Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17789
Title: | การออกแบบคอลัมน์ดูดซับ เพื่อบำบัดสาร VOC ในอากาศ ในอุตสาหกรรมเคลือบผิว |
Authors: | ชญานุช แสงวิเชียร ผกามาศ เจษฎ์พัฒนานนท์ Faculty of Engineering Chemical Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
Keywords: | สารระเหยอินทรีย์;โทลูอีน;ถ่านกัมมันต์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | In order to study the removal of volatile organic compounds, the activated carbon adsorption column was conducted in this project. The toluene was selected as a volatile organic compound, and granular activated carbon was used as an adsorbent. The influence of process variables: flow rate of contaminate gas and bed height were investigated in this study. These factors were considered to analyze removal efficiency and can lead to understand in scale-up for adsorption process. The experiments were set to study the impact of contaminate gas flow rate and bed height of the activated carbon adsorption column. The designed column is 5 cm diameter and 30 cm height. The contaminate gas concentration was 850-1000 ppm. The experiments were categorized into two parts; the first part was fixed 20 cm bed height and the flow rate of contaminate gas were from 5, 10 to 20 L/min. It was found that the higher inlet flow rate of contaminate gas, lower removal efficiency for toluene contaminate gas. The second part of experiment, the inlet flow rate of contaminate gas was fixed at 10 L/min and the bed height were varied as 15 and 25 cm. The result was shown that the higher bed height gives higher removal efficiency. Moreover, the data of this project were taken to design the scaling up adsorption column. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษากระบวนการบำบัดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศด้วยวิธีการดูคซับในระบบคอลัมน์ โดยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่เลือกใช้ในการทดลองนี้ คือ โทลูอีน ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมสี และตัวดูดซับที่เลือกใช้ คือ ถ่านกัมมันต์ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้จะศึกษาผลของอัตราการไหลของสารป้อนและความสูงของเบดจากกระบวนการดูดซับไอระเหยโทลูอีนในคอลัมน์ดูคซับที่ออกแบบไว้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดูคซับและนำผลที่ได้จากการทดลองนี้ ไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาด้านการขยายขนาดของชุดเครื่องมือทคลองต่อไป ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็นสองชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่หนึ่งเป็นการศึกษาผลของการแปรอัตราการไหลของสารป้อนที่ปนเปื้อนด้วยไอระเหยของโทลูอีนในช่วงความเข้มข้น 850-1000 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งคอลัมน์ดูดซับที่ใช้ทำการทดลองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ภายในบรรจุด้วยถ่านกัมมันต์สูง 20 เซนติเมตร โดยอัตราการไหลของสารป้อนที่ทำการศึกษา คือ 5, 10 และ 20 ลิตรต่อนาที จากผลการทดลองพบว่า ที่อัตราการไหลของสารป้อนสูงๆ ประสิทธิภาพของการดูดซับลดลง และอัตราการไหลของสารป้อนที่ต่างค่ากันจะมีผลต่อเวลาในการอิ่มตัวของตัวดูดซับด้วยเช่นกัน ส่วนชุดการทดลองที่สองเป็นการศึกษาผลของการแปรความสูงของเบด ซึ่งคอลัมน์ดูดซับที่ใช้ทำการทดลองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร มีสารป้อนที่ปนเปื้อนด้วยไอระเหยของโทลูอีนในช่วงความเข้มข้น 850-1000 ส่วนในล้านส่วน ถูกป้อนเข้าสู่คอลัมน์ดูดซับด้วยอัตราการไหลของสารป้อน 10 ลิตรต่อนาที และศึกษาความสูงของเบคที่ 15 และ 25 เซนติเมตร จากผลการทดลองพบว่า ความสูงของเบดที่แตกต่างกัน มีผลต่อเวลาการอิ่มตัวของตัวดูดซับต่างกัน กล่าวคือ เมื่อความสูงของเบดเพิ่มขึ้นถ่านกัมมันต์จะมีเวลาในการอิ่มตัวช้ากว่า ส่งผลทำให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดไอระเหยโทลูอีนได้ดีกว่า ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการขยายขนาดสเกลของคอลัมน์ดูดซับต่อไปได้ |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17789 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/217731 |
Appears in Collections: | 230 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.