กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17525
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between Self-reliance and Technology Acceptance of Elderly in Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัฒนิจ โกญจนาท
ต่อตระกูล ไชยอิน
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ;การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ;เทคโนโลยี;การยอมรับเทคโนโลยี
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this research were to study 1) the level of elderly of self-reliance 2) the level of elderly acceptance of technology 3)to compare difference of individual factors of elderly technology acceptance and 4) the Relationship between Elderly of self-reliance and Technology Acceptance in Songkhla Province. The population were 385 elders in Songkhla Province. The statistic used in the research was frequency value, percentage, average, standard deviation, T-Test, F-Test, One way ANOVA and Pearson’s Product-moment Correlation Coefficient.The finding revealed the level of elderly of self-reliance factors were rate at high. 1) physical 2) social 3) mental 4) financial and the level of elderly acceptance of technology factor was rate at high.1) perceived usefulness 2) usage behavior 3) attitude 4) enjoyment 5) ) social- influence 6) perceived ease of use. Addition find that the elderly had different ages, education, career and salary level are different both of the technology acceptance factor. Finally, the relationship between elderly of self-reliance and technology acceptance rate were medium positive relationship. Based on the results of the study, caregivers of the elderly can contribute to the enhancement of self-care. Encourage the use of technology by perceived usefulness.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา 2) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน ใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความต่าง t-Test และทดสอบ f-Test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1.ด้านร่างกาย 2.ด้านสังคม 3.ด้านจิตใจ 4.ด้านการเงิน ตามลำดับ 2) การยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากได้แก่ 1.ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ 2.ด้านพฤติกรรมการตั้งใจใช้งาน 3.ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ 4.ด้านการรับรู้ความเพลิดเพลิน 5.ด้านอิทธิพลทางสังคม และ 6.ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 3) ผู้สูงอายุที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่างกัน การยอมรับเทคโนโลยีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) การพึ่งพาตนเอง มีความสัมพันธ์ เชิงบวก ในระดับปานกลาง กับ การยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ จากผลการศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ทางด้านร่างกายและสามารถส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีได้โดยการสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์เป็นอันดับแรก
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17525
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis



รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons