Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17489
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุกรี แดสา-
dc.contributor.authorกฤตเมธ นพภาษี-
dc.date.accessioned2022-09-14T01:53:37Z-
dc.date.available2022-09-14T01:53:37Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17489-
dc.descriptionวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2565en_US
dc.description.abstractThis research aims to study the specification design and the development of a temperature control pack prototype for refrigerated medicine by applying Quality Function Deployment (QFD) technique. The samples include pharmacists or related medical staff, outside patients, and patients’ relatives or representatives. The research method uses an interview to query pharmacists about the sample's basic needs, then gathers and combines to design questionnaire on the level of importance for each factor and design questionnaire on the satisfaction level of the current method for refrigerated medicine distribution services. Sample groups weight calculations have applied the use of the Analytic Hierarchy Process (AHP) technique to calculate the average level of demands, and the Planning Matrix or House of Quality (HOQ) to determine the process to meet samples’ requirements. Start with analyzing technical descriptors, followed by the relation between technical descriptors and user’s requirements to set a target for device development, and the relation on each factor of technical descriptors. This component can create a specification design of a temperature control pack prototype for refrigerated medicine which meets users’ requirements. The specification can conclude the design concept for developing a device from an experiment, selection of materials, and raw materials that are suitable in terms of safety, performance, and cost. The result of the development can create a temperature control pack prototype for refrigerated medicine which can maintain the temperature for 4 hours and have a manufacturing cost of 38.28 Baht/set. The prototype consists of thermal insulation packaging, a self-cooling gel pack, and a temperature indicator. The developed device also has a higher satisfaction level than an old device which currently used for service by pharmacists, indicating that this new device can satisfy the higher needs of the user.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพen_US
dc.subjectQFDen_US
dc.subjectบ้านคุณภาพen_US
dc.subjectยาแช่เย็นen_US
dc.titleการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์รักษาอุณหภูมิสำหรับยาแช่เย็นen_US
dc.title.alternativeA Development of Temperature Control Pack Prototype for Refrigerated Medicineen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Engineering (Industrial Engineering)-
dc.contributor.departmentคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.description.abstract-thงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบข้อกำหนดทางคุณลักษณะและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์รักษา อุณหภูมิสำหรับยาแช่เย็นที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งาน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการ กระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment; QFD) และมีกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจข้อมูล ประกอบด้วย เภสัชกรที่ทำหน้าที่ให้บริการจ่ายยาหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยที่มารับยาแช่เย็น และญาติ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มารับยาแช่เย็นแทนผู้ป่วย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์จากกลุ่มเภสัชกรที่ให้บริการจ่าย ยา เพื่อสอบถามความต้องการเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง แล้วจึงนำความต้องการเหล่านั้นมาเรียบเรียงและจัด กลุ่ม เพื่อออกแบบแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความสำคัญของความต้องการในแต่ละประเด็น และออกแบบ แบบสอบถามเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของวิธีการที่ฝ่ายเภสัชกรรมให้บริการจ่ายยาแช่เย็นในปัจจุบัน จากนั้นจึงคำนวณหาค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคกระบวนการวิเคราะห์ ตามลำดับชั้น (Analytic hierarchy process; AHP) และนำมาคำนวณหาคะแนนเฉลี่ยของความต้องการ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการประยุกต์ใช้เมตริกซ์การวางแผนผลิตภัณฑ์หรือบ้านคุณภาพ (House of Quality; HOQ) เพื่อกำหนดแนวทางในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อกำหนด ด้านเทคนิค ตามด้วยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อกำหนดทางเทคนิคกับปัจจัยความต้องการของ ผู้ใช้งาน การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอุปกรณ์ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกันของข้อกำหนด ทางเทคนิค ซึ่งองค์ประกอบของบ้านคุณภาพที่ได้จากการวิเคราะห์ ทำให้สามารถออกแบบคุณลักษณะของ ต้นแบบอุปกรณ์รักษาอุณหภูมิสำหรับยาแช่เย็นที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานได้จากนั้น จึงนำคุณลักษณะเหล่านี้ไปสรุปเป็นรายการแบบสำหรับพัฒนาอุปกรณ์เพื่อทำการทดสอบและคัดเลือกวัสดุ และวัตถุดิบที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านของความปลอดภัย ประสิทธิภาพในการใช้งาน และต้นทุน ผลลัพธ์ใน การพัฒนาทำให้เกิดเป็นต้นแบบอุปกรณ์รักษาอุณหภูมิสำหรับยาแช่เย็นที่สามารถรักษาอุณหภูมิได้ยาวนานถึง 4ชั่วโมง และมีต้นทุนในการผลิตอยู่ที่ 38.28 บาท/ชุด ประกอบด้วย ซองบรรจุภัณฑ์ฉนวนรักษาอุณหภูมิ เจล ทำความเย็นด้วยตัวเอง และแถบวัดค่าอุณหภูมิ ซึ่งต้นแบบอุปกรณ์รักษาอุณหภูมิที่ได้พัฒนาขึ้นนั้นพบว่ามี ระดับความพึงพอใจสูงกว่าอุปกรณ์ที่ทางฝ่ายเภสัชกรรมมีไว้ให้บริการในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าต้นแบบ อุปกรณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้มากขึ้นen_US
Appears in Collections:228 Minor Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410121009.pdf104.31 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons