigidoporus microporus, caused by white root rot disease of rubber tree. Bacterial antagonists, B. subtilis isolate SM1 and LPDD3-2, B. amyloliquefaciens isolate PT7 were tested against R. microporus fungal mycelium by pour-plate method with potato dextrose agar (PDA). Carriers of bio-agent were tested on the growth of antagonistic bacteria and pathogenic fungi including the effectiveness of inhibiting the pathogenic fungi using PDA containing carriers of bio-agent. B. subtilis bio-agent in granulation form was developed as soluble formula and insoluble formula, and then the physical and biological properties were evaluated. Finally, the effect of bio-agents on germination and growth of rubber trees, including the use of B. subtilis bio-agent together with nutrient management for controlling white root rot disease, was conducted by a randomized complete block design (RCBD) 4 treatments, 4 repetitions, and 8 plants per replication. The results showed that the antagonistic bacteria B. subtilis, SM1 isolate, was the best inhibitor of R. microporus mycelium (97.76 percent). In PDA medium containing carriers of bio-agent, B. subtilis SM1 isolate, soluble formula 1 SM1 was highly in cultured (1.5 ± 1.8 x 1011 cfu/ml) and suppressed R. microporus mycelium (97.78 percent). Preparation of B. subtilis bio-agent appeared that the viable number of B. subtilis isolate SM1 was higher than that of B. subtilis isolate LPDD3-2. Comparison of bio-agent form, it was found that the soluble formula 1 SM1 and insoluble formula 3 SM1 provided the highest viable bacteria of 8.5 ± 1.3 x 1011cfu/g and 9.0 ± 0.8 x 1011cfu/g respectively. Soluble formula 1 SM1 showed high solubility in water in the range of 1.2-1.4 minutes. B. subtilis in the soluble formula 1 SM1 and insoluble formula 3 SM1 showed uniform distribution and 96-99 percent inhibition of R. microporus mycelium. The bio-agent under 10, 28 and 37oC for 12 months storage resulted in the soluble formula 1 SM1, and the insoluble formula 3 SM1 obtained a bacterial viability of more than 109 cfu/g and controlling white root rot pathogens 84-94 percent. Under ultraviolet C (UVC) conditions at a light intensity of 0.1 W/m2, the B. subtilis survival of soluble formula 1 SM1 and insoluble formula 3 SM1 were based on the initial viability of 8.1 x 1011 cfu/g and 7.1 x 1011cfu/g, respectively. The viability of B. subtilis decreased rapidly at 3 h until 96 h. There were 9.6 x 104 and 5.9 x 106 cfu/g, respectively. For the efficacy of the bio-agent under UVC condition at 96 h on inhibition of R. microporus mycelium, it was found that the soluble formula 1 SM1 and the insoluble formula 3 SM1 showed 34-40 percent inhibition of the fungal mycelium, consistent with the surviving number of B. subtilis in bio-agent. The soluble formula 1 SM1 and the insoluble formula 3 SM1 resulted in the rubber growth improvement especially in taproot germination, the amount of fibrous root, plant height, leaves number, fresh weight and dry weight of rubber tree. There was a statistically significant difference (P ≤ 0.05) compared to the non-biological control. In addition, both formulations of Bacillus subtilis also increased the availability of phosphorus in the soil after the experiment by 33 percent. The combination of nutrients with water soluble formulation 1 SM1 and insoluble formulation 3 SM1 resulted in a reduction of white root rot disease. Fertilizer application of 20-8-20 formula obtained in a lower incidence of both above-soil and root of the rubber tree than formula 15-15-15, but there was no statistically significant difference (P ≤ 0.01). B. subtilis bio-agent in the appropriate formulation can increase the B. subtilis efficacy. Bio-agent of B. subtilis in combination with fertilizers can not only reduce disease incidence but also enhance rubber growth. In order to the rubber tree free from white root rot disease and able to grow according to the potential of variety. Therefore, in the management of rubber plantations, Bacillus subtilis bio-agent should be used with appropriate nutrient management. |
