Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17514
Title: ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ มือถือเอไอเอสของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา
Other Titles: Brand Image Related to the Decision to Use AIS Mobile Network among Teenagers in Songkhla Province
Authors: วรพจน์ ปานรอด
รัชดา กาญจนคีรีธำรง
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: ภาพลักษณ์ตราสินค้า;การตัดสินใจใช้บริการ;เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims to study the brand image of AIS Mobile Network, the decision to use AIS Mobile Network, and determine the correlation between the brand image and the decision to use AIS Mobile Network among teenagers in Songkhla Province. A questionnaire was used as a tool to collect data from 385 teenagers in Songkhla Province with aged between 15-24 years old and have used AIS Mobile Network. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Pearson’s correlation coefficient. The research results found that teenagers in Songkhla Province deemed the brand image of AIS Mobile Network had a dominant in various aspects as follows: 1) Attributes, the signal of network covers all areas, 2) Brand attitude, they had a positive attitude to this network, and 3) Benefits consisted of experiential benefits, functional benefits, and symbolic benefits that teenagers deemed this network gave them the confidence to use service in next time, it can communicated with the end of the line without jamming, and using this network made it feel modern, respectively. Considering the decision to use AIS Mobile Network among teenagers, they will be decided from the brand reputation and reliability. Moreover, the brand image was positively correlated with the decision to use AIS Mobile Network at the 0.001 level of significance that the most relevant aspect was the brand attitude, followed by the attributes, and the benefits, respectively. Based on research findings, AIS Mobile Network should generate a positive attitude towards the brand image into the consumers’ mind by following an agreement, such as billing based on actual usage, determining the internet speed comply with chosen package, and finally, resolving all problems for consumers until complete the process
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส การตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับการ ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสงขลาที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และเคยใช้ บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส จ านวน 385 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสที่ดีที่สุดตาม ความคิดเห็นของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา มีดังนี้ 1) คุณลักษณะของสินค้า คือ การเป็นเครือข่ายที่มี สัญญาณครอบคลุมทุกพื้นที่ 2) ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า คือ มีทัศนคติที่ดีต่อเครือข่ายนี้ และ 3) คุณประโยชน์ของสินค้า ประกอบด้วย คุณประโยชน์ด้านประสบการณ์ คือ การเป็นเครือข่ายที่ทำให้มีความ มั่นใจในการใช้บริการครั้งต่อไป คุณประโยชน์ด้านหน้าที่ คือ สามารถติดต่อพูดคุยกับปลายสายโดยไม่มี สัญญาณติดขัด และคุณประโยชน์ด้านสัญลักษณ์ คือ การใช้บริการเครือข่ายนี้ทำให้รู้สึกเป็นคนทันสมัย สำหรับการตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส พบว่า กลุ่มวัยรุ่นจะตัดสินใจจากชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับมากที่สุด และพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้ามีความสัมพันธ์ทางบวกใน ระดับสูงกับการตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า รองลงมา ได้แก่ คุณลักษณะของสินค้า และคุณประโยชน์ของสินค้า ตามลำดับ จากข้อค้นพบของการวิจัย เครือข่ายโทรศัพท์มือเอไอเอสควรสร้างทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าให้ เกิดขึ้นในใจผู้บริโภค โดยการทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า เช่น การคิดค่าบริการตามความเป็นจริง การ กำหนดความเร็วของอินเตอร์เน็ตตรงกับแพจเก็จที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ และการรับเป็นธุระแก้ไขปัญหาให้ ลูกค้าจนเสร็จสิ้นกระบวนการ เป็นต้น
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17514
Appears in Collections:460 Minor Thesis



This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons