กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17644
ชื่อเรื่อง: | ฤทธิ์ต้านเบาหวานของอนุพันธ์อินเตอร์รับตินที่สกัดจากเฟิร์นไซโคลซอรัส เทอร์มิแนนส์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ ฤทธิ์ต้านเบาหวานของอนุพันธ์อินเตอร์รับตินที่สกัดจากเฟิร์นไซโคลซอรัส เทอร์มิแนนส์ Anti-diabetic property of interruptin derivatives isolated from the fern Cyclosorus terminans |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิรีวรรณ แก้วสุวรรณ Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacognosy and Pharmaceutical Botany) คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เฟิน การใช้รักษา;สารสกัดจากพืช;เบาหวาน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The fern Cyclosorus terminans has long been consumed as a vegetable in northern Thailand. It has been reported as the source of coumarin derivatives, interruptins A and B. In this study, they were found to exhibit in vitro antidiabetic property by enhancing the glucose consumption into hepatocytes and skeletal muscle cells through PPAR-Y pathway. Likewise, both interruptins A and B also increased glycogen accumulation in heptaocytes, while only interruptin B could encourage glycogen content in muscle cells. Interestingly, prepared interruptin-rich extract (IRE) demonstrated not only no cytotoxicity toward hepatocytes and skeletal muscle cells, but also activated glucose uptake into both cells. Furthermore, acute toxicity study Wistar rats revealed no mortality or signs of toxicity after a single oral of 2,000 mg/kg IRE administration and indicated the LDso as 2,000-5,000 mg/kg body weight. Moreover, interruptin B displayed potent anti-inflammation through NO radical scavenging and NO production inhibition in macrophage RAW264.7 cells with ICso of 67.68 and 0.81 JM followed by interruptin A with JCso of 90.07 and 12.18 |uM, respectively. These compounds also down-regulated iNOS and up-regulated PPAR-Y mRNA expression in a dose-dependent manner. Additionally, the appropriate HPLC method for analysis the corresponding interruptins content in C. terminans extract was successfully validated according to ICH requirement. To the best of our knowledge, this is the first study describing anti-diabetic activity in liver and muscle cells and anti-inflammatory activity in macrophage cells of isolated interruptins A and B. These actions may be due to an induction of PPAR-Y. These results are very promising to find that C. terminans extract with active interruptin derivatives might be a potential natural material for anti-diabetic application. Nevertheless, more research is still required to address questions surrounding in vivo anti-diabetes. |
Abstract(Thai): | เฟิร์นไซโคลซอรัส เทอร์มิแนนส์เป็นพืชที่มีการรับประทานเป็นผักมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยและมีการรายงานว่าเป็นแหล่งของสารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ อินเตอร์รับติน เอ และบี ในการศึกษานี้คันพบว่าสารอินเตอร์รับตินเอและบีแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในระดับหลอดทดลองโดยมีความสามารถในการเพิ่มการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อด้วยกลไกผ่าน PPAR-Y และสารทั้งสองตัวดังกล่าวยังมีผลเพิ่มการสะสมไกลโคเจนในเซลล์ตับ ในขณะที่สารอินเตอร์รับตินบีเท่านั้นที่มีความสามารถในการเพิ่มปริมาณไกลโคเจนในเซลล์กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดเฟิร์นที่มีอินเตอร์รับตินเข้มข้น (IRE) ที่เตรียมได้ไม่เพียงแต่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อ สารสกัดดังกล่าวยังมีผลกระตุ้นการดูดกลับน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้ออีกด้วย รวมทั้งเมื่อทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์โดยการให้สัตว์ทดลองกินสารสกัด IRE ในขนาด 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวสัตว์ทดลองเพียงครั้งเดียว ไม่พบอาการพิษหรือทำให้สัตว์ทดลองตายแต่อย่างใด โดยมีค่า LD50 เท่ากับ 2,000 ถึง 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวสัตว์ทดลอง และสารอินเตอร์รับตินบียังมีฤทธิ์สูงในการต้านอักเสบโดยสามารถจับกับอนูมูลไนตริกออกไซด์ และยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ภายในเซลล์แมคโครฟาจชนิด 264.7 ได้ดีโดยให้ค่า IC50 เท่ากับ 67.68 และ 0.81 ไมโครโมลาห์ และตามด้วยสารอินเตอร์รับตินเอโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 90.07 และ 12.18 ไมโครโมลาห์ ตามลำดับ โดยสารทั้งสองชนิดมีผลยับยั้งการแสดงออกของยืน iNOS และกระตุ้นการแสดงออกของยีน PPAR-y ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มขัน การศึกษานี้ยังได้พ้ฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารอินเตอร์รับตินในสารสกัดเฟิร์นด้วยวิธีเอชพีแอลซีโดยวิธีดังกล่าวผ่านการทดสอบความใช้ได้ของวิธีตามหลักของ ICH รายงานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาแรกที่อธิบายเกี่ยวกับฤทธิ์โนการต้านเบาหวานในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อ รวมทั้งฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจของสารอินเตอรร์รับตินเอ และบี โดยคาดว่าเป็นผลจากการกระตุ้นผ่าน PPAR-Y และเป็นการค้นพบถึงศักยภาพของสารสกัดเฟิร์นไซโคลซอรัส เทอร์มิแนนส์ที่มีสารอนุพันธ์อินเตอร์รับตินเป็นสารออกฤทธิ์เพื่อการประยุกต์ใช้สำหรับการรักษาโรคเบาหวานต่อไป อย่างไรก็ตามการศึกษาผลในการต้านเบาหวานของสารสกัดดังกล่าวในสัตว์ทดลองยังต้องมีการศึกษาเชิงลึกต่อไป |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17644 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/308244 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 570 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น