กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17532
ชื่อเรื่อง: | การเข้ารับอิสลามของชนต่างศาสนิกในประเทศไทย : กรณีศึกษามุอัลลัฟในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Conversion of Non-Mustims to lslam in Thailand : A Case study of Muallaf in andaman bay area communities |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ปริญญา ประหยัดทรัพย์ Faculty of Islamic Sciences คณะวิทยาการอิสลาม |
คำสำคัญ: | มุอัลลัฟ;ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการเข้ารับอิสลามของชนต่างศาสนิกในประเทศไทย กรณีศึกษามุอัลลัฟในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และระนอง เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของแนวคำสอนและเหตุปัจจัยการเข้ารับศาสนาอิสลามตามหลักการอิสลาม สาเหตุการเข้ารับอิสลามของมุอัลลัฟ การศึกษาการเรียนรู้อิสลามภายหลังการเข้ารับอิสลามของมุอัลลัฟในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน การปรับตัวและการสื่อสารอัตลักษณ์ในความเป็นมุสลิมของมุอัลลัฟในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลจากการศึกษาพบว่า อิสลามมีหลักคำสอนซึ่งกำหนดวิถีชีวิตอันประกอบด้วยองค์ประกอบพฤติกรรมภายในและภายนอกที่มีความสอดคล้องกันและสอดรับกับแนวคิดทฤษฎีในเรื่องพฤติกรรม อัตลักษณ์ และการปรับตัว ส่วนการเข้ารับอิสลามเป็นการเปลี่ยนอัตลักษณ์และพฤติกรรมเดิมเข้าสู่อัตลักษณ์และพฤติกรรมใหม่ ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนศาสนาเดิมที่ตนเองเคยนับถือมาก่อนด้วยการเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุปัจจัยหลายประการ เช่น แนวคิดอิสลามศาสนาแห่งการดะอฺวะฮฺและหลักแห่งทางน้ำ ทั้งได้ให้ความสำคัญแก่การดูแลเอาใจใส่ผู้เข้ารับอิสลามเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดการปรับตัวที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและส่วนรวม หลักการที่กล่าวมานั้นได้เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของอิสลาม จากการศึกษามุอัลลัฟในชุมชนมุสลิมพื้นที่ชายฝั่งอันดามันพบว่า การเข้ารับอิสลามมีเหตุปัจจัยสำคัญจากการแต่งงานระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาพุทธทั้งชายหญิงกับชายหญิงมุสลิมดั้งเดิมในพื้นที่ ถึงกระนั้น การเข้ารับอิสลามประกอบด้วยเหตุปัจจัยเกี่ยวข้องที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการจ้างงานในพื้นที่ ปฏิสัมพันธ์ในทางสังคมและแบบอย่างทางวัฒนธรรมของมุสลิม ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยให้มุอัลลัฟมีการปรับตัวที่ดี คือการจัดการศึกษาอบรมของมัสยิดและการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับมุอัลลัฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือญาติและสังคมที่ใกล้ชิดของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม บทบาทที่เอื้ออำนวยเหล่านี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีตามเจตนารมณ์และข้อบัญญัติของอิสลามที่เอื้อคุณประโยชน์ให้แก่ทั้งตัวมอัลลัฟเองและสังคมโดยรวม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการศึกษาต่อในเรื่องนี้ รวมถึงแนวทางการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมุอัลลัฟโดยอาศัยกลไกของมัสยิดและองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศไทย โดยใช้แนวทางปฏิบัติที่มีในหลักการอิสลามอย่างกว้างขวางโดยคำนึงถึงสภาพสังคม วัฒนธรรมไทยในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอันเป็นบริบทของมุอัลลัฟในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันและสังคมไทยโดยรวม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17532 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1704.pdf | 4.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น