กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17864
ชื่อเรื่อง: สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: State, Problems, and Guidelines for the Development of Religious Academic Affairs Administration of Islamic Private Schools in Pattani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิเลาะ แวอุเซ็ง
มูฮัมมัดฮาวารี อูซิน
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ;ฝ่ายวิชาการศาสนา;โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this research were 1) to study the conditions of academic administration of religious academic division in private Islamic schools, Pattani Province, 2) to compare the conditions of academic administration of the religious academic division in Islamic private schools in Pattani Province based on gender, work experience, and school size, 3) to study the problems of academic ad ministration of the religious academic division in private Islamic schools, and 4) to study the guidelines for the development of academic administration of the religious academic division in private Islamic schools, Pattani Province. The data were collect ed by using a questionnaire from the population of 34 private Islamic schools in Pattani Province. The statistics used to analyze the data obtained from the questionnaire were percentage, mean, standard deviation (SD), Ttest (Tvalue), and the Ftest (Fv alue). In addition, the data were collected by interviewing target groups of 6 people who are administrators of private Islamic schools under the Office of the Private Education, Pattani Province. And later, the data were analyzed using content analysis. T he results revealed that 1) Conditions of academic administration of religious academic division in Islamic private schools in Pattani Province for general and for each aspect are at a high level. 2) It is found that there is no difference between gender, work experience, and school size of academic administration of religious division in Islamic private schools, Pattani Province. 3) Problems in the academic administration of religious division in private Islamic schools in Pattani Province were found that the frequency of problems with the most concerning the curriculum was that the religious division lacked experts in the curriculum. Regarding the learning process, there was a lack of teaching supervision. In terms of teaching materials, it is rarely promoted in the use of diverse teaching materials. And, in terms of measurement and assessment, the religious academic division lacks knowledge in creating measurement and assessment tools. 4) Guidelines for the development of academic administration of ous academic division in private Islamic schools in Pattani Province found that the curriculum should be integrated between the Islamic curriculum and the academic curriculum. Besides, religious teachers should be encouraged to use a variety of techniques in conducting the learning process as well as to use media to aid in teaching and learning. Meanwhile, training and workshops to build knowledge and understanding for media use and the designing of teaching materials are encouraged to be conducted. In addition, a meeting should be held to plan the assessment criteria, and there should be continuous supervision for monitoring measurements and assessments.
Abstract(Thai): การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของ ฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพ การบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงาน วิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี และ 4) เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี จำนวน 34 โรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที และค่าการทดสอบเอฟ และเก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงาน การศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 6 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาใน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และ ขนาดโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาการบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี พบว่า ความถี่ของปัญหาที่มากที่สุดด้านหลักสูตร คือ ฝ่ายวิชาการ ศาสนาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนรู้ คือ ขาดการนิเทศการสอน ด้านสื่อการ เรียนการสอน คือ ไม่ค่อยส่งเสริมในการใช้สื่อ และด้านการวัดผลและการประเมินผล คือ ฝ่ายวิชาการ ศาสนาขาดความรู้ในการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของฝ่ายวิชาการศาสนาในโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี พบว่า ควรบูรณาการหลักสูตรระหว่างหลักสูตรอิสลามกับ หลักสูตรสามัญ ควรส่งเสริมให้ครูสอนศาสนาใช้เทคนิคที่หลากหลายในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ครูสอนศาสนาใช้สื่อเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้สื่อและการสร้างสื่อการสอน ควรมีการประชุมเพื่อวางแผนกำหนด เกณฑ์การประเมิน และควรมีการนิเทศ ติดตามกา รวัดผลและการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17864
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:761 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6220420110.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons