Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17541
Title: | การจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากโครงการพัฒนาของรัฐ: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Conflict Management on the State Development Project: A Case Study of the Coastal Protection Dam, Muang Ngam Subdistrict, Singhanakhon District, Songkhla Province |
Authors: | บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ศุภฤกษ์ การะเกตุ Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Keywords: | ความขัดแย้ง;โครงการพัฒนาของรัฐ;การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง;สงขลา |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objectives of the research were: 1) to study conflict situations, conflict development, and conflicts arising from the construction of the Coastal Protection Dam, Muang Ngam Subdistrict, and 2) to analyze the causes of conflicts arising from the construction of the Coastal Protection Dam, Muang Ngam Subdistrict, 3) to propose management guidelines for conflicts of those involved in the Coastal Protection Dam, Muang Ngam Subdistrict according to the researcher's data and recommendations from the informants. The qualitative research method was applied in this research by semi-structured interviews with government agencies and the villagers involved in the conflict and involved in resolving conflicts. There were 17 key informants in total comprising 2 people from regional agencies, 6 from local agencies, 2 from supporting the project, and 7 from opposing the project. Including the study of various documents and the data to be compiled, analyzed, and finalized for the conclusions and recommendations. The results of the research indicated the conflict under the State Development Project found that the conflict situations and development can be divided into 3 phases; Latent conflict, Emerging Conflict, and Manifest Conflict. The controversy over the situation is that the government wants dams to protect the coastal banks to protect government offices, the roads along the beaches, and people's houses from the erosion of the ocean waves. However, people in the project area were concerned about the impact that leads to changes in the environment, way of life, society, and culture of the community. There were four causes of conflicts: Data Conflicts, Interest Conflicts, Structural Conflicts, and Value Conflicts. In furtherance, six approaches to conflict management of government and people's sectors: (1) Mediation negotiations, (2) Negotiations, (3) Integration of the people's sector, (4) Peacefully and constructively objection to the project (5) Filed with the Administrative Court, and (6) Submitting a letter to the Land Committee, Natural Resources and Environment, and the House of Representatives. Furthermore, the proposal of conflict management guidelines consists of four approaches as follows: 1) Establishment of a working group, 2) Amendment of relevant laws and regulations, and problem-solving optimization, 3) Public hearing and participation in the area, and 4) Empowering local communities to manage their local resources. |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ความขัดแย้ง พัฒนาการความขัดแย้ง และข้อขัดแย้งจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์สาเหตุความขัดแย้งจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ศึกษา 3) เสนอแนะแนวทางการการจัดการความขัดแย้งการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลในพื้นที่ศึกษา ในการศึกษานี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลโดยเลือกจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาคือตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง มีผู้ให้ข้อมูลรวม 17 คน แบ่งเป็น หน่วยงานระดับภูมิภาค จำนวน 2 คน หน่วยงานระดับท้องถิ่น จำนวน 6 คน ฝ่ายสนับสนุนโครงการฯ จำนวน 2 คน ฝ่ายคัดค้านโครงการฯ จำนวน 7 คน ร่วมกับการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาข้อสรุป และข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์และพัฒนาการความขัดแย้ง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ความขัดแย้งแฝง ความขัดแยงที่กำลังเกิด และความขัดแย้งที่ปรากฏออกมา โดยข้อขัดแย้งที่มีต่อสถานการณ์คือ ภาครัฐต้องการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลเพื่อป้องกันสถานที่ราชการ แนวถนนเลียบชายหาดและบ้านเรือนของประชาชนจากการกัดเซาะของคลื่นทะเล แต่ประชาชนในพื้นที่โครงการฯ มีความกังวลต่อผลกระทบที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน สาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งมี 4 สาเหตุ ได้แก่ ความขัดแย้งด้านข้อมูล ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง และความขัดแย้งด้านค่านิยม โดยการจัดการความขัดแย้งของภาครัฐและภาคประชาชนมีด้วยกัน 6 แนวทาง ได้แก่ 1) การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง 2) การเจรจา 3) การรวมกลุ่มของภาคประชาชน 4) การคัดค้านโครงการด้วยแนวทางสันติและสร้างสรรค์ 5) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และ 6) ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร และข้อเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งฯ ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การจัดตั้งคณะทำงาน 2) การแก้ไขระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและปรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ 3) การรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และ 4) การให้อำนาจชุมชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง |
Description: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17541 |
Appears in Collections: | 465 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6210521548.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
การจัดการความขัดแยงที่เกิดจากโครงการพัฒนาของรัฐ.pdf | 228.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.