Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17524
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความต้องการฝึกอบรมของพนักงาน ในบริษัทด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี กรณีศึกษา บริษัท พรีเมียร์ซิสเต็มเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
Other Titles: The Relationship between Achievement Motivation and Training Need of the Employees in the Engineering and Technology Company: A Case Study of Premier System Engineering Co., Ltd.
Authors: พัฒนิจ โกญจนาท
สาวิตรี อินทรณรงค์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์;ความต้องการฝึกอบรม
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research were to study 1) the achievement motivation level of the employees. 2)the training need level of the employees. 3) the comparison between individual factors and training need of the employees. 4)the relationship between achievement motivation and training need of the employees. The simple group consisted of 185 employees at Premier System Engineering Co., Ltd. The statistic used in the research was frequency value, percentage, average, standard deviation, t-Test, F-Test, One Way ANOVA, Least Signification Difference and Pearson’s Product-moment Correlation Coefficient. The finding revealed the achievement motivation level of the employees were at high level. including, 1) need of ethic 2) need for affiliation 3) need for achievement 4) Uniqueness and 5) need for power. The training need level of the employees were at high level. As follows, 1) knowledge 2) skill 3) Attitude. In addition, different of frequency to attendance and department of the simple were affecting training need at statistical significant difference level of 0.05. Finally, the relationship between achievement motivation and training need acceptance at statistical significant difference level of 0.01 rate were medium positive relationship.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพนักงาน 2) ศึกษาระดับความต้องการฝึกอบรมของพนักงาน 3) เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการฝึกอบรมของพนักงาน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความต้องการฝึกอบรมของพนักงาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานรายเดือนบริษัทพรีเมียร์ซิสเต็มเอ็นจิเนียริ่ง จำนวน 185 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความต่าง (t-Test) การทดสอบ (F-Test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Least Signification Difference และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพนักงานอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1. ด้านจริยธรรมในการทำงาน 2. ด้านความต้องการสัมพันธภาพ 3. ด้านความต้องการความสำเร็จ 4. ด้านความมีเอกลักษณ์ 5. ด้านความต้องการอำนาจ ตามลำดับ 2) ระดับความต้องการฝึกอบรมของพนักงานอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1. ด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน 2. ด้านการฝึกทักษะในการปฏิบัติงาน 3. ด้านการอบรมความรู้ในการฏิบัติงาน ตามลำดับ 3) จำนวนครั้งในการเข้าอบรมต่อปี และฝ่ายที่สังกัด ที่ต่างกันมีผลต่อความต้องการฝึกอบรมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17524
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons