Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17858
Title: | Addressing Learners’ Attitudes toward English Language Variation through a Global Englishes Awareness Raising Program |
Other Titles: | การศึกษาทัศนคติของผู้เรียนต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษผ่านโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลก |
Authors: | Adisa Teo Naratip Jindapitak Faculty of Liberal Arts (Languages and Linguistics) คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ |
Keywords: | Attitudes;Global Englishes;English language Study and teaching |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | Recently, research on language attitudes has seen increasing interest in the role of English as a global lingua franca. One aspect of this topic is examining how English language variation is perceived in relation to the paradigm of global Englishes (GE) which recognizes the legitimacy of varieties of English and challenges prevailing assumptions regarding how English should be learned and taught. GE highlights the pluricentricity of English, offering new possibilities for English language teaching (ELT) to incorporate components addressing linguistic diversity into classroom practices and to seek ways to improve language learners’ attitudes toward English language variation. The current study aimed to examine not only English language learners’ attitudes toward English language variation, but also how their attitudes could be mediated through engagement with GE components. The study began by uncovering a group of English learners’ attitudes toward English language variation. A nine-week intervention program of GE awareness raising was developed, consisting of three inter-related modules aimed at exposing the learners to different varieties of English and getting them to experience GE perspectives through carefully designed materials. The study then examined impacts of the learners’ engagement with GE on their attitudes. In the survey, attitudes of 305 university English learners (non-English majors) from a public university in the South of Thailand were examined to find out how they implicitly and explicitly perceived English language variation. Data were collected through the verbal guise technique and questionnaire and were analyzed both quantitatively and qualitatively. Findings revealed a large significant effect in the participants’ evaluations of the eight speakers. Implicitly, the speakers of the two mainstream native-speaker (NS) varieties (American and British English) were evaluated more favorably than the other speakers of non-native-speaker (NNS) varieties (Thai, Filipino, Chinese, Malaysian, Korean and Indian). The participants’ explicit attitudes toward English language variation were found to be consistent with the implicit ones, as they tended to adhere to the notion of NS superiority and NNS inferiority in linguistics, reflected in how they viewed English language variation in relation to language use, learning and teaching. The study sought to mediate the participants’ attitudes by conducting the GE awareness raising program with 22 participants sampled from those participating in the survey, and examining how it impacted on their attitudes. Data were collected from researcher’s notes, mobile messages, interviews and reflections and were analyzed qualitatively to gain an understanding of the participants’ development of GE awareness during the program and their perceptions of the way English should be learned and used after completing the program. Findings revealed that participants developed more awareness and understanding of key concepts surrounding GE over the course of the program, demonstrating a critical reorientation of beliefs about English language variation in general. The GE awareness raising program was also found to have positive impacts on the participants’ perceptions of how English should be learned and used. They reportedly gained more self-confidence as an English speaker and developed respectful attitudes toward English varieties and speakers. Another important influence is that their stated goal in learning English became more purposeful and realistic. Finally, another positive impact is that the program allowed the participants to rethink about role-model in language learning and use. Implications are provided that highlight shifting perspectives in curriculum planning, including revisiting learners’ needs and formulating learning goals and objectives consistent with how they are likely to use English to communicate with wider interlocutors. Concerning classroom practices, the study suggests that it be crucial for ELT educators to seek opportunities to engage language learners in impactful instructional activities which can foster a pluralistic vision of English. The study also provides the following suggestions for future research: implementing GE ideas in ELT practices, investigating the effects of a GE awareness raising in other contexts and developing robust and compelling methodological designs. |
