Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17517
Title: ทัศนคติต่อการฝึกอบรม กรณีศึกษา : พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทตรวจสอบอุปกรณ์ ด้านความปลอดภัยทางทะเลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสงขลา
Other Titles: Attitude towards Training Program : A Case Study of Operational Staff of Marine Safety Equipment Inspection Company in Songkhla
Authors: กุลกานต์ เมเวส
วรรณศิริ ไชยชนะ
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: การฝึกอบรม;ทัศนคติ
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this research is to study the attitude towards training program: A Case Study of Operational Staff of Marine Safety Equipment Inspection Company in Songkhla. To achieve the objective, the two research questions have been proposed which are 1) the attitudes of employees towards training program and 2) what kind of training programs that employees need and can be benefit for their works. Researcher used in-depth interview and focus group as primary data collection methods. The data was collected with six employees and analyzed by using the discourse analysis technique. As a result on in-depth interview; there are five issues occurred as follow; 1) The curriculum of training courses; the participants were mentioned about the content itself and the important of knowledge 2) The trainer; the qualification and the knowledge transfer were mentioned and the presentation transfer is needed to improve 3) The training period was also mentioned and all participants were satisfied with the time and period of training program 4) Training facility; the size of training room and the environment were mentioned in this research. And lastly 5) Media, audiovisual and training equipment were also mentioned and found that it is one of the very important issue to attract participants in training program and another issue that pop out was the sufficiency of number of trainees. Finding on focus group also showed that participants were happy with previous training program, however, they were mentioned on refreshing and reviewing knowledge towards rules and regulations on IMO were necessary. Another issue that was proposed by all participants was to conduct English language training program to enhance better communication as it is necessary for work effectively and efficiency.
Abstract(Thai): งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติต่อการฝึกอบรม กรณีศึกษา : พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทตรวจสอบอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยทางทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา เพื่อต้องการทราบว่าพนักงานผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทัศนคติต่อการฝึกอบรมในแต่ละประเด็นอย่างไรบ้าง รวมถึงเพื่อเป็นการออกแบบรูปแบบของการจัดฝึกอบรมให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานเพื่อสามารถนำไปใช้ในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยมีผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกเป็นพนักงาน 6 ท่าน และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) ผลวิจัยการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ ได้แสดงทัศนคติต่อการฝึกอบรมของบริษัทฯ ใน 5 ประเด็นด้วยกัน คือ 1) ประเด็นด้านหลักสูตรหลักสูตรการฝึกอบรม ได้ให้ความเห็นออกเป็น 2 ด้านด้วยกัน คือ (1) ด้านเนื้อหา มีความเห็นว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตรงกับความต้องการ และสอดคล้องกับสิ่งที่ทำในชีวิตประจำวัน (2) ด้านความสำคัญ มีความเห็นว่าเป็นการทบทวนความรู้ ทำให้เกิดความชำนาญในงานที่ทำ และได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น 2) ประเด็นด้านวิทยากรผู้ฝึกอบรม ได้ให้ความเห็นออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) ด้านคุณสมบัติของวิทยากร มีความเห็นว่า ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ตรงกับหัวข้อที่ฝึกอบรม (2) ด้านการถ่ายทอดความรู้ มีความเห็นว่า ถ่ายทอดเนื้อหาได้ครบถ้วน วิธีการสอนทำให้เข้าใจง่าย เปิดโอกาสให้ซึกถามอย่างเต็มที่ แต่วิธีการนำเสนอยังไม่น่าดึงดูดใจ 3) ประเด็นด้านระยะเวลาในการฝึกอบรม ให้ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหากับเวลา ว่า ระยะเวลากับเนื้อหาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสม 4) ประเด็นด้านสถานที่ในการฝึกอบรม ให้ความเห็นออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) ด้านขนาดห้อง มีความเห็นว่า เอื้อต่อการฝึกอบรม และเพียงพอต่อการฝึกอบรม และ (2) ด้านสภาพแวดล้อม มีความเห็นว่า เหมาะสมต่อการฝึกอบรมและเป็นสถานที่ปฏิบัติงานจริง 5) ประเด็นด้านสื่อ โสตทัศน์ และอุปกรณ์ในการฝึกอบรม ได้ให้ความเห็น คือ (1) ด้านความสำคัญ มีความเห็นว่า ทำให้มองภาพออก และส่งผลต่อการฝึกอบรม และ (2) ด้านความเหมาะสม มีความเห็นว่าเพียงพอต่อจำนวนผู้เข้ารับฝึกอบรม และต้องการสื่อ โสตทัศน์ และอุปกรณ์ในการฝึกอบรมบางอย่างเพิ่มเติม ผลวิจัยจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า พนักงานฝ่ายปฏิบัติการทุกท่านต้องการให้มีการฝึกอบรมตามโครงการเดิมที่จัดขึ้นทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการ ทบทวนความรู้ (refresh) ก่อให้เกิดความชำนาญในงานที่ทำ ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น รวมถึงได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่กำหนดขึ้นโดย IMO มาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้พนักงานยังมีความประสงค์เกี่ยวกับหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17517
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons