Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17503
Title: | มุมมองของพนักงานที่มีต่อการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด กระแสสินธุ์การโยธา |
Other Titles: | Employee Perception towards Corporate Social Responsibility Activity : A Case Study of Krasaesinkarnyotha Limited Partnership |
Authors: | กุลกานต์ เมเวส ชลธิศ จันทิกาแก้ว Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
Keywords: | มุมมองของพนักงาน;รูปแบบการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม;กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The objective of this research is to study employee perception towards corporate social responsibility activity: a case study of Kransaesinkarnyotha Ltd. To achieve the objective, the researcher has divided employees into 2 groups which are 1) the group that design and create their own corporate social responsibility activity and 2) the group that corporate social responsibility activity has been arranged and organized by the company. Also the comparison of these 2 groups has been proposed. Researcher used focus group and observational as primary data collection methods. The data was collected with 20 persons from the population group. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมุมมองของพนักงานที่มีต่อการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด กระแสสินธุ์การโยธา โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ควบคู่กับการสังเกตเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยมีผู้ให้ข้อมูลตัวอย่างจำนวน 20 คน จากกลุ่มประชากร ผลการวิจัยพบว่า 1) มุมมองของพนักงานด้านความความคิดเห็นว่าได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลดีต่อผู้ปฏิบัติ และทำให้มีความสุขจากการได้ช่วยเหลือสังคม 2) มุมมองของพนักงานด้านการรับรู้ ความเข้าใจ และภาพที่มองเห็นว่าทำให้เกิดความภาคภูมิใจในจากการเป็นผู้ให้ รับรู้ถึงความสุขของผู้รับ และสร้างประโยชน์กับชุมชนทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และทำให้พนักงานสามัคคีและเกิดความผูกพัน 3) มุมมองของพด้านการให้ความสำคัญ เห็นประโยชน์ ตระหนักถึงคุณค่าว่ามีความสำคัญเพราะได้ช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ก่อเกิดมิตรภาพที่ดีต่อชุมชนอยู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดคุณค่าทางใจของพนักงาน องค์กร และสังคม 4) มุมมองของพนักงานด้านความรู้สึกที่มีต่อองค์กรว่าให้ความสำคัญและแสดงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ให้พนักงานมีส่วนร่วม ได้เห็นวิสัยทัศน์ ชื่นชมผู้บริหารที่ใส่ใจ ให้การสนับสนุน ภาคภูมิใจในบริษัท ส่งผลองค์กรมีชื่อเสียง ผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมพบว่า กลุ่มที่ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองพนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม มีความกระตือรือร้นมากกว่า แต่ในด้านการปฏิบัติงานทั้งสองกลุ่มมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมจนสำเร็จทั้งคู่จากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้กับผู้บริหาร หัวหน้างาน ตลอดจนองค์กร เพื่อให้การจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
Description: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17503 |
Appears in Collections: | 460 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
มุมมองของพนักงานที่มีต่อการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
มุมมองของพนักงานที่มีต่อการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร-บทความวิจัย.docx | 41.73 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License