Abstract(Thai): | ปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติต่อภาษาอังกฤษ ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาโลก โดยหนึ่งในประเด็นที่ศึกษาคือทัศนคติต่อวิธภาษาในภาษาอังกฤษ ภายใต้กระบวนทัศน์นานาภาษาอังกฤษโลก ซึ่งยอมรับความชอบธรรมของวิธภาษาในภาษาอังกฤษ และท้าทายสมมติฐานที่แพร่หลายเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ กระบวนทัศน์นานาภาษาอังกฤษโลก ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นพหุนิยมของภาษาอังกฤษ และนำเสนอความเป็นไปใด้ใหม่ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งสอดแทรกประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับความหลากหลายของภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน เพื่อจุดประสงค์ในการปรับทัศนคติของผู้เรียนต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เรียนต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลกต่อทัศนคติของผู้เรียน โดยผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลก ที่ประกอบด้วยชุดการเรียนรู้ย่อยจำนวน 3 ชุด ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับความหลากหลายของภาษาอังกฤษ และมุมมองต่อภาษาอังกฤษภายใต้กระบวนทัศน์นานาภาษาอังกฤษโลก ผ่านสื่อการเรียนการสอน เป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ ผู้วิจัยสำรวจทัศนคติแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยของนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอก จำนวน 305 คน จากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในภาคใต้ ต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษ โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและใช้กลวิธีพรางเสียงคำพูดในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักศึกษามีทัศนคติแบบไม่เปิดเผยต่อผู้พูดที่ใช้สำเนียงอเมริกันและอังกฤษ ดีกว่าผู้พูดอื่น ที่ใช้สำเนียงไทย ฟิลิปปินส์ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย ผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ได้จากการสำรวจทัศนคติแบบเปิดเผยของนักศึกษา โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแสดงถึงมโนทัศน์ที่บ่งบอกถึงความเหนือกว่าของผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาและความด้อยกว่าของผู้พูดที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาในประเด็นเกี่ยวกับความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นักศึกษาจำนวน 22 คน ได้เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลก โดยผู้วิจัยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างนี้ จากผู้เข้าร่วมวิจัยเชิงสำรวจจำนวน 305 คน ผู้วิจัยศึกษาทัศนคติของนักศึกษาอันเป็นผลมาจากการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกภาคสนามของตัวผู้วิจัยเอง ข้อความของนักศึกษาจากโปรแกรมสนทนาออนไลน์ การสัมภาษณ์ และ การสะท้อนคิดของนักศึกษา ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพัฒนาการด้านความตระหนักรู้ของนักศึกษาระหว่างเข้าร่วมโปรแกรม ตลอดจนศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้และการเรียนภาษาอังกฤษ ภายหลังจากจบการเข้าร่วมโปรแกรม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระหว่างเข้าร่วมโปรแกรม นักศึกษามีความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลกเพิ่มมากขึ้น โดยนักศึกษามีการปรับปรุงมุมมองต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และยังได้สะท้อนคิดจากการเข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าว โดยรายงานว่า ตนมีความมั่นใจมากขึ้นในฐานะผู้ใช้ภาษาอังกฤษ พัฒนาทัศนคติที่แสดงความเคารพต่อความหลากหลายของภาษาอังกฤษรวมถึงผู้พูดภาษาอังกฤษ มีเป้าหมายการเรียนภาษาอังกฤษโดยมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนและเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนพิจารณาทบทวนต้นแบบสำหรับการใช้และการเรียนภาษาอังกฤษของตนเอง จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน การกำหนดเป้าหมายและจุดประสงค์ของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับการใช้ภาษาในชีวิตจริงของผู้เรียน ซึ่งเน้นการสื่อสารกับผู้พูดที่มาจากหลากหลายประเทศและวัฒนธรรม ผู้วิจัยนำเสนอข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้และเข้าใจมุมมองภาษาอังกฤษแบบพหุนิยม นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เสนอแนะประเด็นสำหรับงานวิจัยในอนาคต ทั้งการประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับนานาภาษาอังกฤษโลกในชั้นเรียน การศึกษาผลของการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับนานาภาษอังกฤษโลกในบริบทอื่น และ การออกแบบการวิจัยที่เข้มข้นและน่าสนใจ |
Description: | Ph.D. (Teaching English as an International Language), 2022 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17858 |
Appears in Collections: | 890 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6011130001.pdf | Doctoral thesis | 17.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License