Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17634
Title: | การศึกษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายู ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา |
Other Titles: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา Study of Tourism Resources for Melayu's Cultural Tourism in the Special Economic Zone of Songkhla |
Authors: | อุทิศ สังขรัตน์ ธเนศ ทวีบุรุษ Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation) คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สงขลา;ทรัพยากรทางวัฒนธรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This research aims to: 1 ) study tourism resources with identity of Melayu’s culture in the Songkhla Special Economic Zone; 2 ) provide guidelines for the management of tourism resources with identity of Melayu’s culture in the area. This study is a qualitative research with sample population consisted community, the local administrative organization and related government organisation of the area. The tools used to collect data consisted of the structured in-depth interviews, and focus group meeting. The study covered the special economic area which included four subdistricts; namely Sumnaktaw, Sumnakkham, Padangbeza, and Sadao of Sadao district, Songkhla province. The result indicated that there are seven tourist resources in Melayu’s culture of the area included 1) dressing 2 ) food and beverage 3) recreation 4) festival 5) handy crafts 6) traditions related to religion and beliefs and 7 ) housing. There should be a way to manage tourism resources that are identity and reflect of Melayu’s culture in the Songkhla Special Economic Zone. Guidelines should be as follows: 1) The selection of Melayu’s culture for tourism management as the identity of the community must be undertaken by all related stakeholders, 2) Restoration of some Melayu’s culture which was disappear from the Songkhla Special Economic Zone, 3) Promoting and organizing activities related to Melayu’s culture to maintain in the new society of Songkhla Special Economic Zone, and 4) Issuing Melayu’s culture tourism in Songkhla Economic Zone into the provincial’s tourism calendar. However, in restoring and preserving the Melayu’s culture Malay people in the Songkhla Special Economic Area have to select the appropriate culture and can lead to the appropriate tourism management without conflict with the religious principle and the way it is. In order to maintain the Melayu’s culture in the area should be chosen by the community, either to restore or reconstruct in the global changes. Nevertheless, housing is the most interesting culture left in the area. This is because the southern Melayu’s housing is unique, especially the roof. This includes living spaces that are interrelated with the owner and visitor which could be adjusted according to their personal and social spaces. Melayu housing style is also well suited to geography and seasons, such as elevated platforms, ventilated fountains, and wood carvings. There is also an open-air terrace for hanging a bird’s cage which is the Malay man way of life. In order to manage Melayu’s culture for tourism resources in accordance with the present and up to date, it should take into account of all related stakeholders for preserving the identity of community in order to meet sustainable tourism.The recommendations are as follows; 1) all stakeholders should be involved in the management, so that all sectors understand the awareness and the responsibility to preserve the culture. 2), government organization and local authorities must initiate in organizing cultural activities in line with the religious and seasonal pattern, 3) there should be public awareness about the cultural identity of the Malay community. Hence, Melayu’s culture way is beneficial for future tourism in the area. Moreover, there are suggestions for future research for example; to carry on the lost Malay culture in the past in the Songkhla Special Economic Zone. This should bring back and to study the Malayan culture across the Malayan Malay and Malaysia, the social relationship of Thai Buddhists and Thai Muslims in Melayu’s culture, and changing in land use pattern in the Songkhla Special Economic Zone of Sadao District, Songkhla Province. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความเป็นอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา 2) จัดทำแนวทางการจัดการทรัพยากร การท่องเที่ยวที่มีความเป็นอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ตัวแทนของชุมชน ผู้รู้ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และฝ่ายบริหารของรัฐเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบไม่มีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุม 4 ตำบล คือ ตำบลสะเดา ตำบลสำนักแต้ว ตำบลสำนักขาม และตำบลปาดังเบซาร์อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นวัฒนธรรมในวิถีมลายู มีอยู่ 7 ประการ คือ1) การแต่งกาย 2) อาหารการกิน 3) การละเล่น 4) งานบุญและงานรื่นเริง 5) การประดิษฐ์และหัตถกรรม 6) ประเพณีเกี่ยวเนื่องด้วยศาสนาและคติความเชื่อ และ 7) การสร้างที่พักอาศัย แนวทางการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความเป็นอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา มีดังนี้1) การเลือกเฟ้นวัฒนธรรมมลายูที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนจะต้องกระทำโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของรัฐ เอกชน และคนในชุมชนเอง 2) การฟื้นฟูสืบสานวิถีวัฒนธรรมมลายูที่ได้หายไปหรือลดความสำคัญลงไปในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสงขลา ให้กลับคืนมา 3) การส่งเสริม และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสงขลาให้ดำรงอยู่ในสังคมใหม่ 4) การบรรจุการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตพื้นที่เศรษฐกิจสงขลาของอำเภอสะเดาลงในปฏิทินการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมมลายูที่หายไปและน่าสนใจมากที่สุดคือ การสร้างที่อยู่อาศัย แบบมลายู ทั้งนี้เพราะว่าที่อยู่อาศัยของคนมลายูภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยเฉพาะรูปแบบหลังคารวมทั้งพื้นที่ใช้สอยซึ่งมีความสัมพันธ์กับผู้อาศัยที่แยกและปรับเปลี่ยนพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ทางสังคมสลับกันไปมาได้ระหว่างเจ้าของบ้านกับแขกผู้มาเยือน ที่อยู่อาศัยที่มีความเป็นมลายูยังมีความสอดรับกับภูมิศาสตร์และฤดูกาล เช่น การยกพื้นสูง การมีช่องลมระบายอากาศด้วยการฉลุและแกะสลักไม้ รวมทั้งระเบียงที่สร้างให้โล่งเพื่อใช้แขวนนกเชาชวาซึ่งเป็นวิถีของผู้ชายมลายูในอดีต ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะทั่วไป 1) การฟื้นฟู อนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสงขลาควรทำโดยคนในชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจ รับรู้ และมีส่วนรับผิดชอบที่จะรักษาวัฒนธรรมดังกล่าว 2) หน่วยงานของรัฐ และท้องถิ่น จะต้องเป็นผู้ริเริ่มในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้สอดรับกับช่วงเวลา ฤดูกาล หลักศาสนา โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม 3) ควรมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมวิถีมลายูของชุมชน เพื่อธำรงไว้ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยวชุมชนในอนาคตได้และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย คือควรมีการศึกษาวัฒนธรรมลายูในอดีตที่สูญเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ การศึกษาวัฒนธรรมมลายูข้ามแดนระหว่างคนมลายูไทยและคนมลายูมาเลเซีย การศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยพุทธและคนไทยมุสลิมในวิถีวัฒนธรรมมลายูและการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสงขลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ต่อไป |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17634 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/308910 |
Appears in Collections: | 895 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.