Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17757
Title: | การประเมินมูลค่าบริการทางระบบนิเวศและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของสวนยางพาราเชิงเดี่ยวและสวนยางพาราวนเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง |
Authors: | เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี นรันต์ ณัฏฐารมณ์ Faculty of Environmental Management (Environmental Management) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม |
Keywords: | ระบบวนเกษตร ไทย (ภาคใต้);นิเวศวิทยาเกษตร ไทย (ภาคใต้) |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objectives of this study are: 1) to study the pattern of monoculture and agroforestry rubber plantation in case studies, 2) to employ a cost-benefit analysis with ecosystem service values and compare between monoculture and agroforestry rubber plantations in the study areas, and 3) to propose guidelines for improving rubber plantation to be more sustainable in terms of economic and environment. The results showed that the monoculture and agroforestry rubber plantations generally contained similar patterns. However, there were differences in that the intercropping was grown or allowed in the space between the rubber rows in agroforestry plantation and farmers plan not to cut trees down to keep their plantations as a conservation area. It was found that the agroforestry rubber plantations can reduce costs, as well as providing higher benefits from ecosystem services than the monoculture plantations. The agroforestry plantations also yield higher NPV, BCR, and IRR than monoculture. The results recommend that the agroforestry should be promoted as a means to improve rubber plantation, with further study on intercropping plants suitability to reduce the impact of rubber plantation and increase economic and environmental benefits. Additionally, agroforestry must follow the Rubber Research Institute's guideline of management, as well as FSC management, which will move the plantations toward more economical and environmental sustainability. |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวและสวนยางพาราวนเกษตรที่เป็นกรณีศึกษา 2) ศึกษาต้นทุน ผลประโยชน์ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าบริการทางระบบนิเวศจากการทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวและสวนยางพาราวนเกษตร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงรูปแบบการทำสวนยางพาราที่มีความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ผ่านการศึกษาด้วยวิธีการเชิงบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์และ สังคมศาสตร์ ในพื้นที่สวนยางพาราเชิงเดี่ยวและสวนยางพาราวนเกษตรจำนวน 8 สวน ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และส่งขลา ผลการศึกษาพบว่า 1) ส่วนใหญ่สวนยางพาราเชิงเดี่ยวและสวนยางพาราวนเกษตรมีรูปแบบการทำสวนยางพาราใกล้เคียงกัน แต่มีความแตกต่างกันที่สวนยางพาราวนเกษตรมีการปลูกหรือปล่อย พืชร่วมบริเวณที่ว่างระหว่างแถวยางพารา และเกษตรกรวางแผนจะไม่โค่นล้มสวนยางพาราวนเกษตรเพื่อต้องการให้พื้นที่สวนของตนกลายเป็นพื้นที่ช่วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) การทำสวนยางพาราวน 'เกษตรมีส่วนช่วยลดต้นทุนในการทำสวนยางพารา ขณะเดียวกันสามารถให้ผลประโยชน์บริการทางระบบนิเวศที่สูงกว่าสวนยางพาราเชิงเดี่ยว และเมื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าการลงทุนพบว่า สวนยางพาราวนเกษตรมีมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ อัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุน และอัตราตอบแทนภายในโครงการสูงกว่าสวนยางพาราเชิงเดี่ยว 3) ควรปรับปรุงสวนยางพาราให้อยู่ในรูปแบบบวนเกษตร โดยต้องพิจารณาเลือกพรรณไม้เป็นพืชร่วมตามความเหมาะสมของพื้นที่เป็นหลัก เพื่อลดผลกระทบจากการทำสวนยางพาราและก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมขณะเดียวกันการทำสวนยางพาราวนเกษตรยังคงต้องมีการพัฒนารูปแบบให้ดียิ่งขึ้นตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง และพันฒนารูปแบบการทำสวนยางพาราให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของ FSC เพื่อที่สวนยางพาราวนเกษตรจะมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17757 |
Appears in Collections: | 820 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
446661.pdf | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License