กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17703
ชื่อเรื่อง: การฟื้นฟูศาลากลางหนเพื่อการท่องเที่ยวของคาบสมุทรสทิงพระ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Rehabilitation of Local Pavilion (Salaklanghon) for Tourism in Sathingphra Peninsula
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
กาญจน์ เพียรเจริญ
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สงขลา;วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว สงขลา
วันที่เผยแพร่: 2020
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research aimed to study the condition and cultural heritage values of the local pavilions (Salaklanghon) in Sathingphra Peninsula, as well as to analyze the connection to cultural tourism, which was able to lead to a reactivation management guidelines for enhancing the cultural tourism of Sathingphra Peninsula. This research was a qualitative and field survey research conducted during 2015 - 2019. The tools used in the research were surveys and field records, interviewing form, and brainstorming sessions. The samples in this research were customized by a specific sampling method. The research was conducted by Interviewing 399 people involved in the rehabilitation of the local pavilions (Salaklanghon), the groups included people involved in the construction, users, participants in planning to use the local pavilions (Salaklanghon) for the public benefit, academicians, developers in the Sathingphra Peninsula area and together with a group of authorized organizations, network partners, both in government and private sectors, who had played a role in the conservation and revitalization of the artistic environment. The results of the study could indicate 202 Salaklanghon's geographic location in the Sathingphra Peninsula mapping, the highest number of Salaklanghon was in Singhanakhon District, followed by Sathingphra District, Ranot District and Krasae Sin District respectively. Most of the Salaklanghon located along the roadside and seaside near Songkhla Lake and the Gulf of Thailand. Some located near canals, but most of the Salaklanghon condensed among the lower area of the Sathingphra Peninsula. • chrome://downloads Most of the Salaklanghon style was constructed with wooden materials. The mposition and external environment included empty space, big trees and ponds. There were five values of Salaklanghon, which were (1) Spiritual value, that all of which was built for the public benefit and jointly created by people in the community (2) Social and cultural values, in which all of them benefited the villagers and people in different communities. The Salaklanghon had been used as places of worship for rituals based on beliefs and traditions (3) Public utility values, which all had been used as public areas that all local people have the right to use. The places could be used to gather people in the community for public activities (4) Aesthetics and environment values, with a spatial relationship between the interior and exterior, as well as in accordance with the terrain and climate, so those linked the characteristics to the natural environment, and (5) The mechanic wisdom value, of which the characteristics consistent with the locality and the inheritance of craftsmanship. Salaklanghon could also link to cultural tourism values in the Sathingphra Peninsula, the values consisted of (1) The valuable 26 potential cultural and artistic Salaklanghon (2) 40 Salaklanghon which connected the cultural tourism routes of the Sathingphra Peninsula (3) 11 Salaklanghon which linked to the cultural tourism sites in the Sathingphra Peninsula. Those could be classified as 2 cultural pilot tourism routes, which were (1) The route of the outstanding spiritual values Salaklanghon, those consisted of 15 Salaklanghon and (2) A route of outstanding artistic architectural wisdom Salaklanghon, consisted of 16 Salaklanghon. The results of the study about values and potentials those connected cultural tourism of the sample Salaklanghon and the pilot cultural tourism routes, were taken to an analyzing together with brainstorming sessions with villagers, community leaders, architects who were experts in architecture and academicians in the conservation of vernacular architecture in search and formulation of restoration issues which could be summarized as 3 issues; (1) The physical characteristics of the Salaklanghon, the management matters, and the utilization activities, which could be summarized as a guideline for the reconstruction of the Salaklanghon for the cultural tourism in the Sathingphra Peninsula, those were; (1) Determining the scope of the study, data collecting and data analysis (2) The physical restoration of the Salaklanghon and (3) The management guidelines for cultural tourism activities. The recommendations from this research led to the organizing of tourism activities for the use of the Salaklanghon and revitalization of existing values with cultural tourism routes and tourism development with the local community towards the sustainable participation.