กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17493
ชื่อเรื่อง: ความเหนียวแน่นของกลุ่มที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่มข้าราชการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Group Cohesiveness Affecting Work Effectiveness of the Customs Officers in the Regional Customs Bureau 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรารถนา หลีกภัย
พงษ์ศักดิ์ เบญจวัฒนศิลป์
Faculty of Management Sciences (Public Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ: ข้าราชการสํานักงานศุลกากร;ความเหนียวแน่นของกลุ่ม;ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่ม
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์
บทคัดย่อ: This research aims to 1) study work effectiveness of the Customs officers in the Regional Customs Bureau 4, 2) compare levels of work effectiveness of the Customs officers in the Regional Customs Bureau 4 classified by individual factors, and 3) study factors of group cohesiveness affecting work effectiveness of the Customs officers in the Regional Customs Bureau 4. A sample group in this study was 180 academic and general Customs officers of the Regional Customs Bureau 4. Data were analyzed by using descriptive statistics, T-test statistics, One-Way ANOVA, and Multiple Linear Regression. Research results show that in overall, work effectiveness of the Customs officers in the Regional Customs Bureau 4 is in the highest level. Compared to of individual factors; different ages, status, levels of education, job positions, and years’ work experiences, it is statistically significantly different at 0.05 which equals to the factor of group cohesiveness affecting work effectiveness of the officers.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่มข้าราชการ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่มข้าราชการ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความเหนียวแน่นของกลุ่มที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่มข้าราชการ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 เฉพาะข้าราชการที่เป็นฝ่ายวิชาการและทั่วไป จำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าระดับประสิทธิผลของกลุ่มข้าราชการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของกลุ่มข้าราชการ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงานในองค์กร ที่แตกต่างกันมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยความเหนียวแน่นของกลุ่มส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17493
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:465 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210521569.pdf680.83 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น