Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17883
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมพร คุณวิชิต | - |
dc.contributor.author | ศิวะ ยงประเดิม | - |
dc.date.accessioned | 2023-03-01T03:11:16Z | - |
dc.date.available | 2023-03-01T03:11:16Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17883 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | This research aims at investigating disaster risk situation in Libong Island and examining supportive factors for managing disaster risk as well as factors that hinder disaster risk management efforts. Results of this study are used to develop guidelines to improve the ability of Libong Island to manage flood risk. The research areas in this study were 2 villages that have faced flooding quite often since 2010. This research employed qualitative research methods with 34 key informants selected by snowball sampling. Data were collected using in-depth interviews and focus-group discussions. Then, analytical induction was employed for data analysis. Results are as follows. The main hazard threatening the villages in Libong Island was flash flooding. Hazard exposure was intensified by human settlements which were closed to the sea shores and near the hills. Such human settlements make the villages more prone to both flood and landslide risks. In terms of vulnerability, these two villages were vulnerable because their houses were not sturdy enough to resist flash flood and the people lacked of the knowledge of how to mitigate and prepare for both flood and landslide risk. Factors that are supportive to flood risk management of communities in Libong Island consist of participative leaders, public participation, social cohesion of community member and support from public agencies and civil society organizations in the areas that helped the communities recover from the flood disaster. Factors that hindered flood risk management of communities in Libong Island include two major (8) groups: infrastructural/structural factors and nonstructural factors. Findings from this research were used to develop guidelines for improving the management of flood risk of Libong Island. First, people in the villages should work together in developing flood risk management plan that fit the risk situation and contexts of the villages. Secondly, village leaders should serve as the focus point that pull resources and knowledge from local government and related agencies in the areas to support the planning and management of flood risk in Libong Island. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | อุทกภัย การบริหารความเสี่ยง กันตัง (ตรัง) | en_US |
dc.title | การจัดการความเสี่ยงอุทกภัยของชุมชนเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง | en_US |
dc.title.alternative | Flood Risk Management of Libong Island, Kantang District, Trang Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Management Sciences (Public Administration) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ | - |
dc.description.abstract-th | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ชุมชน เกาะลิบง พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยเกื้อหนุนและปัญหาอุปสรรคในดําเนินการจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการความเสี่ยงอุทกภัยที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนเกาะลิบง โดยพื้นที่ศึกษาแบ่งเป็น 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านบาตูปูเต๊ะ และหมู่ที่ 5 บ้านหลังเขา ซึ่งประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งนับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ผู้ให้ข้อมูลหลักสําหรับการศึกษาครั้งนี้ มีจํานวน 34 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากนั้นทําการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัยเพื่อตีความและสร้างข้อสรุป จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ฉับพลัน ผลการวิจัยพบว่า ภัยหลักที่เป็นความเสี่ยงในพื้นที่ชุมชนเกาะลิบง คือ น้ําท่วม ส่วนความล่อแหลมนั้นเกิดจากการตั้งถิ่นฐานของประชาชนที่ไปเพิ่มความเสี่ยง เช่น การตั้งบ้านเรือนในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านบาตูปูเต๊ะใกล้ริมทะเลและพื้นที่ลาดชัน ทําให้เสี่ยงต่อการ เกิดน้ําป่าไหลและน้ําท่วมที่เกิดจากทะเลหนุนสูง เช่นเดียวกับการตั้งบ้านเรือนในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านหลังเขาซึ่งใกล้เนินเขาหรือพื้นที่ลาดชัน ทําให้เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อการเกิดน้ําป่า ไหลหลากและดินโคลนถล่ม ในด้านความเปราะบางนั้น พบว่า มีความเปราะบางทางกายภาพ อันเกิดจากสิ่งก่อสร้างบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรง หรือไม่สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงของพื้นที่ ที่มีน้ําท่วมฉับพลัน การขุดคูระบายน้ําผิดประเภทและสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางทางน้ําไหล ประกอบกับ ความเปราะบางทางสังคมในลักษณะของการไม่มีความรู้เบื้องต้นในการลดความเสี่ยงอุทกภัย หรือรับมืออุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ปัจจัยเกื้อหนุนในการจัดการความเสี่ยงอุทกภัยของชุมชนเกาะลิบงนั้นมาจาก (1) คุณลักษณะเฉพาะในด้านผู้นําชุมชนและผู้นําศาสนาที่โน้มน้าว สร้างความไว้วางใจ ทําให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความเสี่ยงอุทกภัยของชุมชน (2) รูปแบบการมีส่วนร่วม ของประชาชน ซึ่งเกิดจากการที่คนในชุมชนมองปัญหาอุทกภัยว่า เป็นปัญหาสาธารณะที่ต้องร่วมกันแก้ไข จึงเต็มใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างสมัครสมานสามัคคี และ (3) ความสามัคคีของคนในชุมชน ที่มาจากความเป็นเครือญาติ รวมทั้ง (4) การสนับสนุนช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและ องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ซึ่งมีบทบาทในการฟื้นฟูให้ผู้ประสบภัยกลับสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว สําหรับปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคนั้น สามารถจําแนกออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ (1) กลุ่มปัญหา ในเชิงกายภาพ/โครงสร้าง คือ การสร้างถนนกีดขวางทางน้ําไหลธรรมชาติและการสร้างคูระบายน้ํา ผิดประเภท และ (2) กลุ่มปัญหาที่ไม่ใช่โครงสร้าง คือ ขาดการรับรู้ความเสี่ยงและการเตรียม ความพร้อมของประชาชนที่ไม่เพียงพอ ปัญหาชาวบ้านไม่สละพื้นที่เพื่อขุดคูระบายน้ําและการบริหาร จัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่เป็นระบบเท่าที่ควรซึ่งกลุ่มปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรค ต่อการดําเนินงานเพื่อจัดการความเสี่ยงอุทกภัยของพื้นที่เกาะลิบง จากผลการวิจัยดังกล่าวนั้น ผู้วิจัยได้จัดทําข้อเสนอแนะแนวทางการจัดความเสี่ยง อุทกภัยของชุมชนเกาะลิบง ซึ่งพัฒนามาจากฐานแนวคิดการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน โดยควรมีการร่วมกันวางแผนในการจัดการความเสี่ยงอุทกภัย และพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการเผชิญเหตุกับอุทกภัยโดยให้ผู้นําชุมชนทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและผู้นําศาสนาเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการและองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ทั้งในแง่เทคนิควิธีการ องค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ ที่จําเป็นในการสร้างศักยภาพต่างๆ ให้สามารถรับมือกับอุทกภัย ในพื้นที่ด้วยตนเองได้ดียิ่งขึ้น | - |
Appears in Collections: | 465 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
449780.pdf | 7.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License