กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17626
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานซอฟต์แวร์การบริหารจัดการร้านค้าและบัญชีของธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม: กรณีศึกษา ธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influencing the Intention to use the Store Management and Accounting Software of Small Retail Businesses: Case Study of Retail Businesses Participating in the Thongfah Pacharat Project
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปาริชาติ มณีมัย
ชญานนท์ คงทน
Faculty of Commerce and Management
คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ
คำสำคัญ: คุณภาพของข้อมูล คุณภาพของระบบ คุณภาพของการบริการ ความตั้งใจใช้งานระบบ;ร้านค้าปลีกขนาดย่อม โครงการธงฟ้าประชารัฐ;การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: In today's highly competitive business environment, the adaptability of retail businesses is imperative by applying information technology system as a supportive tool to ensure business continuity. However, most retailers are still using limited technology, causing inefficient store and accounting information management. The objective of this research was to study factors affecting the behavioral intention by retail businesses to use store and accounting management software. The sample consists of 475 retail businesses that participate in the Thongfah Pacharat Project in Thailand and have not yet implemented store management and accounting software to conduct their business operations. The businesses were selected based on quota sampling. The research instrument for data collection was an online questionnaire. General data were analyzed with descriptive statistics. Hypothesis testing was conducted by the analysis of the structural equation model. The research results were as follows: 1) Information quality, system quality and service quality had a direct influence on perceived usefulness and perceived ease of use. 2) Perceived ease of use had a direct influence on perceived usefulness. 3) Perceived usefulness had a direct influence on the attitude towards online accounting use. However, perceived ease of use did not directly influence the attitude towards online accounting use. 4) The attitude towards online accounting use had a direct influence on behavioral intention. The findings can benefit store and accounting management software providers in both public and private sectors for the efficient development of software applications in accordance with the user requirements. In addition, related departments could apply the research results as guidelines for encouraging retail businesses to adopt more store management and accounting software.
Abstract(Thai): ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรงในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจร้านค้าปลีกต้องมีการปรับตัว โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ แต่พบว่าผู้ประกอบการร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ยังมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้น้อย ส่งผลให้การบริหารจัดการร้านค้าและบัญชีไม่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานซอฟต์แวร์การบริหารจัดการร้านค้าและบัญชีของธุรกิจร้านค้าปลีก กลุ่มตัวอย่างคือ ธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐในประเทศไทยที่ยังไม่มีการนำซอฟต์แวร์การบริหารจัดการร้านค้าและบัญชีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำนวน 475 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยาย และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณภาพของข้อมูล คุณภาพของระบบ และคุณภาพของการบริการ มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้การได้รับประโยชน์และการรับรู้การใช้งานที่ง่ายของซอฟต์แวร์ 2) การรับรู้การใช้งานที่ง่ายมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้การได้รับประโยชน์ 3) การรับรู้การได้รับประโยชน์มีอิทธิพลทางตรงต่อทัศนคติในการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตามพบว่าการรับรู้การใช้งานที่ง่ายไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อทัศนคติในการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ และงานวิจัยนี้พบว่า 4) ทัศนคติในการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้งานซอฟต์แวร์ ผลการศึกษามีประโยชน์ต่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์การบริหารจัดการร้านค้าและบัญชีทั้งภาครัฐและเอกชนสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปกำหนดแนวทางในการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกให้มีการนำซอฟต์แวร์การบริหารจัดการร้านค้าและบัญชีมาใช้มากขึ้น
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณทิต (บริหารธุรกิจ), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17626
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:942 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6250121003.pdf2.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons