Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17688
Title: | การประเมินศักยภาพและผลกระทบ จากการท่องเที่ยวต่ออุทยานแห่งชาติทางทะเล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รายงานส่วนที่ 1 : อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา จ.สตูล |
Authors: | อำพร วิริยโกศล Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
Keywords: | อุทยานแห่งชาติ;การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objectives of this study, "An Evaluation of Potential and Tourism Impact of Marine National Parks for Ecotourism Development", were to evaluate the tourism potentials and economic and social impacts, to evaluate the economic values in the Tarutao and Sirinath National Parks, to find the suitable form of ecotourism, and to find the guidelines for preventing social problems in order for the park development. This study was an explanatory research covering 4 sample groups, the tourists, the local people, the govemment officials, and the entrepreneurs. Data were collected from both the primary and secondary sources and analyzed through descriptive statistics. Principles and theories concerning ecotourism were used to analyze the social and economic potentials. Travel Cost Method (ICM) was used to analyze and evaluate the economic values of tourism. In the case of the Tarutao National Park, there were 4 groups of sample population covering altogether 624 persons, 104% of the planned samples. They consisted of 405 tourists of which were 293 Thai and 112 foreign tourists, 137 local pcople, 47 govemnment officials, and 35 entrepreneurs. The following results were found. Regarding the economic potentials, the Tarutuo National Park was found to gain high potential and have tourism activities which could be develop by following the principles of ecotourism. Four factors were considered :1) Natural tourism resources and activities which attract high satisfaction from Thai and foreign tourists. The local people, the entrepreneurs, and the goverment officials agreed that the Pak Bara Port, on the mainland coast, should be developed to increase the capacity for servicing larger number of tourists, 2) Concerning laws, rules and regulations, all four sample groups agreed that they must be effectively enforced, obeyed and assisted by all, 3) Regarding people participation in the economic aspects, it was accepted that the local cconomy was clearly improved through tourism, 4) Considering the joint- learing process, the tourists and the local people jointly learned about natural environment and historical places of interest. From the study of economic impacts, it was found that the Tarutao National Park had the tourism economic value of 78.2 million baht, which was highly significant to the economy of the local community. The average cost per trip for the foreign and Thai tourists was only 3}453.31 baht which was very low. The elasticity of travel cost to demand was also very low. Tourism generated high direct and indirect economic impacts on the conce med people. The travel cost could still be raised. From the survey, tourists were willing to pay more and assist the government officials to improve the facilites and develop the environment for better sustainability. Regarding the social potential, the Tarutao National Park had medium potential according to the following considerations: 1) Natural resources were unique and diversed which were positive factors, 2) Law, rule and regulation enforcement still found difficulties on some aspects, 3) Participation was still considered low. Local people participated in some laboring. The govemnment officials and entrepreneurs participated in implementation of the plans, 4) Joint-learning between sample groups through tourism were considered to be good. Considering the social impacts, the negative impacts of tourism on the Tarutao National Park were still small. There were some impacts on sample groups concerning garbage, deteriorating natural habitats, removing of stone and sea shells. There were problems concerning law enforcement and congestion. The problems did exist but level of the problems were still low and might be remedied through ecotourism. |
Abstract(Thai): | การวิจัยเรื่อง "การประเมินศักยภาพและผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่ออุทยานแห่งชาติทางทะเล เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและผลกระทบจากการท่องเที่ยงเชิงนิเวศด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาและสิรินาถ หารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสม และเพื่อหาแนวทางในการป้องกันปัญหาด้านสังคมในการพัฒนาอุทยานฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory Researcb) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ประกอบการ วิธีการวิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประมาณด้วยสถิติพรรณนา การนำแนวคิดและทฤษฎีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมาวิเคราะห์ศักยภาพและผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งนำการวิเคราะห์ต้นทุนการท่องเที่ยว (Travel Cost Method : TCM) มาใช้วิเคราะห์และประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวในอุทยานฯ ในกรณีของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา กลุ่มประชากรตัวอย่างมี 4 กลุ่ม มีจำนวนรวม 624 ราย คิดเป็น 104% ของจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้ กล่าวคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวรวม 405 ราย โดยจำแนกเป็นชาวไทย 293 ราย ชาวต่างประเทศ 112 ราย กลุ่มประชาชน 137 ราย กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ 47 ราย และกลุ่มผู้ประกอบการ 35 ราย ผลการวิจัยมีดังนี้ เมื่อพิจารณาในด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจ ได้พบว่า อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีศักยภาพสูงและสามารถพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้โดยพิจารณาจาก 4 ปัจัจัย กล่าวคือ 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และกิจกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศมีความพึงพอใจมาก ดังนั้น กลุ่มประชาชนสู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะพัฒนาชายฝั่งบริเวณท่าเรือปากบาราให้มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว 2) กฎระเบียบ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม เห็นว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องยึดถือปฏิบัติ และให้ความร่วมมือ 3) การมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ ว่าสภาพเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นดีขึ้น การเรียนรู้ร่วมกัน นักท่องเที่ยวและประชาชนได้เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและแหล่งประวัติศาสตร์ เมื่อศึกษาถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ พบว่า อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีมูลค่าการท่องเที่ยว 78.2 ล้านบาท จึงแสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูง นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาอุทยาน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งเท่ากับ 3,453.31 บาท นับว่าต่ำมาก และมีความยืดหยุ่นของค่าใช้จ่ายเดินางอุปสงค์อยู่ในระดับต่ำด้วย ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ที่เกี่ยวข้องสูง และยังสามารถเพิ่มต้นทุนการท่องเที่ยวขึ้นได้ และจากการสำรวจพบว่าโดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวยินดีที่จะจ่ายและให้ความร่วมมือ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น ในส่วนของศักยภาพทางสังคม พบว่า อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีศักยภาพปานกลาง และพิจารณาในรายละเอียดแต่ละปัจจัย ได้ดังต่อไปนี้คือ 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ จัดว่าเป็นทุนทางสังคม จึงถือว่าอุทยานมีศักยภาพทางสังคม สูง 2) กฎระเบียบและการบังคับใช้ สำหรับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องยังมีปัญหาการบังคับใช้ในบางประการ 3) การมีส่วนร่วมด้านสังคม. ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านการออกแรง ส่วนเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแผน แต่ก็นับว่าการมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างยังอยู่ในระดับต่ำ 4) การเรียนรู้ร่วมกัน กิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถทำให้มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาผลกระทบทางด้านสังคม พบว่า อุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยวด้านลบน้อย กล่าวคือ มีผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างในเรื่องของปัญหาขยะมูลฝอย แหล่งเสื่อมโทรม การขโมยหินและเปลือกหอย ประกอบกับปัญหาการใช้ กฎระเบียบและการบังคับใช้ ปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ มีอยู่จริงแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ และสามารถหาแนวทางป้องกันและแก้ไขได้โคยการจัดรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17688 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/163124 |
Appears in Collections: | 460 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.