Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17628
Title: การศึกษาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ ประเทศไทย
Other Titles: Exploring Knowledge Sharing Behaviors on Teaching and Learning through Online Platforms: A New Normal Learning of Undergraduates in Southern Tertiary Education Level, Thailand
Authors: คมกริช รุมดอน
นวพล แก้วสุวรรณ
Office of Academic Resources
สำนักวิทยบริการ
Keywords: พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้;เครือข่ายออนไลน์;ยุควิถีการศึกษาใหม่
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และศึกษาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 380 คน โดยการประมาณค่าสัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie and Morgan (1970) ด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์และผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายออนไลน์ในกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมากที่สุด จำนวน 316 คน (ร้อยละ 83.20) รองลงมาคือ เพิ่มมุมมองหรือแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน จำนวน 220 คน (ร้อยละ 57.90) และพัฒนาคุณภาพของชิ้นงานจากการเรียน จำนวน 176 คน (ร้อยละ 46.30) 2. กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในการแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายออนไลน์มากที่สุด จำนวน 354 คน (ร้อยละ 93.20) โดยใช้เวลาในการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า 7 ชั่วโมง/วัน จำนวน 186 คน (ร้อยละ 48.90) มีความถี่ในการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลทุกวัน จำนวน 216 คน (ร้อยละ 56.80) ทั้งนี้ส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับพูดคุยกับเพื่อนมากที่สุด จำนวน 338 คน (ร้อยละ 88.90) ช่วงเวลาที่ใช้เครือข่ายออนไลน์สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์/เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. จำนวน 177 คน (ร้อยละ 46.60) โดยสถานที่ที่ใช้เครือข่ายออนไลน์สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ส่วนใหญ่ คือ บ้าน จำนวน 308 คน (ร้อยละ 81.10) แพลตฟอร์มที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ส่วนใหญ่ คือ Facebook Group จำนวน 260 คน (ร้อยละ 68.40) ส่วนใหญ่จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันเมื่อมีการมอบหมายงานจากรายวิชาต่าง ๆ จำนวน 323 คน (ร้อยละ 85.00) และในส่วนของลักษณะ/กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มผ่านการสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ จำนวน 313 คน (ร้อยละ 82.40) มีการจดบันทึกความรู้/กิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม จำนวน 233 คน (ร้อยละ 61.30) มีการจัดเก็บความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มผ่านเครือข่ายออนไลน์ จำนวน 242 คน (ร้อยละ 63.70) และมีการเผยแพร่ความรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มผ่านเครือข่ายออนไลน์ จำนวน 168 คน (ร้อยละ 44.20) 3. พฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝒙̅ = 4.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยพฤติกรรมการสนับสนุนทีม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (𝒙̅ = 4.25) รองลงมาคือ พฤติกรรมการรับฟังความเห็นของทีม (𝒙̅ = 4.17) พฤติกรรมการสื่อสารในทีม (𝒙̅ = 4.13) พฤติกรรมการร่วมหาข้อสรุปและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (𝒙̅ = 4.13) และพฤติกรรมการวิเคราะห์ปัญหา (𝒙̅ = 4.00) 4. ระดับพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝒙̅ = 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (𝒙̅ = 4.30) รองลงมาคือด้านการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา (𝒙̅ = 4.24) ด้านการทบทวนบทเรียน (𝒙̅ = 4.16) ด้านการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ (𝒙̅ = 4.15) และด้านการอภิปรายร่วมกัน (𝒙̅ = 4.13) การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบบริการสารสนเทศด้านการจัดการเรียนการสอน สื่อทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลคอลเล็กชัน รวมถึงการนำไปใช้ออกแบบเครื่องมือสำหรับ การเข้าถึงสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความแตกต่างกันของกลุ่มคณะที่ศึกษาเพื่อนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมกับกลุ่มของศาสตร์สาขาวิชา รวมถึงได้แนวทางการแลกเปลี่ยนความรู้และเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ และในขั้นสุดท้ายจะส่งผลให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปกำหนดเป็นแนวทางในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้บนเครือข่าย สื่อออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อสร้างความคุ้นเคยในการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รองรับการศึกษาที่เท่าเทียม ทั่วถึงและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Abstract(Thai): The objectives of this research were to study the behavior level of applying knowledge for knowledge sharing and to study the behavior of knowledge sharing behavior on online teaching and learning networks in new normal