กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17877
ชื่อเรื่อง: ความเป็นนักฟิสิกส์ของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ในประเทศไทย: การให้ความหมายและอิทธิพลเชิงสาเหตุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Qualified Physicist of Physics Students in Thailand: Defining and Causal influencing
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาฟีฟี ลาเต๊ะ
พวงทิพย์ แก้วทับทิม
สถาพร เรืองรุ่ง
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: การให้ความหมาย;อิทธิพลเชิงสาเหตุ;ความเป็นนักฟิสิกส์;นักศึกษาสาขาฟิสิกส์;นักฟิสิกส์ไทย
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The research aimed; to analyzing the meanings given of a qualified physicist and causal influencing qualified physicist of physics students in Thailand. Conduct research using a mixed research method. In the first phase use a qualitative study to understand a physicist and the factors enhancing towards qualified physicist. using key informant interview with the semi-structured questions. The key informants were 24 persons: 7 physics lecturers, 6 physicists, 7 physics teachers, and 4 physics laboratory personnel. The study revealed that qualified physicist is attribute appeared study behavior natural phenomena, and ability create knowledge in physics through scientific processes morally and ethically under the identity of a person with a good attitude towards physics according models of physicists, both theoretical physicists and experimental physicists. The factors enhancing towards qualified physicist are classified into 2 factors 1) the internal factors including (1) good attitude towards physics and (2) experiences in Sciences and Mathematics; and 2) the external factors including (1) high school physics teacher support, (2) Physics lecturers’ role, (3) model in teaching and learning physics, (4) opportunities in Physics academic, and (5) the characteristics of a role model in physics. The second phase of the quantitative study was purpose of this study was to causal factor affecting of Qualified Physicist of physics students in Thailand. The samples were 700 junior-senior, physics students. In this research, there were a total of 837 online respondents, divided into 417 education and 420 science students. Data was collected using an questionnaire which consisted of 3 parts: general information, Qualified Physicist, and the factors that influenced Qualified Physicist. Path analysis of the structural equation model using PLS-SEM. The results show that 11 paths were statistically significant. There are 5 factors has a positive influence on the Qualified Physicist statistically significant at the level of .01 were: Good attitude towards physics, Experiences in Sciences and Mathematics, Opportunities in Physics academic, Model in teaching and learning physics. and the characteristics of a role model in physics. The results of the Importance-performance matrix analysis has found that > .15 and > 70% for all 6 factors, except the characteristics of a role model in physics.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การให้ความหมายความเป็นนักฟิสิกส์ และศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อความเป็นนักฟิสิกส์ของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี โดยในระยะแรกใช้การศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทำความเข้าใจความเป็นนักฟิสิกส์ และปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักฟิสิกส์ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในสาขาฟิสิกส์ จำนวน 7 คน นักฟิสิกส์หรือนักวิจัยด้านฟิสิกส์ จำนวน 6 คน ครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ 7 คน และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ 4 คน รวมจำนวน 24 คน ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นนักฟิสิกส์ คือ คุณลักษณะที่แสดงออกถึงพฤติกรรมในการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้ตัวตนของบุคคลที่มีเจตคติที่ดีต่อศาสตร์ทางฟิสิกส์ตามรูปแบบนักฟิสิกส์ทั้งนักฟิสิกส์ทฤษฎี และนักฟิสิกส์ปฏิบัติ และปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักฟิสิกส์ของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายในบุคคล ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ (1) เจตคติที่ดีต่อวิชาฟิสิกส์ (2) ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 2) ปัจจัยภายนอกบุคคล ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ (1) การสนับสนุนของครูฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (2) บทบาทหน้าที่อาจารย์ฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัย (3) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนฟิสิกส์ (4) โอกาสทางวิชาการด้านฟิสิกส์ และ (5) ลักษณะของบุคคลต้นแบบด้านฟิสิกส์ ระยะที่สองใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเป็นนักฟิสิกส์ของนักศึกษาสาขาฟิสิกส์ในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาฟิสิกส์ทั้งหลักสูตรด้านศึกษาศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 700 คน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์มาทั้งหมด 837 คน แบ่งเป็นด้านศึกษาศาสตร์ 417 คน และด้านวิทยาศาสตร์ 420 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มี 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นนักฟิสิกส์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมความเป็นนักฟิสิกส์ ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของโมเดลสมการโครงสร้างด้วยวิธี PLS-SEM พบว่าสนับสนุนเส้นทางอิทธิพลที่กำหนด 11 เส้นทาง ซึ่งมี 5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเป็นนักฟิสิกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ปัจจัยด้านเจตคติที่ดีต่อวิชาฟิสิกส์ ด้านประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านโอกาสทางวิชาการด้านฟิสิกส์ ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนฟิสิกส์ และด้านลักษณะของบุคคลต้นแบบทางฟิสิกส์ ผลการวิเคราะห์ระดับความสำคัญ และระดับประสิทธิภาพพบว่ามีค่ามากกว่า .15 และมากกว่าร้อยละ 70 ทั้งหมด 6 ปัจจัย ยกเว้นปัจจัยลักษณะของบุคคลต้นแบบทางฟิสิกส์
รายละเอียด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา),2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17877
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6320120256.pdf10.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons