กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17629
ชื่อเรื่อง: แผนงานวิจัย นโยบายและกลยุทธ์เพื่อการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายู ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tourism Policy and Strategies for Melayu’s Cultural Tourism in the Special Economic Zone of Songkhla
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แผนงานวิจัย นโยบายและกลยุทธ์เพื่อการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายู ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
สถานวิจัยการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้แบบบูรณาการ
Research Center For Ecotourism Integrated Management In Southern Thailand
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม;เขตเศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research project aims to: 1) study the situation, problems and impacts on tourism in Songkhla Special Economic Zone to cope with the ASEAN economic liberalization. 2) analyse study result to conduct a tourism plan in the Songkhla Special Economic Zone to cope with the ASEAN economic liberalization , and 3) to conduct tourism policy and strategies for Melayu’s cultural tourism in the Special Economic Zone of Songkhla. Scope of the research area covered 4 sub-districts; namely Sumnaktaw, Sumnakkham, Padangbeza, and Sadao sub-districts, Songkhla province. Research methodology covered quantitative and qualitative analysis with focus group meeting, in-depth interview and content analysis. Result of the three sub-projects together with the determination of tourism development strategies, taking into account the 4 dimensions according to the principles of the Balanced Scorecard, which has a framework for analyzing both strategies, namely the strategy to upgrade quality and potential enhancement strategies Which has been analyzed Assessment of tourism readiness and SWOT analysis of tourist attractions In creating a framework for strategic tourism development aimed at qualitative and sustainable tourism Therefore, this research plan has issued the five policies and 19 strategies. Each policy will focus on different goals. In general, the proposed strategy into three areas: 1) development and promotion, 2) restoration and conservation, 3) confidence building, and 4) human capacity building and management. Policies are included; 1) the development of Melayu’s cultural tourism resources, 2) the restoration of the Melayu’s culture for tourism management, 3) the development and promotion of tourism for Melayu’s culture, 4) confidence building for border tourism , and 5) Develop human capacity building and integrated management to ASEAN. For tourism model should apply the cultural tourism management which combines two concepts; experience based tourism, and presenting new charm. This provides three types learning experience; 1) identity of Melayu culture 2) increase interpretation of Melayu’s culture 3) good hospitality of creative tourism management for accommodation and food. Whereas, presenting new charms of the area could be 1) zoning of Melayu’s housing and 2) making bird cage of Melayu’s culture. Nevertheless, there should include the tourism committees from sub-district, district and Songkhla Special Economic Zone level. Hence, recommendations are suggested in three levels included: policy, government office or local administrative organization, and community to achieve the goal of sustainable tourism development in the future.
Abstract(Thai): วัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลาเพื่อรับมือการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียน 2) จัดทำนโยบายและกลยุทธ์การจัดการการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลาโดยใช้วิถีวัฒนธรรมมลายูทั้งในระดับประเทศ ท้องถิ่น และชุมชนเพื่อรับมือการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียน 3) เสนอรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมพื้นที่4 ตำบลคือ สำนักแต้ว สำนักขาม ปาดังเบซาร์ และสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาของโครงการย่อยทั้ง 3 โครงการผนวกกับการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลาโดยคำนึงถึง 4 มิติตามหลักของ Balanced Scorecard ซึ่งมีกรอบในการวิเคราะห์กลยุทธ์ทั้ง 2 ด้าน คือ กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพ และกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพ ทั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์ ประเมินความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยวและการวิเคราะห์ SWOT ของแหล่งท่องเที่ยว ในการสร้างกรอบในการวางกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวมุ่งสู่การ ท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและความยั่งยืน ทั้งนี้แผนงานได้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายูในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา จำนวน 5 นโยบาย 19 กลยุทธ์ ประกอบด้วยนโยบาย 1) การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายูอย่างสร้างสรรค์ 2) การฟื้นฟู สืบสานวิถีวัฒนธรรมมลายูเพื่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสงขลา 3) การพัฒนาและส่งเสริมการตลาดเพื่อการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมมลายู 4) การสร้างความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย 5) พัฒนาศักยภาพคนและพื้นที่พหุวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน แผนงานได้นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ผสมผสานสองแนวคิดระหว่างการท่องเที่ยวเน้นประสบการณ์และการนำเสนอเสน่ห์วิถีมลายูของเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เน้นการเรียนรู้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ 2) การสื่อสารเรื่องราววิถีวัฒนธรรมมลายู ทั้งในเรื่องของอาหาร การแต่งกาย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมลายู ประเพณีและศิลปะการแสดงของชาวมลายู 3) การบริการเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านการบริการด้านที่พักและอาหาร ร่วมกับการนำเสนอเสน่ห์วิถีมลายูได้แก่ 1) การจัดโซนที่อยู่อาศัยและ 2) การท ากรงนกตามวิถีวัฒนธรรมมลายู เป็นต้น ทั้งนี้ควรมีโครงสร้างและกลไกในการทำงานทั้งในระดับตำบล อำเภอ และเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา โดยมีข้อเสนอแนะทั้ง 3 ระดับคือ ระดับ นโยบาย ระดับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระดับชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ต่อไป
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17629
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:820 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น