Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17893
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส |
Other Titles: | The Participation of the People in the Administration of Batong Subdistrict Administrative Organization, Ruso District, Narathiwat Province |
Authors: | อาหวัง ล่านุ้ย บดินทร์ เดเบาะจาโก Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
Keywords: | การปกครองท้องถิ่น;องค์การบริหารส่วนตำบล;การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This research was to study the administration of local administrative organizations and people's participation in the administration of the Batong Subdistrict Administrative Organization, Rueso District, Narathiwat Province. The objective is to study knowledge understand and the level of public participation in the administration including factors affecting public participation in administration and presenting guidelines for developing people's participation in the administration of Batong Subdistrict Administrative Organization From a sample of 361 people living in Batong Subdistrict Administrative Organization area and key informants were Executives and people who have experience participating in the administration of the Batong Subdistrict Administrative Organization, total 11 people. The content was checked by 3 experts. The reliability analysis was obtained by using the Alpha Cronbach coefficient formula equal to 0.85 and the confidence value of the Cuder Richardson KR-20 was 0.898. The quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA statistics. Qualitative data were used content analysis. The results showed that 1. The results showed that The sample's knowledge was a minimum of 2.0, a maximum of 20.00, a mean 8.6787, and an SD 4.19945, and the participation level of most of the samples was moderate (¯("x" )=2.6875) considering each aspect. It was found that participation was at a moderate level in all aspects: decision-making participation (¯("x" )=2.7556) benefit participation (¯("x" )=2.7101). Result (¯("x" )=2.6235) and implementation participation (¯("x" )=2.6144). 2. Factors affecting the participation in the administration of the sample group, for example, the older sample had higher participation than the younger group. The group with the bachelor's degree general education had higher participation than the group with other levels of education. The widowed group had higher participation than the group with the other marital status. The civil servant group/state enterprise employee will have higher participation than other occupational and income groups 15,001-20,000 baht per month will contribute higher than other income groups. 3. Guidelines for people's participation in the administration of Batong Subdistrict Administrative Organization by using the PDCA process are as follows: (1) Planning by surveying the needs and problems in order to set up a community forum to present development projects. that is beneficial to the people; (2) The implementation of the plan by creating awareness among people to see the importance of participation in all aspects and give suggestions to improve the project in accordance with the needs; (3) Inspection by checking the progress according to the plan. including allowing the public to express their opinions and complaints through various channels and evaluate the project at every stage. Including creating new projects that respond to development for project approval. |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วน ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความ เข้าใจและระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงาน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน และนำเสนอแนวทางการพัฒนามีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบาตง จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาตง 361 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็น ผู้บริหารและประชาชนที่มีประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององคืการบริหารส่วนตำบลบาตง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าวิเคราะห์ความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.85 และค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์ ริชาร์ดสัน KR-20 ได้เท่ากับ 0.898 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และ One-way ANOVA ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานของกลุ่มตัวอย่างมีค่าต่ำสุด 2.0 ค่าสูงสุด 20.00 ค่าเฉลี่ย 8.6787 และค่า S.D. 4.19945 และระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (¯("x" )=2.6875) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ การมีส่วนร่วมตัดสินใจ (¯("x" )=2.7556) การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (¯("x" )=2.7101) การมีส่วนร่วมประเมินผล (¯("x" )=2.6235) และการมีส่วนร่วมดำเนินงาน (¯("x" )=2.6144) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) อายุ โดยผู้ที่มีอายุมากจะมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย มีนัยสำคัญที่ .01 (2) การศึกษา โดยผู้ที่มีการศึกษาสายสามัญระดับปริญญาตรีจะมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาระดับอื่น ๆ มีนัยสำคัญที่ .05 (3) สถานภาพครอบครัว โดยที่มีสถานภาพสมรสหม้ายจะมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่มีสถานภาพสมรสกลุ่มอื่น ๆ มีนัยสำคัญที่ .05 (4) อาชีพ โดยอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจจะมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ มีนัยสำคัญที่ .01 (5) รายได้ โดยผู้ที่มีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ต่อเดือนจะมีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่น ๆ มีนัยสำคัญ ที่ .01 3. แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบาตงโดยการใช้กระบวนการ PDCA มีดังนี้ (1) การวางแผน โดยสำรวจความต้องการรวมทั้งปัญหาต่าง ๆ เพื่อจัดเวทีประชาคมในการนำเสนอโครงการพัฒนาที่สร้างประโยชน์กับประชาชน (2) การปฏิบัติตามแผน โดยสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมทุกด้าน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการ (3) การตรวจสอบ โดยตรวจสอบความคืบหน้าตามแผนงาน รวมทั้งให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และร้องเรียนความเดือดร้อนให้หลากหลายช่องทาง และประเมินโครงการทุกขั้นตอน (4) การปรับปรุงโดยวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามแผน รวมทั้งจัดทำโครงการใหม่ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเพื่อขออนุมัติโครงการ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17893 |
Appears in Collections: | 427 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6120220619.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License