กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17580
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างของสังคมพืชและความหลากหลายชีวภาพของพืชที่กำลังฟื้นตัวจากสวนวนเกษตรยางพาราในจังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Plant community structure and plant diversity of successional vegetation in rubber agroforest in Songkhlaand Pattalung Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สาระ บำรุงศรี
จรัล ลีรติวงศ์
ประกาศ สว่างโชติ
Faculty of Science (Biology)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา
คำสำคัญ: ความหลากหลายทางชีวภาพ;ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Although rubber plantations cover large area of Thailand, especially in the South, only a few rubber plantations keep naturally successional native vegetation within them. The present study has an objective to determine species composition and vegetation structure of such native vegetation. Plots were set and all trees with diameter of at least 1cm were identified and measured in three study sites including Korhong Hill, Payang (Songkhla) and Tamod (Patthalung). Important Value Index (IVI) which represents plant performance in terms of density, frequency, and basal area were derived for each site. In Korhong Hill, Mesua kunstleri (King) Kosterm, Microcos tomentosa Sm.) Syzygium lineatum (DC.) Merr.& L.M. Perry, Barringtonia macrostachya Kurz, Streblus taxoides (Heynes) Kurz, Crypteronia paniculata Blume are plants with highest IVI. Microcos tomentosa Sm., Cleistanthus polyphyllus F.N. Williams, Mesua kunstleri (King) Kosterm, Callerya atropurpurea (Wall.) A.M. Schot contribute for most of IVI in Payang site. In Tamod, Garcinia merguensis Wight, Decaspermum parviflorum (Lam.) A.J. Scott, Syzygium grande (Wight) Walp., Garcinia cowa Roxb, Litsea grandis Hook f., Syzygium lineatum (DC.) Merr. & L.M. Perry have highest IVI. The different in IVI results from habitat characteristics, soil quality, and dispersal ability. Vegetation between Tamod and Korhong was the most similar (42.76 %). Simpson index of diversity was highest in Korhong whereas in Tomod and Payang, it was comparable. This diversity index positively relates to distance from forest and age of succession. Zoochory contribute 72-75% in each plant community, but relative density of zoochorous plants was highest in Tamod (85.17%), followed by Korhong (66.7%) and Payang (50.26%) which may be explained by distance to continuous forest. Farmers with flat, sand-dominated soil, shallow soil with low pH, and flood in some months can plant several plant species including Garcinia merguensis Wight, Decaspermum parviflorum, Syzygium grande, Garcinia cowa, Litsea grandis and Syzygium lineatum for biodiversity enrichment in rubber plantation, while farm in better soil quality can further grow tropical forest species such as Hopea odorata Roxb., Michelia champaca L., Aquiralia sp. and economic exotic plants such as Azadirachta excels (Jack) Jacobs. and Swietenia macrophylla King.
Abstract(Thai): แม้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่สวนยางพาราจำนวนมาก แต่มีสวนยางพาราจำนวนน้อยมากที่ปล่อยให้พืชดั้งเดิมหลายชนิดเจริญเติบโตอยู่ร่วมกับไม้ยางพารา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของต้นไม้ และโครงสร้างสังคมพืชในสวนวนเกษตรยางพาราที่ปล่อยให้มีไม้ประจำถิ่นได้เติบโตในพื้นที่เขาคอหงส์ ร้านอาหารป่ายาง และที่อำเภอตะโหมด จากการวางแปลงตัวอย่างและวัดต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับอกอย่างน้อย 1 ซม.ขึ้นไป พบว่าโครงสร้างสังคมพืชที่แสดงออกโดยค่า IVI (Important Value Index) ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน โดยพืชที่ค่า IVI สูงสุดที่เขาคอหงส์คือ บุนนาคคอหงส์ (Mesua kunstleri (King) Kosterm. ) พลับพลา (Microcos tomentosa Sm.) ขวาด (Syzygium lineatum (DC.) Merr. & L.M. Perry) และจิกนม (Barringtonia macrostachya Kurz) ข่อยหนาม (Streblus taxoides (Heynes) Kurz) กะอาม (Crypteronia paniculata Blume) ที่บริเวณร้านอาหารป่ายางคือพลับพลา นกนอน (Cleistanthus polyphyllus F.N. Williams) บุนนาคคอหงส์ แซะ (Callerya atropurpurea (Wall.) A.M. Schot) ส่วนที่ตะโหมดคือนวล (Garcinia merguensis Wight) ขี้ใต้ (Decaspermum parviflorum (Lam.) A.J. Scott) เมา (Syzygium grande (Wight) Walp.) ชะมวง (Garcinia cowa Roxb.) กะทังใบใหญ่ (Litsea grandis Hook f. ) ขวาด ความแตกต่างนี้เป็นผลมาจากปัจจัยทางนิเวศวิทยาโดยเฉพาะสภาพพื้นที่และดิน โอกาสในการกระจายมาของเมล็ดไม้ สังคมพืชที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด คือ ตะโหมดและเขาคอหงส์ (42.76 %) พื้นที่เขาคอหงส์มีดัชนีความหลากหลายของ Simpson สูงที่สุด ส่วนพื้นที่ตะโหมดและป่ายางมีความหลากหลายใกล้เคียงกัน ดัชนีความหลากหลายแปรผันตรงกับระยะทางจากป่าและอายุของการทดแทน ทั้งสามพื้นที่มีเปอร์เซ็นต์ของจำนวนพันธุ์ไม้ที่กระจายโดยสัตว์ 72-75 % แต่ว่ามีความแตกต่างกันของความหนาแน่นสัมพัทธ์ของพันธุ์ไม้ดังกล่าว กล่าวคือ ที่ตะโหมดมีความหนาแน่นสัมพัทธ์ของพันธุ์ไม้ที่กระจายโดยสัตว์สูงที่สุด (85.17%) รองลงมาคือเขาคอหงส์ (66.7%) และป่ายาง (50.26%) ความแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากระยะทางไปยังป่าผืนใหญ่ที่ต่อเนื่องที่แตกต่างกัน ข้อมูลจากการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อการเลือกพรรณไม้ที่นำไปปลูกเพื่อเพิ่มความหลากหลายในสวนยางพารา โดยพรรณไม้ที่แนะนำสำหรับพื้นที่ราบ ดินคุณภาพต่ำ ดินร่วนทราย หน้าดินตื้น เป็นกรดสูง (pH < 4.5) และมีน้ำท่วมขังบางเดือนคือ นวล ขี้ใต้ เมา ชะมวง กะทังใบใหญ่ ขวาด และพะยอม ขณะที่สวนยางที่ดินมีคุณภาพดีกว่าอาจเพิ่มชนิดไม้จากป่าดิบชื้นที่มีมูลค่าเศรษฐกิจมากขึ้นเช่น ตะเคียน จำปาป่า กฤษณา และไม้เศรษฐกิจต่างถิ่นเช่น สะเดาเทียม มะฮอกกานี
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17580
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:330 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
452836-Abstract.pdf92.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น