Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17770
Title: การใช้ใบสั่งกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง
Other Titles: Physical Activity Prescription for Patients with Non-Communicable Diseases at Sikao Hospital, Trang Province
Authors: พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
กรณ์ษิรสิทธิ์ สุขขี
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
Keywords: ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การรักษาด้วยการออกกำลังกาย
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This randomized contrelled experimental research aimed to study effects of using a physical activity prescription for patients with non-communicable diseases at Sikao Hospital, Trang province. The population in the study comprised patients with hypertension, patients with type 2 diabetes and patients with high blood glucose, totally 776 persons. The sample was selected through inclusion and exclusion criteria The sample consisted of 315 persons. A simple random sampling technique was used to divide the sample into 3 groups, 105 persons/group, namely, group 1 (Control group) did not receive a physical activity prescription; group 2 received a physical activity prescription without a follow-up, and group 3 received a physical activity prescription with a weekly follow-up. Data were collected using a self-report physical activity record for 28 weeks during April 2019 to January 2020. When the experiment was finished, the sample of 183 persons disappeared from all of the 3 groups and the sample of 134 persons remained which coutd be broken down into group 1 = 45 persons; group 2 = 48 persons; group 3 = 41 persons. Descriptive statistics, i. e frequency, mean, percentage, were used for an analysis and inferential statistics, l.e. t test and One-Way ANOVA, were used to compare the difference between the means of physical activity duration. The findings from the study revealed as follows: 1) The use of the physical activity prescription enabled patients to have more physical activity with statistical significance (P<0.01). Namely, the sample in the group 2 that received the physical activity prescription without a follow-up had an increase of a moderate level of physical activity averagely 21,78 minutes per week and the sample in the group 3 that received the physical activity prescription with a weekly follow-up had an increase of a moderate level of physical activity averagely 48.93 minutes per week. 2) The use of the physical activity prescription would give a better effect with statistical significance (P<0.01) when a follow-up was available. The follow-up affected patients to have more physical activity than without the follow-up, 27.15 minutes per week. 3) The use of the physical activity prescription enabled patients to get more physical activity but not sufficient. The sample in the group 2 that received the physical activity prescription without a follow-up had a moderate level of physical activity averagely 81.05 minutes per week and the sample in the group 3 that received the physical activity prescription with a weekly follow-up had a moderate level of physical activity averagely 104.54 minutes per week. The suggestion from the study was to enable a physical activity prescription to affect patients to have sufficient physical activity, physicians who make an order or write a physical activity prescription should emphasize patients to strictly do physical activities, increase patient awareness of benefits of doing physical activities, and improve a model of follow-up and a tool used to record physical activities to be easier for using so that patients can know their levels of physical activities in each week. Besides, environmental support should be added such as creating a role model person who has sufficient physical activities, gathering a group of physical activities, or asking family members to help stimulate physical activities.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ใบสั่ง กิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคไขมันในเลือดสูงจำนวน 776 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการกำหนดเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด 315 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 105 คนได้แก่ กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) ไม่ได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกาย กลุ่มที่ 2 ได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้รับการติดตามการปฏิบัติตามใบสั่งกิจกรรมทางกาย และกลุ่มที่ 3 ได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกายที่ได้รับการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมทางกายทุกสัปดาห์ เก็บข้อมูลระยะเวลาการปฏิบัติกิจกรรมทางกายตามใบสั่งด้วยแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมทางกายด้วยตนเอง ระยะเวลา 28 สัปดาห์ ระหว่างเดือนเมษายน 2562 ถึง มกราคม 2563 เมื่อสิ้นสุดการทดลองมีกลุ่มตัวอย่างตกออกจากทั้ง 3 กลุ่มจำนวน 183 คน คงเหลือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสิ้น 134 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1จำนวน 45 คน กลุ่มที่ 2 จำนวน 48 คน และกลุ่มที่ 3 จำนวน 41 คน การวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ One Way ANOVA ในการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระยะเวลาการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ผลการศึกษา พบว่า 1. การใช้ใบสั่งกิจกรรมทางกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) คือ กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้รับการติดตามการปฏิบัติตามใบสั่งกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 21.78 นาทีต่อสัปดาห์ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกายที่ได้รับการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมทางกายทุกสัปดาห์ มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 48.93 นาทีต่อ สัปดาห์ 2. การใช้ใบสั่งกิจกรรมทางกายจะได้ผลดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) เมื่อมีการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ซึ่งการติดตามมีผลทำให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นมากกว่าไม่มีการติดตาม 27.15 นาทีต่อสัปดาห์ 3. การใช้ใบสั่งกิจกรรมทางกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นแต่ยัง ไม่สามารถทำให้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ซึ่งกลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้รับการติดตามการปฏิบัติตามใบสั่งกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางเฉลี่ย 81.05 นาทีต่อสัปดาห์ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้รับใบสั่งกิจกรรมทางกายที่ได้รับการ ติดตามการปฏิบัติกิจกรรมทางกายทุกสัปดาห์ มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางเฉลี่ย 104.54 นาทีต่อสัปดาห์ ข้อเสนอแนะ การใช้ใบสั่งกิจกรรมทางกายให้มีผลทำให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอแพทย์ผู้ออกคำสั่งและเขียนใบสั่งกิจกรรมทางกาย ควรจะเน้นย้ำให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรมทางกายอย่างเข้มงวด และเพิ่มการรับรู้ประโยชน์ของการมีกิจกรรมทางกายให้กับผู้ป่วย ปรับปรุงรูปแบบการ ติดตาม และเครื่องมือบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมทางกายใช้งานได้ง่ายขึ้นให้ผู้ป่วยสามารถทราบระดับ กิจกรรมทางกายของตนเองในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้ควรเพิ่มแรงสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม เช่นการสร้างแบบอย่างบุคคลที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ การรวมกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมทางกาย หรือให้บุคคลในครอบครัวช่วยกันกระตุ้นการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17770
Appears in Collections:148 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
446726.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons