กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17870
ชื่อเรื่อง: | Social Media Travel Influencers: Strategic Insights and Impact on Domestic Travel Decision Making by Thai Millennials |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | อินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว: กลยุทธ์เชิงลึกและอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยกลุ่มมิลเลเนียล |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Assenov, Ilian Sutasinee Na Nakhon Faculty of Hospitality and Tourism (Hospitality and Tourism Management) คณะการบริการและการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว |
คำสำคัญ: | Travel Decision making;Electronic word of mouth;Millennials;Social media travel influencers;Source credibility |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | Prince of Songkla University |
บทคัดย่อ: | The prevalence of advanced technology has brought a new dynamic form of communication in several business sectors, including travel industry. People, especially millennials or Gen Y, increasingly utilize social platforms as an idea-sharing space. This generation apparently continues to lose interest in traditional advertising as influencer marketing is considered more effective for endorsement and can influence travel decision making. Therefore, this study’s purposes are (1) to analyze the importance of Thai SMTIs’ and their characteristics, such as source credibility, quality of content, and advertising disclosure on Thai millennials’ travel decision-making process, (2) to explore the Thai SMTIs’ interaction with their followers and organization of their organic content, and (3) to investigate the practices and strategies of Thai SMTIs in organizing their sponsored content and interaction with sponsors. The target population of this research consists of two groups: the first group was Thai millennials (birth year 1981-2000) and the second group was Thai social media travel influencers. Quantitative approach was applied by developing questionnaire survey to gather information from the side of Thai millennials. Qualitative approach was applied by conducting semi-structured interviews to investigate in-depth information on the side of Thai SMTIs. The actual sample size for Thai tourist participated was 436 respondents and 21 Thai SMTIs were interviewed. The findings indicate that Thai millennials tend to rely on the comments or reviews from social media travel influencers/bloggers (80.2%) as the primary information source; nevertheless, the most influential person when it came to travel decision making, unsurprisingly, was family and friends. The most popular platforms that this generation uses are Facebook and YouTube. Thai millennials’ attitudes on Thai SMTIs, regardless of gender, age or level of education, are found to be positive as these endorsers are perceived as credible and reliable. The respondents place significantly high level of positive engagement in content that is useful and interesting to them even when the content includes sponsorship. The second set of data derived from interviews found that the tactics that SMTIs utilize when creating a sponsored post include posting time, number of product photos, tie-in strategy, useful and interesting content, and avoiding explicit advertising words. The product or service they presented should be relevant to their identity. Most of the participants also remarked the important characteristics of SMTIs which consist of passion on travel, authenticity, photography skills, and communication skills. This study recommends that SMTIs should exhibit transparency and authenticity which are the vital attributes when millennials decide to follow an influencer. Each influencer has their own uniqueness; therefore, the marketers should understand SMTIs’ characteristics and make sure they fit the product or service. The marketers also should allow content creators to freely produce the content so that they can unveil their creativity as they want and enjoy. |
Abstract(Thai): | ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ในธุรกิจ ต่าง ๆ รวมทั้งการท่องเที่ยว ปัจจุบันผู้คนใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแบ่งปันข้อมูลและความคิดเห็นกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกลุ่มคนมิลเลนเนียล ผู้คนกลุ่มนี้ให้ความสนใจกับโฆษณาแบบดั้งเดิมน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์หรือผู้นำทางความคิดในการโฆษณาสินค้าหรือบริการมีประสิทธิผลมากกว่าการตลาดแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสำคัญของอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยวและคุณลักษณะเฉพาะ เช่น ความน่าเชื่อถือ คุณภาพของเนื้อหา และการเปิดเผยโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยกลุ่มมิลเลนเนียล (2) สำรวจการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบของอินฟลูเอนเซอร์กับผู้ติดตามและหลักการจัดการเนื้อหาของโพสต์ที่ไม่มีโฆษณาแฝง (3) ศึกษาขั้นตอนและกลยุทธ์ที่อินฟลูเอนเซอร์ใช้ในการจัดการเนื้อหาของโพสต์ที่มีสปอนเซอร์ร่วมด้วย กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มแรก คือ คนไทยกลุ่มมิลเลนเนียล ผู้ซึ่งเกิดระหว่างปี 2524 ถึง 2543 และกลุ่มที่สอง คือ อินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม ได้แก่ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากคนไทยกลุ่มมิลเลนเนียลและการสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกจากอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว ตามลำดับ มีจำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 436 คน และจำนวนของผู้ให้สัมภาษณ์มีทั้งหมด 21 คน ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 80.2 ของคนไทยกลุ่มมิลเลนเนียลมีแนวโน้มที่จะใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นหรือการรีวิวของอินฟลูเอนเซอร์หรือบล็อกเกอร์สายท่องเที่ยว เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการการค้นหาแหล่งท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของคนกลุ่มมิลเลนเนียล คือ ครอบครัวและเพื่อน อีกทั้งโซเชียลมีเดียที่คนไทยกลุ่มมิลเลนเนียลนิยมใช้มากที่สุดสองอันดับแรก ได้แก่ เฟสบุ๊กและยูทูบ สำหรับทัศนคติของคนไทยกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่ออินฟลูเอนเซอร์นั้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ และระดับการศึกษาของคนกลุ่มมิลเลนเนียล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกกับอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว เนื่องจากพวกเขารับรู้ถึงความน่าเชื่อถือในการนำเสนอคอนเทนท์ของอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสนใจกับโพสต์ที่มีเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อผู้ติดตามอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะมีโฆษณาร่วมอยู่ด้วย นอกจากนี้ ผลการศึกษาชุดที่สองที่ได้จากการสัมภาษณ์ พบว่า กลยุทธ์หลักที่อินฟลูเอนเซอร์ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาที่มีสปอนเซอร์ ได้แก่ เวลาที่โพสต์ จำนวนของภาพสินค้า กลยุทธ์โฆษณาแฝง มีเนื้อหาที่น่าสนใจและให้ประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการใช้คำโฆษณาแบบเปิดเผยชัดเจนเกินไป ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ ชี้ว่าสินค้าและบริการที่โฆษณาควรมีความสอดคล้องกับตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากนี้ คุณสมบัติของการเป็นอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยวควรประกอบไปด้วย ความหลงใหลในการเดินทาง ความจริงใจ มีทักษะการถ่ายภาพหรือวิดีโอ และทักษะการสื่อสารที่ดี การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้อินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยวควรแสดงความโปร่งใสและความจริงใจต่อผู้ติดตาม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กระตุ้นให้คนกลุ่มมิลเลนเนียลตัดสินใจกดติดตามเพจของอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากนี้ เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นนักการตลาดควรศึกษาและเข้าใจคุณลักษณะเฉพาะของอินฟลูเอนเซอร์เพื่อให้สินค้าหรือบริการตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง และนักการตลาดควรให้อิสระแก่ผู้สร้างคอนเทนท์ในการผลิตเนื้อหา เพื่อให้พวกเขาสามารถแสดงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ |
รายละเอียด: | Thesis (M.B.A., Hospitality and Tourism Management)--Prince of Songkla University, 2022 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17870 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 816 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6330121002.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License