Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17592
Title: | โครงการระบบการผลิตและการตลาดมะละกอ จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการระบบการผลิตและการตลาดมะละกอ จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Authors: | สุชาติ เชิงทอง สุทธิจิตต์ เชิงทอง Faculty of Science and Industrial Technology คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม Faculty of Liberal Arts and Management Sciences คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มะละกอ การตลาด;มะละกอ การตลาด สุราษฏร์ธานี;มะละกอ การปลูก;การตลาด |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อให้ทราบถึงลักษณะสายพันธุ์มะละกอ ระบบการผลิตและการตลาดมะละกอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการวิจัยโดยการสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกร 50 ราย ในพื้นที่ปลูกมะละกอหลักของจังหวัด ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2551 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมะละกอ 4,493 ไร่ อำเกอคีรีรัฐนิคมมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด เท่ากับ 1,714 ไร่ รองลงมาคืออำเภอบ้านตาขุนที่มีพื้นที่ปลูก 774 ไร่ การปลูกมะละกอเป็นการค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งสิ้น 13 อำเภอ จาก 19 อำเภอ สายพันธุ์มะละกอที่ นิยมปลูกกันมากที่สุดคือสายพันธ์ุแขกดำ โดยเกษตรกรร้อยละ 98 ปลูกมะละกอสายพันธุ์นี้ เกษตรกรร้อยละ 50 ทำการเก็บเมล็ดและเพาะเอง ทำให้มีการกลายพันธุ์ได้ง่าย เนื่องจากมะละกอเป็นพืชผสม ข้าม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอ ทำให้มีการปลูกมะละกอที่มีการกลายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น เกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้ามาปลูก มีแหล่ง ที่ซื้อจากร้านขายเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าในท้องถิ่นซึ่งไม่มีการควบคุมมาตรฐานให้ตรงตามพันธุ์ นอกจากนี้มะละกอยังพบปัญหาโรคพืชสำคัญคือโรคไวรัสใบด่างวงแหวนทำให้เกษตรกรต้องเลิก ปลูกมะละกอในหลายพื้นที่ และจำเป็นต้องหาพื้นที่ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคจากการปลูกซ้ำในที่เดิม เกษตรกรในจังหวัดสุรายฎร์ธานีปลูกมะละกอเป็นพืชเสริม โดยส่วนใหญ่ปลูกแซมในสวน ยางพารา ใช้ระยะปลูก 2*7 มตร และ 3*7 เมตร เกษตรกรปลูกมะละกอมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย รายละ 4 ไร่ ให้น้ำโดยอาศัยน้ำฝน ถึงร้อยละ 88 ของจำนวนเกษตรกร การให้ปุ๊ยนิยมใช้ปุ๋ยเคมีถึงร้อยละ 75 ของจำนวนเกษตรกร เกษตรกรร้อยละ 25 ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยที่ใช้กันมากได้แก่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองก้นหลุม ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในช่วงการเจริญเติบโต และปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในช่วงให้ผลผลิต การศึกษาคุณภาพผลพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตมะละกอที่มีขนาดผลหนักประมาณ 1,000-1,500 กรัม ในผลสุกไม่พบผลสุกที่มีเนื้อสีแดง ทั้งที่เป็นลักษณะเด่นของพันธุ์แขกดำ ความหวานส่วน ใหญ่อยู่ระหว่าง 10.0-11.9 %TTS ซึ่งอยู่ต่ำกว่าความหวานของมะละกอพันธุ์แขกดำที่มีความหวานประมาณ 13%TTS ต้นทุนหลักในการผลิตมะละกอคือค่าแรงงาน โดยฉพาะแรงงานในครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตรวม รองลงมาได้แก่ค่าปุ๋ย (ร้อยละ 28) เกษตรกรขายมะละกอดิบในราคาเฉลี่ย 2.66 บาท/ก.ก. และมะละกอสุกในราคา 3.82 บาท/ก.ก. ในขณะที่มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 1.22 บาท/ก.ก. หรือเฉลี่ย 5,971 บาท/ไร่ /ปี ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 4,888.08 ก.ก/ไร่/ปี สร้างรายได้ให้เกษตรกรแต่ละรายประมาณ 17,309 บาท/ไร่/ปี |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17592 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/299640 |
Appears in Collections: | 926 Research 932 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.