Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17873
Title: | แบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรครากขาวของยางพารา (Hevea brasilieansis) |
Other Titles: | Antagonistic Bacteria for Controlling White Root Rot Disease of Rubber (Hevea brasilieansis) |
Authors: | อัจฉรา เพ็งหนู ศุภรัตน์ สังข์ทอง Faculty of Natural Resources (Earth Science) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์ |
Keywords: | แบคทีเรียปฏิปักษ์;Rigidoporus microporus;การควบคุมโรคโดยชีววิธี;ยางพารา |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Soil born fungus, Rigidoporus microporus cause of white root rot disease is one of the important problems in rubber producing countries including Thailand. To decrease of fungicide use, therefore, it needs to prevent the disease by biological control. Bacillus species show broad-spectrum antimicrobial activity and have been widely used as agricultural biocontrol agents. This study aims to screen Bacillus spp. which were effective in inhibiting R. microporus. Selection of 44 isolates of antagonist bacteria, 3 isolates were able to inhibit R. microporus more than 51 percent viz B. subtilis isolate SM1, isolate LPDD3-2 and B. amyloliquefaciens isolate PT7. B. subtilis isolates SM1 are more effective against in inhibiting R. microporus than the antagonist bacteria. B. subtilis isolates SM1 can produce sterile and non-sterile of supernatant and volatile, antagonisitic substance and volatile compound of Isolate SM1 inhibited mycelial growth of R. microporus with the rate of 96.67, 63.33 and 50.00 percent respectively and soil amended and rubber limb inhibited mycelial growth of R. microporus with the rate of 28.57 percent of soil amended and 19.00 percent of rubber limb compared with untreated controls 100 percent of soil amended and rubber limb. Mycelial deforminity of R. microporus was observed by microscopy and SEM confirmed the pored and wrinkle mycelia. R. microporus causes the rubber tree to show signs of disease on the lower leaves, yellow leaves, the edges of the burn and convert to black color then decomposed with percentage disease of root 93.78 percent and aerial stem 77.78 percent. While using B. subtilis isolate SM1 can decrese the incidence of white root disease aerial stem and root 72.22 and 65.22, respectively. The rubber tree grows close to the one without white root fungus. The aerial stem remains normal green leaves, normal root and increased root volume. Soil nutrients tend to increase, phosphorus and potassium concentrations tend to be higher as well. B. subtilis isolate SM1 was effective in controlling white root disease in laboratory and green house. Therefore, it should be in formulation for controlling white root disease of rubber tree and reduce the use of chemicals. |
Abstract(Thai): | Rigidoporus microporus เป็นเชื้อราในดินที่ก่อให้เกิดโรครากขาวและเป็นปัญหาสำคัญของประเทศผู้ผลิตยางทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพื่อลดการใช้สารกำจัดราในดิน จึงจำเป็นต้องใช้การป้องกันกำจัดโรคโดยชีววิธี ซึ่งแบคทีเรีย Bacillus spp. เป็นแบคทีเรียที่สามารถควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการยับยั้งเชื้อรา R. microporus สาเหตุโรครากขาวของยางพารา ซึ่งจากการคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 44 ไอโซเลท มีแบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 3 ไอโซเลทที่สามารถยับยั้งเชื้อรา R. microporus ได้มากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย B. subtilis ไอโซเลท SM1 และ ไอโซเลท LPDD3-2 และ B. amyloliquefaciens ไอโซเลท PT7 โดยที่ B. subtilis ไอโซเลท SM1 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา R. microporus สูงกว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลทอื่นๆ สามารถสร้างสารปฏิปักษ์ที่ทนและไม่ทนความร้อน และสารระเหยออกมายับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. microporus บนอาหาร Potato dextrose agar (PDA) ได้สูงที่สุด (96.67, 63.33 และ 50.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) มีผลทำให้เส้นใยของเชื้อรา R. microporus มีลักษณะบิดเบี้ยวและกุดตัวลง เมื่อตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงธรรมดา ในขณะที่การตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เส้นใยเชื้อราถูกแทงทะลุอย่างชัดเจน ทำให้เส้นใยฝ่อ และเกิดรอยย่นบนพื้นผิว รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อราได้ดีเมื่อทดสอบบนชิ้นส่วนพืชและในดินผสม โดยเชื้อราสามารถเจริญได้ 28.57 เปอร์เซ็นต์ของท่อนยาง และ 19.00 เปอร์เซ็นต์ของความสูงดิน ตามลำดับ ขณะที่ชุดควบคุมเชื้อราสามารถเจริญเต็มท่อนยาง และในดินผสมได้ 100 เปอร์เซ็นต์ การใส่เชื้อรา R. microporus เพียงอย่างเดียว ทำให้ต้นยางแสดงอาการเกิดโรคที่ใบล่าง ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขอบใบไหม้ ทำให้รากมีสีดำ ฝ่อ และเปื่อยยุ่ย โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคในส่วนราก 93.78 เปอร์เซ็นต์ และส่วนเหนือดิน 77.78 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การราด B. subtilis ไอโซเลท SM1 สามารถลดการเกิดโรครากขาวในส่วนเหนือดินและรากได้ 72.22 และ 65.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ใกล้เคียงกับต้นที่ไม่ใส่เชื้อรารากขาว โดยส่วนเหนือดินยังคงปกติ ใบส่วนใหญ่มีสีเขียว รากส่วนใหญ่ยังคงปกติ และมีปริมาณรากเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสะสมธาตุอาหารในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเห็นได้ว่า B. subtilis ไอโซเลท SM1 เป็นแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรครากขาวได้ดีทั้งในห้องปฏิบัติการและสภาพโรงเรือนทดลอง จึงควรมีการศึกษาพัฒนาต่อเป็นชีวภัณฑ์เพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรครากขาวของยางพาราและลดการใช้สารเคมี |
Description: | วิทยานิพนธ์ ( วท.ม. (การจัดการทรัพยากรดิน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17873 |
Appears in Collections: | 542 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5910620012.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License