Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17559
Title: | การสื่อสารเรื่องเพศของวัยรุ่นในครอบครัวมุสลิมในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | Sexual Communication for Youth of Muslim Famities in Mueang District, Pattani Province |
Authors: | อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต นัจพร ต่างสี Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
Keywords: | อิสลามศึกษา;มุสลิม;ศาสนาอิสลาม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารเรื่องของวัยรุ่นในครอบครัวมุสลิม กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นมุสลิมในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 397 คน ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และมีสัมภาษณ์จากกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารเรื่องเพศของวัยรุ่นกับพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง อยู่ในช่วงคะแนน 13.34 ? 26.66 คิดเป็นร้อยละ 47.9 เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ส่วนวัยรุ่นก็เรียนหนังสือที่โรงเรียนทำให้มีเวลาไม่ตรงกัน เรื่องเพศสำหรับวัยรุ่นมุสลิมยึดหลักการศาสนาอิสลามในการปฏิบัติ โดยพ่อแม่ผู้ปกครองนำหลักการศาสนาสอนควบคู่กับเรื่องเพศ ซึ่งการรับรู้เรื่องเพศตามพัฒนาการการเรียนรู้เรื่องเพศ ส่วนใหญ่รับรู้จากพ่อแม่ผู้ปกครอง เนื้อหาที่สื่อสารมากที่สุดคือ ด้านพฤติกรรมทางเพศ เรื่องการวางตัวให้เหมาะสมกับบทบาททางเพศของตัวเอง การแต่งกายที่เรียบร้อย มีส่วนน้อยที่รับรู้จากแหล่งอื่นในด้านพัฒนาการทางเพศเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น วัยรุ่นมีความเข้าใจต่อเรื่องเพศที่จำกัดและส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเรื่องเพศสัมพันธ์ โดยบุคคลที่วัยรุ่นสื่อสารและไว้วางใจสื่อสารเรื่องเพศมากที่สุดคือ แม่ แต่จะสอนตามประสบการณ์ของตัวเอง รูปแบบและวิธีการพูดคุย จะเป็นการพูดคุยลักษณะพูดคุยตรง ๆ โดยนำเหตุการณ์และยกตัวอย่างให้เห็น ในช่วงเวลาเย็นหลังเวลาอาหารเย็น มีพ่อแม่ผู้ปกครองบางกลุ่มใช้ช่องทางการพูดคุยผ่านเทคโนโลยี คือ โทรศัพท์ เฟสบุ๊ค ไลน์ เป็นต้น และมีส่วนน้อยที่ไม่กล้าพูดคุยเรื่องเพศกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารคือ รูปแบบการเลี้ยงดู ความใกล้ชิด ทัศนคติ ช่วงอายุของวัยรุ่นกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสาเรื่องเพศของวัยรุ่นในครอบครัวจากรับรู้ตามพัฒนาการทั้ง 6 ด้าน พัฒนาการทางเพศ สุขภาวะทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ ทักษะส่วนบุคคลในการดูแลสุขภาวะทางเพศ และสังคมและวัฒนธรรม เพศ อายุ อาชีพของพ่อแม่ผู้ปกครอง รายได้ของพ่อแม่ผู้ปกครอง และพี่น้อง มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารเรื่องเพศของวัยรุ่นในครอบครัวและการให้ความรู้เรื่องเพศของพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดและเป็นหน้าที่หลักของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องให้ความรู้กับวัยรุ่น ปัญหาและอุปสรรค วัยรุ่นและพ่อแม่ผู้ปกครองมีความเขินอาย และวัยรุ่นกลัวพ่อแม่ผู้ปกครองดุด่า แนวทางการให้ความสำคัญในการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว ต้องเริ่มจากพ่อแม่ผู้ปกครองในครอบครัวและไม่ดุด่าวัยรุ่น นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและเรื่องเพศควรส่งเสริมให้ความรู้เรื่องเพศในครอบครัว |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17559 |
Appears in Collections: | 427 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1662.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.