Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17575
Title: การผลิตไซโลโอลิโกแซคคาไรด์จากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
Other Titles: Xylooligosaccharides production from rubber wood sawdust
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การผลิตไซโลโอลิโกแซคคาไรด์จากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
Authors: สันทัด วิเชียรโชติ
Faculty of Agro-Industry (Food Technology)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
Keywords: โอลิโกแซ็กคาไรด์;ไม้ยางพารา;ขี้เลื่อย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Commercial xylooligosaccharides (XOS) is produced from corn cob, birchwood and larch wood. In this study rubber wood sawdust was selected as a rawmaterial obtained from rubber wood processing. The result showed that the swellingrate of rubber wood sawdust was highest at 60°C for 3 hours. The effect of extractionsolvents of xylan was studied and it was found that 24%KOH + 1%NaBH4 gave higherxylanthan extraction by acetic under steam and high pressure. And extraction byalkaline at ambient temperature gave the highest xylan (70.54 mg/ml). The extractionby using 2.5% acetic acid at 2000°C for 120 minute gave the highest xylan (2.007mg/ml) and it was found that 5% acetic acid was used at 150°C for 120 minute gave1.993 mg/ml of xylan so there are not significantly difference (p>0.05). The extractionby using acetic acid also gave XOS at 150°C with 5% acetic acid that gave the highestXOS (40.522 mg/ml). Xylan obtained by alkaline extraction was further hydrolyzed byxylanase. It was found that XOS obtained had several DP.The optimal conditions on hydrolysis of xylan by xylanase were 100 U/ml, 6hours at 30°C It could hydrolysis xylan to several XOs that werexyloglucanoligosacharide 139.44 mg/ml, xylopentaose 881.53 mg/ml, xylotriose979.58 mg/ml, xylobiose 741.41 mg/ml and xylose 1334.38 mg/ml. XOS was purifiedby removed of xylan using ultrafiltration membrane (10 KDa). It was found thatmembrane filtration with diafiltration by water to sample at 3:1 for 120 minutes.Xylan was completely removed by membrane filtration together with diafiltration. Itwas found that remove xylose was removed for 97.83% the partial XOS wasdecreased XOS in permeate was further purified by ultrafiltration (1KDa). Xylobiose,xylotriose, xylopentaose and xyloglucanoligosaccharide were decreased andremained at 55.24, 53.51, 61.32 and 60.81% of initial concentration, respectively.
Abstract(Thai): ไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ทางการค้าโดยทั่วไปสามารถผลิตได้จากซังข้าวโพด ไม้เบิร์ท และไม้ลาร์ช ในการศึกษานี้ได้คัดเลือกขี้เลื่อยไม้ยางพารามาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปไม้ยางพารา มาแช่น้ำให้อนุภาคของขี้เลื่อยไม้ยางพาราเกิดการพองตัว เพื่อให้ง่ายต่อการสกัด พบว่าอุณหภูมิที่สามารถทำให้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราพองตัวได้ดีที่สุดคือที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสระยะเวลาการแช่ 3 ชั่วโมง จากนั้นนำขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ผ่านการแช่ไปสกัดด้วยสารละลายกรดอะซิติกภายใต้ความร้อนชื้นและความดัน และด่างโพแตทเชียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 24 ผสมกับโซเดียมโบโรไฮโดร ร้อยละ 1 พบว่าการสกัดด้วย 24% KOH + 1% NaBH4 ให้ปริมาณไซแลนที่สกัดได้สูงกว่าการสกัดด้วยกรดอะซิติกภายใต้ความร้อนชื้นและความดัน และสภาวะการสกัดด้วยด่างที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 120 นาที ให้ปริมาณไซแลนได้สูงที่สุด (70.54 mg/ml) ส่วนสภาวะที่ใช้กรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 2.5 อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 120 นาที ให้ปริมาณไซแลนสูงสุดเป็น 2.007 mg/ml ( การสกัดด้วยกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 5 อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 120 นาที ให้ปริมาณไซแลนเป็น 1.993 mg/ml ซึ่งไม่มีความแต่กต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และการสกัดโดยใช้กรดอะซิติกได้ผลิตภัณฑ์ไซโลโอลิโกแซคคาไรด์อีกด้วย สภาวะที่ใช้สกัดด้วยกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 5 อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ให้ปริมาณไซโลโอลิโกแซค-คาไรด์สูงสุด (40.522 mg/ml) เมื่อนำไซแลนที่สกัดได้ด้วยด่างย่อยด้วยเอนไซม์ไซแลนเนสพบว่าได้ไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ที่มีขนาด DP ต่าง ๆ สภาวะที่เหมาะสมต่อการย่อยไซแลนด้วยไซแลนเนสคือเอนไซม์ไซแลนเนส 100U/ml ระยะเวลา 6 ชั่วโมง และอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้ไซโลโอลิโก-แซคคาไรด์ชนิดต่าง ๆ คือ ไซโลกลูแคนโอลิโกแซคคาไรด์ (139.44 mg/ ml), ไซโลเพนตาโอส (881.53mg/ml), ไซโลไตรโอส (979.58 mg/ml), ไซโลไบโอส (741.41 Mg/ml) และไซโลส (1334.38mg/ml) เมื่อนำไซโลโอลิโกแซคคาไรด์มาผ่านการทำให้บริสุทธิ์ โดยแยกไซแลนที่ไม่ถูกย่อยออกด้วยเมมเบรนชนิดอัลตราขนาด 10 กิโลดาลตัน พบว่าเมื่อทำการแยกโดยใช้เทคนิค diafiltration ร่วมด้วยซึ่งใช้น้ำเป็นตัวเจือจางที่อัตราส่วน น้ำต่อตัวอย่าง เป็น 3:1 การทำ diafiltration ร่วมด้วยสามารถแยกไซแลนออกได้อย่างสมบูรณ์และเมื่อนำเพอมิเอทมาทำบริสุทธิ์ไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ต่อด้วยเมมเบรนชนิดอัลตราขนาด 1 กิโลดาลตัน พบว่าสามารถแยกไซโลสออกได้ร้อยละ 97.83 แต่อย่างไรก็ตามทำให้ปริมาณไซโลโอลิโกแซคคาไรด์บางส่วนลดลง คือ ไซโลไบโอส ไซโลไตรโอส ไซโล-เพนตาโอส และไซโลกลูแคนโอลิโกแซคคาไรด์ ลดลงเหลือร้อยละ 55.24, 53.51, 61.32 และ 60.81ของปริมาณเริ่มต้น ตามลำดับ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17575
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/274881
Appears in Collections:850 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.