Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17641
Title: โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
Other Titles: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
Authors: พิชญา บุญศรีรัตน์
เฉลิม ใจตั้ง
ทศพร มะหะหมัด
Faculty of Economics (Economics)
คณะเศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจการจัดทำและตำเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำรวจความคิดเห็นและการรับรู้ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว. และหน่วยงานต่างๆ ต่อแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการส่งเสริมการประกอบการที่ยั่งยืน ให้แก่ SME สำรวจการรับรู้และความสนใจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการต่อแนวคิดการประกอบการที่ยั่งยืน และความช่วยเหลือที่ต้องการเพื่อพัฒนากิจการไปในแนวทางดังกล่าว คณะผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสานวิธี โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากสสว. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ ใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในภาคบริการ จากจังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสงขลา และจังหวัดกรุงเทพฯ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก ร่วมกันเพื่อตอบวัตถุประสงค์การศึกษา ความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาและเป้าหมายต้านการพัฒนา SME ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 เกิดจากการประสานงานส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกันในระหว่างกระบวนการวางแผน โดยจะมีหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การตำเนินงานยุทธศาสตร์แต่ละด้านของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ สสว.ซึ่งเป็น "เจ้าภาพ" ของแผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการ เศรษฐกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล ได้สังเกตเห็นความซ้ำซ้อนกันทั้งในด้านวัตถุประสงค์ของโครงการและลักษณะการ จัดกิจกรรมของโครงการต่าง ๆ ที่ถูกเสนอเข้ามาภายใต้ช่องทางของการเสนอของบประมาณแบบบูรณาการ ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ รับทราบ ยอมรับในความสำคัญ และเล็งเห็นถึงความเหมาะสมของการนำแนวคิด "การพัฒนาที่ยั่งยืน" มาใช้เป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหลายหน่วยงานมีความเข้าใจเบื้องต้นในความหมายของ "การประกอบการที่ยั่งยืน" ของธุรกิจ แต่เมื่อให้อธิบายถึงลักษณะของ SME ที่มีการประกอบการที่ยั่งยืนซึ่งหน่วยงานมีความคาดหวังว่าจะพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดขึ้น พบว่าส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้ข้อมูลหลักจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้าน "กำไรของกิจการ (Profit)" มากกว่าองค์ประกอบด้าน "บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ (People)" และ "สิ่งแวดล้อม (Planet)" และส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ภาครัฐยังต้องดำรงบทบาทที่สำคัญในการสร้างมาตรการสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ออกแบบมาตรการทางภาษีที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในแนวทางนี้ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจโดยอาจให้ SME ได้เห็นตัวอย่างของวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืน เป็นต้น จากการเก็บข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการ 231 กิจการ พบว่าเป็นวิสาหกิจ ที่มีอายุกิจการไม่เกิน 5 ปี ถึงร้อยละ 40.71 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวิสาหกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคล และไม่จดทะเบียนนิติบุคคลอยู่ในจำนวนที่ใกล้เคียงกันมาก จำนวนการจ้างงานในกิจการโดยเฉลี่ยชองกลุ่มตัวอย่าง อยู่ที่ 14.76 คน และวิสาหกิจกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.17 ไม่เคยกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการ วิสาหกิจกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 96.10 ไม่เคยขอรับคำปรึกษาจากทั้ง สสว. และศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) และกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วนใกล้เคียงกันไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยสสว. หรือศูนย์ OSS ด้วย โดยเกือบ 1 ใน 3 ระบุว่าไม่เคยรู้จักหน่วยงานดังกล่าว ผลการประเมินตนเองด้านจุดอ่อนของกลุ่มตัวอย่าง มีความสอดคล้องกันกับมุมมองของผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยจุดอ่อนที่สำคัญของ SME คือ ปัญหาเรื่องการเข้าถึงเงินทุน ส่วนกรณีจุดแข็งนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถประเมินจุดแข็งของตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน คือ การมีแรงงานที่มีความสามารถ แต่หน่วยงานต่าง ๆ กลับมีมุมมองในประเด็นนี้ที่ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกัน มาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐที่วิสาหกิจต้องการมากที่สุดใน 3 อันดับแรก ไต้แก่ การออกมาตรการลดหย่อนทางภาษี การปรับปรุงกฏเกณฑ์และระเบียบทางราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะวิสาหกิจที่มีอายุกิจการไม่เกิน 5 ปี นั้น เป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากที่สุด มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 36.36 เท่านั้น ที่เคยได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการประกอบการที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับทราบและทำความเข้าใจเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 79.65 มีความสนใจ ที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว โดยเหตุผลหลักของความสนใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบด้าน "กำไรของกิจการ (Profit)" และร้อยละ 52.46 ของกลุ่มนี้ต้องการให้สสว. และ OSS ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติของการประกอบการที่ยั่งยืน ด้านเงินทุน และ ด้านกฎระเบียบและนโยบายสนับสนุนธุรกิจ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสสว. และ OSS นั้น ให้เหตุผลหลักคือต้องการมีอิสระในการดำเนินธุรกิจ ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) เพื่อทำนายโอกาสของความสนใจประกอบกิจการตามแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืน พบว่า มี 3 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสนใจของวิสาหกิจกลุ่มตัวอย่าง คือ (1) การกู้ยืมเงินของกิจการ หมายความว่า วิสาหกิจที่มีความสามารถกู้ยืมเงินหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า (2) คะแนน เห็นเฉลี่ยต่อแนวปฏิบัติในประเด็นด้านธรรมาภิบาล หมายความว่า วิสาหกิจที่เห็นด้วยกับการแยกระหว่างความเป็นเจ้าของกับผู้จัดการ มีแนวปฏิบัติ มาตรการส่งเสริม และมาตรการตรวจสอบด้านจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า (3) คะแนนความเห็นเฉลี่ยต่อแนปฏิบัติในประเด็นด้านการจัดการด้านสังคม หมายความว่าวิสาหกิจที่เห็นด้วยกับการดำเนินธุรกิจโดยมีการสื่อสาร และคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภค มีการจัดกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า การพัฒนาศักยภาพของ SME ไทยยังจำเป็นต้องอาศัยบทบาทของสสว. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งในด้านเงินทุนและการสร้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เหมาะสม ด้วยการใช้มาตรการทางภาษีและการปรับปรุงกฎระเบียบทงธุรกิจต่าง ๆ กรณีของการส่งเสริมให้ SME ดำเนินกิจการไปในแนวทางของการประกอบการที่ยั่งยืน ก็เป็นเช่นเดียวกัน แม้ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดจากความสนใจของ SME เอง แต่สสว. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ก็ยังคงต้องมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนากลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และให้การสนับสนุนแก่วิสาหกิจที่มีความสนใจในแนวทางปฏิบัตินี้ต่อไป
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17641
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/309286
Appears in Collections:878 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.