กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17647
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาน้ำยางพรีวัลคาไนซ์สำหรับงานหล่อแบบขั้นสูง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Prevulcanized Latex for High Valued Casting Applications
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การพัฒนาน้ำยางพรีวัลคาไนซ์สำหรับงานหล่อแบบขั้นสูง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุวัติ แซ่ตั้ง
ณัฐพงศ์นิธิอุทัย
Faculty of Sciecnce and Technology (Rubber Technology and Polymer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การศึกษาการเตรียมน้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์ โดยใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการเตรียมพรีวัลคาไนซ์ ซึ่งได้แก่ 50, 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ดัชนี การบวมพองมีค่าลดลงด้วยอัตราเร็วตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อนำน้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์มาเตรียมเป็นแผ่นฟิล์ม 2 รูปแบบ ได้แก่ แผ่นฟิล์มพรีวัลคาไนซ์ และแผ่นฟิล์มโพสต์วัลคาไนซ์ พบว่า ลักษณะการวัลคาไนซ์ของแผ่นฟิล์มพรีวัลคาไนซ์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของอุณหภูมิและเวลาในการเตรียมพรีวัลคาไนซ์เป็นสำคัญ ในขณะที่ ลักษณะการวัลคาไนซ์ของแผ่นฟิล์มโพสต์วัลคาไนซ์ไม่มีผลจากปัจจัยของอุณหภูมิและเวลาในการเตรียมพรีวัลคาไนซ์อย่างมีนัยสำคัญ การใช้สภาวะในการเตรียมพรีวัลคา ไนซ์ที่แตกต่างกัน (ที่ดัชนีการบวมพองเท่ากัน) จะส่งผลต่อสมบัติของน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ที่เตรียมได้ แต่ไม่ส่งผลต่อสมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มยาง การเพิ่มปริมาณของสาร เพิ่มความเสถียร (สบู่) ทั้งสองชนิดคือ K-oleate และ Sodium Lauryl Sulphate (SDS) ในน้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์ จะส่งผลให้ความเสถียรของน้ำยางมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซิงค์ออกไซด์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้น้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์สูญเสียสภาพความเป็นคอลลอยด์ โดยเมื่อไม่มีการใช้ซิงค์ออกไซด์ในระบบการเตรี ยมน้ำยางธรรมชาติคอมเปาด์ พบว่า น้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์ยังคงสภาพความเป็นคอลลอยด์ได้นานกว่า 90 วัน และยังให้สมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มยางที่ใกล้เคียงกับน้ำ ยางธรรมชาติ พรีวัลคาไนซ์ทางการค้า การเตรียมน้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์เพื่อใช้ในการทำเบ้าหินเทียม พบว่า ต้องใช้วิธีการ 2 ขั้นตอน ในการทำเบ้าดังกล่าว นั่นคือ กา รพ่นสเปรย์และการทาด้วยแปรง โดยน้ำยางธรรมชาติพรีวัลคาไนซ์ที่ใช้สำหรับการทาด้วยแปรงเป็นน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ที่ต้องมีการผสมกับสารเพิ่มความหนืด 2%CMC ใน ปริมาณ 1 phr ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมในการใช้ทำเบ้าหินเทียม
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17647
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/305337
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:741 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น