Abstract(Thai): | การจัดการดินและธาตุอาหารอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ต้นยางพาราอ่อนแอต่อการเกิดโรคโดยเฉพาะโรครากขาว บางครั้งการใช้สารเคมีควบคุมโรคไม่ได้ผลและทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในดินและสภาพแวดล้อม การศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา Bacillus subtilis เป็นชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำและสูตรไม่ละลายน้ำ และศึกษาการใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับการจัดการธาตุอาหาร ต่อการเจริญเติบโตของยางพารา รวมทั้งการควบคุมเชื้อรา Rigidoporus microporus โรครากขาวของยางพารา โดยนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ไอโซเลท SM1 และLPDD3-2, B. amyloliquefaciens ไอโซเลท PT7 ทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเส้นใยเชื้อรา R. microporus ด้วยวิธีการ pour-plate กับอาหาร Potato dextrose agar (PDA) ทดสอบผลของสารประกอบชีวภัณฑ์ ต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียปฏิปักษ์และเชื้อราสาเหตุโรค รวมถึงประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคโดยใช้อาหาร PDA ผสมสารพาที่เป็นองค์ประกอบของชีวภัณฑ์ เพื่อพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์ B. subtilis สูตรละลายน้ำ และสูตรไม่ละลายน้ำ รูปแบบแกรนูล (granulation) จากนั้นจึงประเมินสมบัติทางกายภาพ ชีวภาพของชีวภัณฑ์ และทดสอบผลของชีวภัณฑ์ต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นยางพารา รวมถึงการใช้ชีวภัณฑ์ B. subtilis ร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเพื่อควบคุมการเกิดโรครากขาว โดยวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design : RCBD) 4 กรรมวิธี 4 ซ้ำๆ ละ 8 ต้น ผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ไอโซเลท SM1 สามารถยับยั้งเส้นใยเชื้อรา R. microporus ได้ดีที่สุด (97.76 เปอร์เซ็นต์) และในอาหาร PDA ที่ผสมสารประกอบชีวภัณฑ์ B. subtilis ไอโซเลท SM1 สูตรละลายน้ำ 1 สามารถเจริญได้ดีมีปริมาณเชื้อ 1.5 ± 1.8 x 1011 cfu/ml รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อรา R. microporus (97.78 เปอร์เซ็นต์) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (PDA) เมื่อเตรียมเป็นชีวภัณฑ์ปรากฏว่า ปริมาณ B. subtilis ไอโซเลท SM1 มีปริมาณเชื้อในสูตรสูงกว่า B. subtilis ไอโซเลท LPDD3-2 โดยมีปริมาณเชื้อสูงสุดสำหรับชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำ 1 SM1 (8.5 ± 1.3 x 1011 cfu/g) และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 (9.0 ± 0.8 x 1011 cfu/g) และชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำ 1 SM1 ละลายน้ำได้เร็วอยู่ในช่วง 1.2-1.4 นาที การกระจายตัวของ B. subtilis ในชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำ 1 SM1 และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 มีความสม่ำเสมอ และสามารถยับยั้งเส้นใยเชื้อราได้ 96-99 เปอร์เซ็นต์ การเก็บรักษาชีวภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิ 10, 28 และ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 เดือน ทำให้สูตรละลายน้ำ 1 SM1 และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 มีปริมาณเชื้อมากกว่า 109 cfu/g และสามารถควบคุมเชื้อโรครากขาวได้ 84-94 เปอร์เซ็นต์ สำหรับภายใต้สภาวะที่มีรังสี ultraviolet C (UVC) ที่ความเข้มแสง 0.1 W/m2 ปริมาณของ B. subtilis สูตรละลายน้ำ 1 SM1 และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 จากปริมาณเชื้อเริ่มต้น 8.1 x 1011 cfu/g และ 7.1 x 1011 cfu/g ตามลำดับ และลดลงอย่างรวดเร็วในชั่วโมงที่ 3 กระทั่งที่เวลา 96 ชั่วโมง มีปริมาณเชื้อเท่ากับ 9.6 x 104 และ 5.9 x 106 cfu/g ตามลำดับ สำหรับประสิทธิภาพการยับยั้งเส้นใยเชื้อรา R. microporus ของชีวภัณฑ์ที่เก็บภายใต้รังสี UVC ที่เวลา 96 ชั่วโมง ชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำ 1 SM1 และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 สามารถยับยั้งเส้นใยเชื้อราได้ 34-40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณเชื้อที่มีชีวิตรอดในชีวภัณฑ์ ชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำ 1 SM1 และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 ทำให้การเจริญเติบโตของยางพาราเพิ่มขึ้น ทั้งการเจริญของรากแก้ว และปริมาณของรากฝอย รวมถึงความสูงของต้น จำนวนใบ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของต้นยางพาราเพิ่มขึ้น และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ได้ใช้ชีวภัณฑ์ อีกทั้งชีวภัณฑ์ทั้ง 2 สูตร ยังทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินหลังการทดลองเพิ่มขึ้นจากเดิม 33 เปอร์เซ็นต์ การจัดการธาตุอาหารร่วมกับการใช้ชีวภัณฑ์สูตรละลายน้ำ 1 SM1 และสูตรไม่ละลายน้ำ 3 SM1 ทำให้การเกิดโรครากขาวลดลงและการเจริญเติบโตของยางพาราเพิ่มขึ้น โดยการใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20 ทำให้การเกิดโรคทั้งส่วนเหนือดินและรากต่ำกว่าปุ๋ยสูตร 15-15-15 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤ 0.01) ขณะที่การเจริญของยางพาราส่วนเหนือดิน และราก รวมทั้งความเข้มข้นของธาตุอาหาร และการดูดใช้ธาตุอาหารของยางพาราสูงกว่าการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P≤0.01) ชีวภัณฑ์ B. subtilis ในรูปแบบที่เหมาะสมทำให้ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น การใช้ชีวภัณฑ์ B. subtilis ร่วมกับปุ๋ยที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ลดการเกิดโรครากขาวแต่ยังทำให้การเจริญเติบโตของยางพาราเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการจัดการสวนยางพารา จึงควรใช้ชีวภัณฑ์ B. subtilis ร่วมกับการจัดการธาตุอาหาร เพื่อให้ต้นยางพาราปลอดโรครากขาว และสามารถเจริญเติบโตตามศักยภาพพันธุ์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการทรัพยากรดิน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17895 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 542 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6010620027.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License