Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17632
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Factors Affecting Mental Health Problems of People Affected by Unrest in the Southern Border Provinces The
Authors: สุเมธ พรหมอินทร์
ฟุรกอน อาแวกาจิ
Faculty of Liberal Arts (Educational Foundation)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา
Keywords: สุขภาพจิต;จังหวัดชายแดนภาคใต้;ความขัดแย้งทางสังคม
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study aimed to investigate 1) the prevalence of mental health problems in individuals affected by political unrest in the southern border provinces; 2) the relationship between personal and situational factors and mental health problems of the affecte d individuals; and 3) factors affecting mental health problems in the affected individuals. The area scope of this study was the southern border provinces, including Yala, Pattani, Narathiwat, and Songkhla. The samples were individuals affected by the poli tical unrest in the southern border provinces selected by the Violencerelated Mental Health Surveillance database of Songkhla Rajanagarindra Psychiatric Hospital. Data were collected by the Psychological Impact Scale for Crisis Events developed by the Dep artment of Mental Health, Ministry of Health, to assess risks among the affected individuals. The data were analyzed by the R program, frequency, percentage, chisquare test, odds ratio, and logistic regression. Results are as follows: 1. The overall preva lence of mental health problems in individuals affected by political unrest in the southern border provinces suggested that 75.96% of the samples had no mental health problems, whereas 24.04% did. 2. The factors related to mental health problems of the affected individuals included sex and death of a relative with statistical significance at the .001 level; age and being a relative of an injured individual with statistical significance at the .05 level; and residential area and being inflicted with an injury with statistical significance at the .01 level. 3. The factors affecting mental health problems in the affected individuals based on the logistic regression analysis at the .05 significance level were sex, residential area, and being a relative of an inj ured individual. Dimensionally, female affected individuals were 1.50 times more vulnerable to mental health problems than male. On residential areas, those living in areas with a high occurrence rate of political unrest incidents were reportedly 2.21 time s more vulnerable to mental health problems than those living in areas with a moderate occurrence rate; those living with a moderate occurrence rate were 2.04 times more vulnerable than those living with a low occurrence rate; and those living with a low o ccurrence rate were 1.21 times more vulnerable than those living in areas with no occurrence of incidents. Furthermore, those who were relatives of injured individuals were reportedly 1.80 times more vulnerable to mental health problems than those who were not. Finally, the factors affecting mental health problems in the affected individuals at the .001 significance level included the death of a relative. More specifically, those who loss their relatives from political unrest incidents were 2.09 times more vulnerable to mental health problems than those who did not.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วน บุคคลและปัจจัยผลจากสถานการณ์กับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่ สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา จากระบบฐานข้อมูลการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (VMS : Violence-related Mental health Surveillance) โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ จังหวัดสงขลา โดยกรม สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการใช้แบบประเมินสุขภาพจิต คือ แบบประเมินผลกระทบทาง จิตใจหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต (The Psychological Impact Scale for Crisis Events) เพื่อวัดความ เสี่ยงของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมอาร์ (R Program) หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าการทดสอบไคสแควร์ ค่าอัตราส่วนออดส์ และวิเคราะห์ค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โลจิสติกส์ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความชุกของปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้โดยภาพรวม พบว่า ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 75.96 และมีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 24.04 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ เพศและการเสียชีวิตของญาติ ปัจจัยที่มีผลที่มี ความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 อายุ และการเป็นญาติผู้บาดเจ็บ มีความสัมพันธ์กับ ปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เขตพื้นที่และการได้รับบาดเจ็บ มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต ของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3. ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำตัวแปรออกจากรูปแบบสมการถดถอยโลจีสติกส์ พบว่า ปัจจัยที่มีผล ปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ เขตพื้นที่ และการเป็นญาติของผู้บาดเจ็บ โดยเพศของผู้ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นเพศหญิงทั้งหมด จะมี โอกาสในการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าเพศชายถึง 1.50 เท่า เขตพื้นที่ของผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีเหตุการณ์มาก จะมีโอกาสมี ปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ปานกลางถึง 2.21 เท่า ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ปานกลาง จะมีโอกาสมีปัญหาสุขภาพจิต สูงกว่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่ มีเหตุการณ์น้อยถึง 2.04 เท่า และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีเหตุการณ์น้อย จะมีโอกาสมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ใน เขตพื้นที่ที่มีไม่มีเหตุการณ์ถึง 1.21 เท่า และการเป็นญาติของผู้บาดเจ็บของผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีส่วนเกี่ยวข้องว่าใช่เป็นญาติของผู้บาดเจ็บ จะมี โอกาสในการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช่เป็นญาติของผู้บาดเจ็บถึง 1.80 เท่า และสุดท้ายนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้แก่ การเสียชีวิตของญาติผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่าใช่เป็นการเสียชีวิตของญาติ จะมี โอกาสในการมีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช่เป็นการเสียชีวิตของญาติถึง 2.09 เท่า
Description: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนามนุษย์และสังคม), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17632
Appears in Collections:895 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5911121004.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons