กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17577
ชื่อเรื่อง: โครงการ "การสร้างพลเมืองคุณภาพ Smart citizens สู่สังคมญี่ปุ่น 5.0 : กรณีศึกษาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา"
ชื่อเรื่องอื่นๆ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ "การสร้างพลเมืองคุณภาพ Smart citizens สู่สังคมญี่ปุ่น 5.0 : กรณีศึกษาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา"
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พราวพรรณ พลบุญ
นิศากร ทองนอก
Faculty of Humanities and Social Sciences (Eastern Languages)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คำสำคัญ: การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Smart citizens ของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณลักษณะของ Smart citizens กับพลเมืองในรูปแบบเดิมของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของญี่ปุ่น 3) เพื่อศึกษาวิธีการและเครื่องมือในการสร้าง Smart citizens ของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของญี่ปุ่น 4) เพื่อเสนอแนวทางสำหรับประเทศไทยในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สำรวจความคิดเห็น และสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเกียวโต ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและปัจจัยในการสร้าง Smart citizens ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ด้วยวิธีการที่สำคัญ คือ การจัดการเรียนการสอนให้มีทั้งด้าน Hard Skill และ Soft Skill และยังคงรักษาให้มีคุณธรรมจริยธรรมของพลเมืองไว้ สำหรับเครื่องมือในการสร้าง Smart citizens ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร ที่เพียงพอและเหมาะสม และการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพบว่า นโยบายของรัฐไทยด้านการศึกษาและแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษามีความคล้ายคลึงกับของญี่ปุ่นในประเด็นที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์คุณภาพสูงเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงสร้างองค์ความรู้และนวัดกรรม และผลิตกำลังคนที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 แต่ญี่ปุ่นมีการปลูกฝัง อบรม เลี้ยงดูอย่างจริงจังให้เด็กมีระเบียบวินัยตั้งแต่ในช่วงการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเป็นผลลัพธ์ที่ดีต่อมาถึงระดับอุดมศึกษาจนสามารถสร้างพลเมืองคุณภาพได้ ซึ่งประเทศไทยอาจใช้แนวทางนี้ปรับเปลี่ยน ให้มีการปลูกฝัง ดูแล อบรมเลี้ยงดูอย่างจริงจัง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน น่าจะให้ผลลัพธ์ปลายทางได้ดีแม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างออกไปบ้างจากค่านิยมของสังคมที่ไม่เหมือนกัน
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17577
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/308808
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:412 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น