education of undergraduate students of higher education institutions in Southern, Thailand. This research was survey research using questionnaires with a sample group of first-year undergraduate students of government-controlled universities, including Prince of Songkla University, Thaksin University, and Walailak University of 380 people. The sample size was determined according to the Krejcie and Morgan table (1970) with 95% confidence. The researcher used a simple random sampling method. The data were analyzed by percentage, mean, frequency, and standard deviation. The results showed that: 1. The behavior of applying knowledge sharing behavior on online teaching and learning networks in new normal education of undergraduate students of higher education institutions in Southern, Thailand. The objective of knowledge sharing on online networks from 316 people (83.20%) who were most interested in the same subject, followed by increasing their views or sharing ideas with their classmates form 220 people (57.90%) and improving the quality of work from 176 people (46.30%). 2. The process of knowledge sharing behavior on online networks, most of them used mobile phones to exchange knowledge on online networks from 354 people (93.20%), spent more than 7 hours per day using digital technology devices/tools from 186 people (48.90%), the frequency of daily use of digital technology devices/tools from 216 people (56.80%), most of them use social networks for chatting with friends from 338 people (88.90%), the time using the online network for knowledge sharing on the online network through digital technology devices/tools was between 18:01 to 24:00 from 177 people (46.60%), the place using the online network for knowledge sharing on the online network was home from 308 people (81.10%). the most platform using the online network for knowledge sharing on the online network was Facebook Group from 260 people (68.40%). There was knowledge sharing when assigned tasks from various courses from 323 people (85.00%), and in terms of the process of knowledge transfer with friends in the group through online conversations, 313 people (82.40 percent), most of undergraduate students recorded their knowledge/activities to knowledge sharing in the group from 233 people (61.30%), and From exchanging knowledge with friends in the group via online networks of 242 people (63.70%), and there was a dissemination of knowledge from knowledge sharing with friends in the group through online networks from 168 people (44.20%). 3. Team learning behavior for knowledge sharing on online teaching and learning networks, the overall was high level (𝒙̅ = 4.14). When considering each aspect, it was found that the mean was at a high level for all items, by team support behavior was the highest mean (𝒙̅ = 4.25), followed by team listening behavior (𝒙̅ = 4.17), team communication behavior (𝒙̅ = 4.13), conclusion and utilization behavior (𝒙̅ = 4.13), and problem analysis behavior (𝒙̅ = 4.00). 4. The level of behavior for knowledge sharing on online teaching and learning networks, the overall was high level (𝒙̅ = 4.20). When considering each aspect, it was found that the mean was high level for all items, by in terms of teaching was the highest mean (𝒙̅ = 4.30), followed by educational networking (𝒙̅ = 4.24), lesson review (𝒙̅ = 4.16), promoting learning processes (𝒙̅ = 4.15), and join the discussion (𝒙̅ = 4.13). Applications from this study can be used to design information services in teaching and learning management, digital collections of information resources, as well as to design tools for accessing information to increase students' potential in learning and teaching in new normal education of undergraduate students with different groups of faculties to lead to the allocation of information resources appropriate to the group of disciplines, including Get a guideline for exchanging knowledge and preparing for teaching and learning on the online network. The results can be used to formulate a guideline to create knowledge understanding about the exchange or sharing knowledge on online media networks in new normal education, which can be applied in the learning management of undergraduate students to familiarize themselves with higher education, support equal education, and promote lifelong learning.
Description: สำนักวิทยบริการ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17628
Appears in Collections:AS02 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rs001_65.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons