กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17605
ชื่อเรื่อง: | โครงการแนวปฏิบัติทางด้านกฎหมายการนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทยเพื่อการส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียน : กรณีศึกษาการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสำเร็จรูปไปประเทศบรูไนดารุสซาลาม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการแนวปฏิบัติทางด้านกฎหมายการนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทยเพื่อการส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียน : กรณีศึกษาการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสำเร็จรูปไปประเทศบรูไนดารุสซาลาม |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัสมัน แตอาลี อดิลัน หนิมัน รุสลี นุห์ College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
คำสำคัญ: | น้ำพริกแกง การนำเข้า;ขัอบังคับทางการค้ากับต่างประเทศ บรูไนดารุสซาลาม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและรวบรวมแนวทางการปฏิบัติทางด้านกฎหมาย ข้อมูลกฎระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายและด้านการลงทุน ของประเทศบรูไนฯ (2) เพื่อสำรวจความต้องการเครื่องแกงสำเร็จรูปของไทยในประเทศบรูไนฯ และเส้นทางการนำเข้าประเทศบรูไนฯ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งออกเครื่องแกงสำเร็จรูป เสนอต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้มีโอกาสร่วมลงทุนกับประเทศบรูไนฯ และ(4) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในเรื่อง การร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลประเภทเครื่องแกงสำเร็จรูปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยส่งออกไปขายในตลาดนอกกลุ่มประเทศอาเซียน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการทำวิจัย แบบผสมผสาน (Mixed method) โดยเน้นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่าวิธีการเชิงปริมาณ จะประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเชิงลีก และการใช้แบบสอบถาม โดยการกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการวิจัย และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดั่งนี้ 1. กฎระเบียบของการส่งออกและนำเข้า ผู้ประกอบการเครื่องแกงจะต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร เพื่อนำข้อมูลเข้าเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร 2. ความต้องการเครื่องแกงไทยของคนบรูไนฯ พบว่าคนบรูไนฯซื้อเครื่องแกงไทยเพื่อไปทำอาหารเองที่บ้าน ในระดับมากและมากที่สุด 3. ผลการทดสอบความชอบชิมผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชนิดต่างๆ พบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องแกงต้มยำของวิสาหกิจชุมชนสมใจนึก, ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงกะทิและเครื่องแกงเขียวหวานของวิสาหกิจชุมชนพริกแกงบ้านตีน กลุ่มตัวอย่างให้คะน่นความชอบที่ระดับ ชอบปานกลางถึงชอบมาก 4. แนวทางการร่วมลงทุนเครื่องแกงสำเร็จรูประหว่างนักลงทุนประเทศบรูไนฯและวิสาหกิจชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 วิธี คือ 4.1 Model A: Invest with Bruneian Distributors (การลงทุนกับผู้จัดจำหน่ายในประเทศบรูไนฯ) 4.2 ModeL B: Doing OEM with Brunelan Company (การทำ OEM กับบริษัทในประเทศบรูไนฯ) 4.3 Model C: Foreign Direct Investment (การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ) |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17605 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/308796 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น