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและระบุคุณค่าทางมรดกทางวัฒนธรรม ของศาลากลางหนในคาบะ รสทิงพระ ตลอดจนวิเคราะห์การเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดการฟื้นฟูศาลากลางหนเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของคาบสมุทรสทิงพระการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและสำรวจภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2558-2562 โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสำรวจและบันทึกภาคสนาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมระดมสมอง ส่วนประชากรกลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเลือกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแบบเจาะจง สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูศาลากลางหน รวม 399 คน ทั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนใช้ศาลากลางหนเพื่อสาธารณประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ นักพัฒนาในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ และกลุ่มหน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางศิลปกรรม ผลการศึกษาทำให้ระบุพิกัดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของศาลากลางหนในแผนที่ คาบสมุทรสทิงพระได้รวม 202 หลัง โดยพบว่าศาลากลางหนมีมากที่สุดในอำเภอสิงหนคร รองลงมา คืออำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด และน้อยที่สุดในอำเภอกระแสสินธุ์ ที่ตั้งของศาลากลางหนเรียงตัวไปตามเส้นทางสัญจรทั้งริมทางบก ริมทะเลสาบสงขลา ริมทะเลอ่าวไทย และริมคลอง ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ทางตอนล่างของคาบสมุทรสทิงพระ ลักษณะของศาลากลางหนเป็นศาลาพื้นถิ่นที่ก่อสร้างด้วยโครงสร้างไม้ มีบริเวณและสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นที่ว่าง มีต้นไม้ใหญ่ บ่อน้ำ สระหรือตระพัง ศาลากลางหนในคาบสมุทรสทิงพระมีคุณค่า 5 ด้าน คือ (1) คุณค่าทางจิตใจ โดยทุกหลังสร้างขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์และร่วมกันสร้างโดยผู้คนในชุมชน (2) คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมโดยทุกหลังได้ใช้ประโยชน์จากครอบครัวของผู้สร้าง ชาวบ้านและผู้คนต่างชุมชน และใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและประเพณี (3) คุณค่าทางการใช้สอยของสาธารณชน โดยทุกหลังใช้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการเข้าไปใช้ประโยชน์ และใช้เป็นที่รวมผู้คนใน ชุมชนเพื่อกิจกรรมส่วนรวม (4) คุณค่าทางด้านสุนทรียภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีลักษณะสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ว่างระหว่างภายในและภายนอก สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ และมีลักษณะเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และ (5) คุณค่าทางด้านภูมิปัญญาเชิงช่าง โดยมี ลักษณะสอดคล้องกับท้องถิ่นและมีการสืบทอดทางงานช่าง ทั้งนี้ศาลากลางหนที่มีการเชื่อมโยงสู่การ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในคาบสมุทรสทิงพระประกอบด้วย (1) ศาลากลางหนที่มีศักยภาพด้านทรัพยากรทางศิลปวัฒนธรรม จำนวน 26 หลัง (2) ศาลากลางหนที่เชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมของคาบสมุทรสทิงพระจำนวน 40 หลัง และ (3) ศาลากลางหนที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของคาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 11 หลัง โดยนำมาจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนำร่องได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางกลุ่มศาลากลางหนที่มีคุณค่าทางจิตใจโดดเด่น ประกอบด้วยศาลาในเส้นทาง 15 หลัง และเส้นทางกลุ่มศาลากลางหนที่มีคุณค่าทางภูมิปัญญาเชิงช่างโดดเด่น ประกอบด้วยศาลาในเส้นทาง 16 หลัง ผลการศึกษาด้านสภาพ คุณค่าและศักยภาพที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ของกลุ่มศาลากลางหนตัวอย่าง และเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนำร่อง ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับการประชุมระดมสมองกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน สถาปนิกผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรม และ นักวิชาการด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ในการค้นหาและกำหนดประเด็นในการฟื้นฟูซึ่งสรุปได้ 3 ประเด็น คือ เรื่องลักษณะทางกายภาพของศาลากลางหน เรื่องการบริหารจัดการ และเรื่อง กิจกรรมการใช้ประโยชน์ โดยสามารถสรุปเป็นแนวทางการฟื้นฟูศาลากลางหนเพื่อการท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรมของคาบสมุทรสทิงพระได้คือ (1) การกำหนดขอบเขตการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (2) การฟื้นฟูด้านกายภาพของศาลากลางหน และ (3) การกำหนดแนวทางการ จัดการด้านกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยชิ้นนี้นำไปสู่การจัด กิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการใช้ศาลากลางหนและฟื้นฟูคุณค่าเดิมที่มีอยู่ด้วยเส้นทางการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมและการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17703
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:820 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
440690.pdf19.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons